นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ
๑๕. มหามังคลชาดก
(ว่าด้วยมงคล)
...จาก...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๙๔๓
(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มี.ค. ๒๕๕๔)
...นำสนทนาโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๙๔๓
๑๕. มหามังคลชาดก
(ว่าด้วยมงคล) [๑๔๗๓] นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไร-
ก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไรเป็นมงคล ในเวลา
ปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอะไร จึงจะเป็น
ผู้อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า.
[๑๔๗๔] เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติ*และ
สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลใด อ่อนน้อม
อยู่เป็นนิจ ด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลาย กล่าว
เมตตาของบุคคลนั้นแล ว่า เป็นสวัสดิมงคล
ในสัตว์ทั้งหลาย.
[๑๔๗๕] ผู้ใดประพฤติถ่อมตน แก่สัตวโลกทั้งปวง
แก่หญิงและชาย พร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อ
ถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่าๆ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวความอดกลั้น ของผู้นั้นว่า
เป็นสวัสดิมงคล.
[๑๔๗๖] ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปรง
ในเมื่อเหตุเกิดขึ้น ไม่ดูหมิ่นมิตรสหายทั้งหลาย
ด้วยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้
นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคล ในสหายทั้งหลาย.
[๑๔๗๗] สัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้ชอบพอคุ้นเคย
กัน เป็นมิตรแท้ ของผู้ใด ผู้มีคำพูดมั่นคง
อนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปัน
ทรัพย์ของตนให้แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
การได้ประโยชน์ เพราะอาศัยมิตร และการ
แบ่งปันของผู้นั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคล ในมิตร
ทั้งหลาย.
[๑๔๗๘] ภรรยาของผู้ใด มีวัยเสมอกัน อยู่ร่วมกัน
ด้วยความปรองดอง ประพฤติตามใจกัน เป็น
คนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดย
สมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวคุณความดี ในภรรยาของผู้นั้น ว่า
เป็นสวัสดิมงคลในภรรยาทั้งหลาย.
[๑๔๗๙] พระราชาผู้เป็นเจ้าชีวิต ทรงพระอิสริย-
ยศ ทรงทราบความสะอาด และความขยัน
หมั่นเพียร ของราชเสวกคนใด และทรงทราบ
ราชเสวกคนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับ
พระองค์ และทรงทราบราชเสวกคนใด ว่า มี
ความจงรักภักดีต่อพระองค์ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวคุณความดี ของราชเสวกนั้นๆ ว่า เป็น
สวัสดิมงคลในพระราชาทั้งหลาย.
[๑๔๘๐] บุคคลใดมีศรัทธา ให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้
ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิตเลื่อมใส
บันเทิงใจ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวคุณข้อนั้น
ของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคล ในสวรรค์
ทั้งหลาย.
[๑๔๘๑] สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้
ยินดีแล้วในสัมมาปฏิบัติ เป็นพหูสูต แสวง
หาคุณ เป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วย
อริยธรรม บัณฑิตทั้งหลาย ยกย่องความดีของ
สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคล ในท่ามกลาง
พระอรหันต์.
[๑๔๘๒] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา
พึงเสพความสวัสดี เหล่านั้น ไว้ในโลกนี้ ก็ใน
มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล* สุตมงคล*
และมุตมงคล* มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคลจริงๆ
ไม่มีเลย.
จบ มหามังคลชาดกที่ ๑๕. หมายเหตุ ทีฆชาติ หมายถึง สัตว์ที่มีรูปร่างยาว เช่น งู เป็นต้น
ทิฏฐมงคล หมายถึง การถือเอารูปที่ได้เห็นว่าเป็นมงคล สุตมงคล หมายถึง การถือเอาเสียงที่ได้ยินว่าเป็นมงคล
มุตมงคล หมายถึง การถือเอาอารมณ์ที่ได้ทราบ คือ กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ ว่า เป็นมงคล.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความโดยสรุป
มหามังคลชาดก
(ว่าด้วยมงคล) เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน พระภิกษุทั้งหลายได้นั่งสนทนากันโดยปรารภถึงพระปัญญาคุณของพระองค์ ที่ทรงสามารถแสดงมงคล ๓๘ ประการ อันเป็นเหตุแห่งความเจริญทั้งปวง ซึ่งใครๆ ก็ไม่สามารถแสดงได้ และในเรื่องมงคล นี้ มนุษย์และเทวดาได้คิดกัน นานถึง ๑๒ ปี พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า การที่พระองค์ทรงแสดงเรื่องมงคล ๓๘ ประการ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในฐานะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะเหตุว่า เมื่อพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ คือ เป็นรักขิตดาบส พระองค์ก็ได้แสดงเรื่องมงคลประการต่างๆ แก่ผู้ที่มีความสงสัยในเรื่องมงคล เช่นเดียวกัน ว่าอะไรคือมงคลที่แท้จริง โดยทรงนำเรื่องในอดีตเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเป็นรักขิตดาบส มาแสดง สรุปได้ดังนี้ .- ในครั้งนั้น พระองค์ทรงเกิดในตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่า รักขิตกุมาร มีทรัพย์สมบัติมาก เมื่อมารดาบิดาสิ้นชีวิตลง ท่านก็สละทรัพย์สมบัติออกบวชเป็นฤาษี มีลูกศิษย์ ถึง ๕๐๐ อยู่ที่ป่าหิมวันต์ อยู่มาวันหนึ่ง ลูกศิษย์ทั้ง ๕๐๐ มีความประสงค์จะเข้าเมื่อง จึงลารักขิตดาบส ไป ไปถึงเมืองพาราณสี ได้รับการบำรุงจากพระราชา ในครั้งนั้นประชาชนได้มีการคิดกันถึงเรื่องมงคลว่าอะไรเป็นมงคล ไม่สามารถจะตกลงกันได้ว่าอะไรคือมงคลที่แท้จริง พระราชาจึงไปถามดาบสทั้งหลาย ดาบสทั้งหลายไม่สามารถตอบได้ แต่ก็ได้ทูลแด่พระราชาว่า อาจารย์ของพวกตน สามารถตอบได้ว่าอะไรเป็นมงคลที่แท้จริง พระราชาจึงตรัสขอร้องให้ดาบสทั้งหลายนำคำถามเรื่องมงคลนี้ไปถามอาจารย์ แล้วให้นำกลับมาบอก ด้วย ดาบสเหล่านั้น จึงเดินทางไปหารักขิตดาบส ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ แล้วดาบสผู้เป็นหัวหน้า ได้เป็นตัวแทนถามเรื่องมงคลกะพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ จึงได้แสดงมงคลประการต่างๆ อันได้แก่ความดี ทุกอย่างทุกประการ ดังนี้ -ความมีเมตตา ต่อสัตว์ทั้งปวง -การเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน มีความอดทนต่อถ้อยคำชั่วร้ายของผู้อื่น -มีปัญญา ไม่ดูหมิ่นสหาย -การเป็นมิตรแท้ เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร และ แบ่งปันสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่มิตร
มงคลชีวิต
เมตตา ๓๑ ...... การเจริญเมตตา เป็นมงคลจริง
มงคลสูตร .. มิฉะนั้นจะไม่ทรงแสดงมงคลข้อที่ 1 เลย
มงคลสูตร... เสาร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...