ปฐมโกธสูตร และ สุวิทูรสูตร ... วันเสาร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๗

 
มศพ.
วันที่  24 ส.ค. 2557
หมายเลข  25382
อ่าน  1,094

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ปฐมโกธสูตร และ สุวิทูรสูตร

จาก [เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๖๐, ๑๖๘

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

[เล่มที่ 37]

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๖๐

๓. ปฐมโกธสูตร

(ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก)

[๔๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลกบุคคล ๔

จำพวกคือใคร คือ บุคคล หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคล

หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคลหนักในลาภ ไม่หนัก

ในพระสัทธรรม ๑ บุคคลหนักในสักการะ ไม่ หนักในพระสัทธรรม ๑ นี้แล

บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔

จำพวกคือใคร คือ บุคคล หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑ บุคคล

หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑ บุคคลหนักใน

พระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักใน

สักการะ ๑

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ท่าน

หนักในลาภและสักการะ ภิกษุเหล่านั้น

ย่อมไม่งอกงามในพระธรรมที่พระสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใด

หนักในพระสัทธรรมแล้ว และกำลังหนัก

ในพระสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงาม

ในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

จบปฐมโกธสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมโกธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโกธสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกธครุ น สทฺธมฺมครุ ความว่า บุคคลถือความโกรธ เป็นสำคัญ

ไม่ถือพระสัทธรรม ย่อมถือพระสัทธรรม แต่ทำให้ไม่สำคัญ. แม้ในบทที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิรูหนฺติ ได้แก่ ย่อมเจริญ หรือ ย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ด้วยศรัทธาที่เป็นมูลเกิดพร้อมแล้ว.

จบอรรถกถาปฐมโกธสูตรที่ ๓

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๖๘

๗. สุวิทูรสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่าง)

[๔๗] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างคือ

อะไร คือ

๑. ฟ้ากับดิน

๒. ฝั่งในกับฝั่งนอกแห่งสมุทร

๓. ที่ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับ ที่ที่ดวงอาทิตย์อัสดง (ตก)

๔. ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่าง.

ฟ้ากับดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทร ก็ว่า

ไกลกัน ที่ที่ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ที่

ดวงอาทิตย์อัสดง ก็ไกลกัน ธรรมของ

สัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ ปราชญ์

กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น

การสมาคมแห่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อม

คลาย จะนานเท่าใดๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น

ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม

เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจาก

อสัตบุรุษ.

จบสุวิทูรสูตรที่ ๗

อรรถกถาสุวิทูรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุวิทูรสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุวิทูรวิทูรานิ ความว่า ไม่ใกล้กันโดยปริยายไรๆ คือ

ไกลแสนไกลนั่นเอง. บทว่า นภญฺจ ภิกฺขเว ปฐวี จ ได้แก่ อากาศกับแผ่น

ดินใหญ่. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่าอากาศไม่ไกลจากแผ่นดิน แม้ประมาณ ๒

นิ้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่าไกลแสนไกล เพราะไม่ชิดกันและกัน

บทว่า เวโรจโน คือดวงอาทิตย์. บทว่า สตญฺจ ภิกขเว ธมฺโม

ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันต่างด้วยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น . บทว่า

อสตญฺจ ธมโม ความว่า อสัทธรรมอันต่างด้วยทิฏฐิ ๖๒. บทว่า ปภงฺกโร

คือดวงอาทิตย์. บทว่า อพฺยายิโก โหติ ได้แก่ ไม่จางไปเป็นสภาพ.

บทว่า สตํ สมาคโม ความว่า การสมาคมของบัณฑิตด้วยสามารถกระชับมิตร.

บทว่า ยาวมฺปิ ติฏฺเฐยฺย ความว่า จะพึงตั้งอยู่นานเท่าใด. บทว่า ตเถว

โหติ ความว่า ก็คงที่อยู่เช่นนั้น ไม่ละปกติ. บทว่า ขิปฺปญฺหิ เวติ คือ

ย่อมจางเร็ว.

จบอรรถกถาสุวิทูรสูตรที่ ๗


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 24 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ปฐมโกธสูตร

(ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคล ๔ จำพวกที่มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้หนัก

ในความโกรธ ไม่ได้หนักในพระสัทธรรม หนักในการลบหลู่ท่าน ไม่ได้หนักใน

พระสัทธรรม หนักในลาภ ไม่ได้หนักในพระสัทธรรม หนักในสักการะ ไม่ได้หนัก

ในสัทธรรม ย่อมเป็นผู้ใม่เจริญในพระธรรมที่สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

ส่วนผู้ที่หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ไม่ได้หนักในความลบหลู่ท่าน

ไม่ได้หนักในลาภ ไม่ได้หนักในสักการะ ย่อมเป็นผู้มีความจริญในพระธรรมที่

สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

.................................................................................

ข้อความโดยสรุป

สุวิทูรสูตร

(ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่าง)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมของสัตบุรุษ กับ ธรรมของอสัตบุรุษ

ไกลกันยิ่งกว่าฟ้ากับดิน ไกลกันยิ่งกว่าฝั่งในกับฝั่งนอกแห่งมหาสมุทร และ

ไกลกันยิ่งกว่าที่ที่พระอาทิตย์ขึ้นกับที่ที่พระอาทิตย์ตก

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

โกรธ ดีไหม? ไม่ดี แต่ยังไม่รู้ว่า ความโกรธ เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ความลบหลู่

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย

สัปบุรุษเป็นอย่างไร

อยากทราบโพธิปักขิยธรรม 37

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ladawal
วันที่ 25 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 25 ส.ค. 2557

โพธิปักขิยธรรม ๓๗

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 26 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 30 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jans
วันที่ 1 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
namarupa
วันที่ 1 ก.ย. 2557
กราบพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ