อาหาเรปฏิกูลสัญญา - สัญญาที่ ๓

 
สารธรรม
วันที่  19 ก.ย. 2553
หมายเลข  17235
อ่าน  6,401

"อาหาเรปฏิกูลสัญญา"

สำหรับ สัญญาที่ ๓ คือ การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหาร ซึ่งบริโภคอยู่ทุกวัน ถ้าผู้ใดเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาบ่อยๆ ย่อมทำให้จิตหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากตัณหาในรส ซึ่งมีมากเหลือใช่ไหม ไม่ว่าใคร พอพูดถึงเรื่องอาหาร ต้องอะไรอร่อย นั่นก็แสดงอยู่แล้วนะคะซึ่งตัณหาในรส ถ้าเป็นผู้ที่เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาในขณะนั้น ย่อมทำให้ถอยกลับจากตัณหาในรส แต่ถ้าจิตยังไหลไปในตัณหาในรส ก็แสดงว่าการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้นยังไม่ถึงที่ แต่ถ้าเป็นการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาที่ถึงที่แล้วนะคะ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เพราะเหตุว่าสติระลึกในขณะที่กำลังบริโภคอาหาร

ถ้าเป็นชีวิตประจำวันจริงๆ กำลังเห็น ในขณะที่กำลังบริโภค ไม่ใช่ขณะที่กำลังลิ้มรส เพียงเท่านี้ก็เป็นประโยชน์ที่จะให้เห็นว่า สภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่สิ่งที่ควรยินดี แม้รสที่อร่อยที่กำลังปรากฏ ก็สั้นมากเพราะเหตุว่า เพียงเสียงปรากฏ รสอร่อยในขณะนั้นก็ไม่ปรากฏแล้ว นี่คือผู้ที่จะมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

อสุภสัญญา - สัญญาที่ ๑

มรณสัญญา - สัญญาที่ ๒

อาหาเรปฏิกูลสัญญา - สัญญาที่ ๓

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา - สัญญาที่ ๔

อนิจจสัญญา - สัญญาที่ ๕

อนิจเจทุกขสัญญา - สัญญาที่ ๖

ทุกเขอนัตตสัญญา - สัญญาที่ ๗

...บรรยายโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คุณ
วันที่ 19 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 19 ก.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ดีงาม เพราะมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย อกุศลจิต ๑๒ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ดวง โทสมูลจิต ๒ ดวง โมหมูลจิต ๒ ดวง

อโสภณจิต คือ จิตที่ไม่มีเจตสิกที่ดีงามเกิดร่วมด้วย ซึ่ง เจตสิกที่ดีงาม ก็เช่น ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ ปัญญา เป็นต้น ซึ่งก็คือ โสภณเจตสิกนั่นเอง หากจิตใดไม่มี เจตสิกที่ดีงามเกิดขึ้นเลย ก็เรียกว่า อโสภณจิต ซึ่ง ถ้าเทียบกัน ระหว่าง อกุศลจิตและ อโสภณจิตแล้ว อโสภณจิต มีความหมายกว้างกว่า เพราะ อโสภณจิต หมายถึง จิตที่ไม่มีเจตสิกที่ดีงามเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น อกุศลจิต ไม่มี เจตสิกที่ดีงาม เพราะฉะนั้น อกุศลจิต 12 ดวง ก็จัดอยู่ในอโสภณจิต ครับ และ อโสภณจิต ก็ยังรวมถึง อเหตุกจิต 18 ดวง เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้น ที่ไม่มีเจตสิกที่ดีงามเกิดร่วมด้วย ก็เป็น อโสภณจิตเช่นกันรวมความว่า อโสณจิตกว้างกว่า อกุศลจิต 12 ดวง และ อกุศลจิตจิตก็เป็นส่วหนึ่งของ อโสภณจิต แต่ อโสภณจิตทั้งหมด ไม่ได้เป็น อกุศลจิต เพราะ อโสภณจิต คือ จิตที่ไม่มีเจตสิกที่ดีงามเกิดร่วมด้วย ยังหมายถึง อเหตุกจิต 18 ดวงด้วย ครับ นี่คือ ความแตกต่างของ ของ อกุศลจิต 12 และ อโสภณจิต ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

อโสภณจิต

ความจริงแห่งชีวิต...ตอนที่ ๑๔๖ จิตตสังเขป (โสภณจิต-อโสภณจิต)

พระอรหันต์ - อโสภณจิต - อกุศลจิต

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
hadezz
วันที่ 20 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พรรณี
วันที่ 4 ธ.ค. 2553

ดิฉันพอจะเข้าใจตามที่ท่านอาจารย์บรรยายนี้ แต่สงสัยว่าถ้าเราไม่ได้อยากรับประทานอะไรที่อร่อย แต่เวลาจะรับประทานอะไรสักอย่างเราต้องดูว่าควรจะรับประทานหรือไม่ เพราะบางทีไม่สะอาดหรือไม่ได้หุงต้มให้สุกเสียก่อน หรือบางทีอาหารบูดแล้ว เช่นนี้จะถือว่ายังมีตัณหาอยู่มากหรือไม่คะ กราบขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สารธรรม
วันที่ 11 ม.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ ๔

ขึ้นอยู่กับสภาพจิตครับ แต่จะรู้ได้จริงว่ามีตัณหาในรสมากหรือน้อย ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้นครับ ถ้าเป็นความเข้าใจขั้นการฟัง หรือขั้นคิดพิจารณา ก็ยังไม่ใช่การรู้ลักษณะของตัณหาที่เกิดทางทวารต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งการจะรู้ว่ามีความติดข้องมากหรือน้อย ต้องรู้ก่อนว่าเป็นธรรมครับและรู้ในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ