สัทธรรมปฏิรูปกสูตร ... วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๔

 
มศพ.
วันที่  30 ก.ค. 2554
หมายเลข  18834
อ่าน  1,827

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สนทนาธรรมที่

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร (ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๖๓๐

(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มี.ค. ๒๕๕๔)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร


สัทธรรมปฏิรูปกสูตร (ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป)

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปะ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมากและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป แต่สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป แต่เมื่อใดที่ทองเทียมเกิดขึ้น เมื่อนั้นทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรม ก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป แต่เมื่อใดที่สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อนั้นพระสัทธรรม จึงเลือนหายไป.

[๕๓๓] ดูก่อนกัสสปะ ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น, พระสัทธรรม ยังไม่เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.

[๕๓๔] ดูก่อนกัสสปะ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๑ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๑ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ ๑
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ แลย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหาย แห่งพระสัทธรรม.

[๕๓๕] ดูก่อนกัสสปะ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน? คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม ๑ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา ๑ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.

จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความโดยสรุป สัทธรรมปฏิรูปกสูตร (ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป) พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะ ถึงเหตุผลที่เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์มีมาก แต่ในบัดนี้ สิกขาบทมีมาก และภิกษุผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ มีน้อย ว่า เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไปสิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงมีน้อยลง สัทธรรมปฏิรูป (สัทธรรม เทียม) ยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรม ก็ยังไม่เลือนหายไป แต่เมื่อใดที่สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไปโมฆบุรุษ เท่านั้น คือ ผู้ที่ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป ไม่ใช่สิ่งอื่น ไม่ใช่ใครอื่น เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป มีดังนี้ คือ -บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา -บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม -บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ -บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในสิกขา -บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ เหตุที่ทำให้พระสัทธรรม ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนหายไป มีนัยตรงกันข้าม คือ -บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา -บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม -บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ -บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา -บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ โมฆบุรุษในโลกนี้ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป [สัทธรรมปฏิรูปกสูตร] ความไม่เคารพพระรัตนตรัย [อรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตร] เหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม [กิมพิลสูตร] ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งศาสนา [ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร] ผู้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง สัทธรรม สัทธรรมมีความหมายหลายนัย ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 31 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
หลานตาจอน
วันที่ 31 ก.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สมศรี
วันที่ 1 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aditap
วันที่ 1 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 1 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jans
วันที่ 2 ส.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wanchai2504
วันที่ 3 ส.ค. 2554

เป็นพระสูตรที่ผู้มีความสนใจจริงๆ ในการศึกษาพระธรรม จะได้พิจารณา

สิ่งที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ เมื่อสองพันกว่าปีที่ผ่านมา

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 4 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
jaturong
วันที่ 5 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ