ความลบหลู่

 
JANYAPINPARD
วันที่  26 ก.พ. 2553
หมายเลข  15616
อ่าน  2,408

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

ความลบหลู่ อันการทำสิ่งที่เขาทำดีแล้วให้พินาศไป ไม่ว่าของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต (มีลักษณะเหมือนกัน) อธิบายว่า ฝ่ายคฤหัสถ์ (เดิมที) เป็นคนขัดสน (ครั้นแล้ว) ผู้มีกรุณาลางคนได้ยก (เขา) ไว้ในฐานะที่สูงส่ง ต่อมา (เขากลับกล่าวว่า) ท่านทำอะไรให้ข้าพเจ้า ชื่อว่าทำลายความดีที่คนผู้กรุณานั้นทำไว้แล้วให้พินาศไป ฝ่ายบรรพชิตแลจำเดิมแต่สมัยเป็นสามเณรน้อย อันอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ท่านใดท่านหนึ่งอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยอุทเทศและปริปุจฉา ให้สำเหนียกความเป็นผู้ฉลาดในปกรณ์เป็นต้น ด้วยธรรมกถา

สมัยต่อมา อันพระราชาและราชมหาอำมาตย์เป็นต้น สักการะเคารพแล้ว (เธอ) กลับขาดความยำเกรงในอาจารย์และอุปัชฌาย์เที่ยวไป อันอาจารย์เป็นต้นกล่าวว่า ผู้นี้ สมัยเขาเป็นเด็ก เราทั้งหลายช่วยอนุเคราะห์และส่งเสริมให้ก้าวหน้าอย่างนี้ ก็แต่ว่าบัดนี้ เขาไม่น่ารักเสียแล้ว ก็กล่าว (ตอบ) ว่า พวกท่านทำอะไรให้ผม ดังนี้ ชื่อว่า ทำลายความดีที่อุปัชฌาย์และอาจารย์เหล่านั้นทำแล้วให้พินาศไป ความลบหลู่ที่ทำความดีที่ท่านทำไว้แล้วให้พินาศไปของบรรพชิตนั้นย่อมเกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้ อธิบายการประหานด้วยมรรค ดังนี้ กิเลส ๖ เหล่านี้ คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ