หนทางปรกติของการอบรมเจริญปัญญา - ควรระลึกอย่างไร ตอนที่ 8-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  14 พ.ค. 2562
หมายเลข  30857
อ่าน  457

ถาม: ผู้นั้นควรระลึกอย่างไร ผม (ดิฉัน) ทราบว่าสติคือการระลึก แต่ระลึกอย่างไร ควรที่จะมีการพิจารณาที่ลึกซึ้ง หรือพิจารณาแบบผิวเผินในสามัญลักษณะทั้ง 3 คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาหรือไม่หรือควรที่จะระลึกเพียงอ่อนและแข็ง ผม (ดิฉัน) เข้าใจที่ท่านสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติ ฟังมาได้ 2-3 ปี แต่ว่าผม (ดิฉัน) ปฏิบัติไม่ได้ ผม (ดิฉัน) เรียนเรื่องนามและรูป แต่สิ่งนั้นคืออะไร ควรที่จะระลึกอย่างไรรู้สึกสับสนเกี่ยวกับการระลึกธรรมในขณะปัจจุบัน ต้องมีวิธีพิเศษสำหรับเรื่องนี้ วิธีพิเศษเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรที่จะมีการระลึกอย่างลึกซึ้งหรือการระลึกตื้นๆ ระลึกเวลาสั้นๆ หรือระลึกเวลานานๆ แต่ก็ยังสำคัญว่าทุกสิ่งเป็นเรา

อ.สุจินต์: การกระทำอย่างนี้จะทำให้เกิดความสับสน ท่านพยายามที่จะควบคุมสติ ให้มีสติลึกซึ้ง หรือสติที่ระลึกตื้นๆ ให้สติมีมาก หรือมีน้อย แต่เพราะว่า "การอบรมเจริญปัญญา ไม่มีวิธีที่เฉพาะเจาะจง" การอบรมเจริญปัญญาเริ่มจากการฟังธรรม และศึกษาความจริง สติสามารถที่จะระลึกเพื่อที่ความเข้าใจจะเจริญขึ้นได้ มีปัจจัยมากมายให้สติเกิดขึ้น ที่จะระลึกตรงลักษณะของนามและรูปที่ปรากฏตามปรกติ เพราะว่านามและรูปที่ปรากฏเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ปัญญาสามารถที่จะเกิดขึ้นรู้สภาพที่เป็นจริงของสิ่งนั้น

ไม่ควรที่จะพยายามควบคุมสติ หรือพยายามที่จะทำให้มาก หรือน้อย เพื่อให้อ่อน หรือทำให้ระลึกตื้นๆ ถ้าใครทำอย่างนั้น คนนั้นก็ติดอยู่กับตัวตนความเป็นเรา และไม่ได้สังเกตและศึกษาลักษณะของธรรมที่ปรากฏด้วย

"อะไรคือสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ" "ผู้ที่ไม่หลงลืมความจริง สามารถที่จะระลึกความจริงที่ปรากฏตามปรกติ ระลึกตรงลักษณะของสิ่งที่มีจริงนั้น"

"ผู้นั้นจะไม่พยายามทำสติเจาะจงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อที่จะพิจารณาอารมณ์ให้ลึกขึ้นซ้ำๆ " สติเกิดขึ้นและดับไป ต่อจากนั้นอาจจะมีการหลงลืมสติอีกครั้ง สติอาจจะระลึกขึ้นอีกครั้งกับอารมณ์อื่น
เพราะฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าสติปัฏฐานเป็นอนัตตา คนที่เข้าใจว่าสิ่งที่มีจริงทั้งหมด รวมทั้งสติปัฏฐานด้วย เป็นอนัตตา ก็จะไม่สับสน

ถ้าใครที่ยังติดข้องกับความเป็นเรา เขาก็จะพยายามควบคุมบังคับสติ แต่เขาก็ไม่รู้หนทางที่ถูกต้อง ถ้าหนทางปฏิบัติไม่เป็นไปตามปรกติแล้ว ก็เป็นเรื่องยากและสร้างความสับสน

"ถ้ามีสติเป็นปรกติธรรมดา ถ้าสติศึกษาและพิจารณาความจริงที่ปรากฏ ก็จะมีความเข้าใจ ไม่ใช่มีความสับสน"

ข้อความนี้แปลจาก...The Natural Way of Development - How should one be aware?

อ่านตอนอื่นๆ ได้จากลิงค์นี้

ตอนที่ 1 - สมถและวิปัสนา

ตอนที่ 2 - อัตตสัญญาคืออะไร (1)

ตอนที่ 3 - อัตตสัญญาคืออะไร (2)

ตอนที่ 4 - ควรทำอะไรให้เข้าใจมากขึ้น

ตอนที่ 5 - ช่วยอธิบายหน่อยว่าระลึกอย่างไร

ตอนที่ 6 - การรวมกลุ่มวิธีปฏิบัติก็คือการหวังผล

ตอนที่ 7 - ความรู้ตามตำราและความรู้ระดับวิปัสสนาญาน

ตอนที่ 8 - ควรระลึกอย่างไร

ตอนที่ 9 - เช่นเดียวกับการจับด้ามมีด

ตอนที่ 10 - ข้อประพฤติปฏิบัติที่เป็นปรกติและไม่เป็นปรกติ

ตอนที่ 11 - ธรรมนั้นปฏิบัติกิจของตนเองตามปรกติ


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ