ญาณจักษุกับธรรมจักษุเป็นไฉน

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  13 ม.ค. 2553
หมายเลข  15113
อ่าน  4,768

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - ในคำนั้น จักษุ มี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันต- จักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑. คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ ดังนี้ ชื่อว่า พุทธจักษุ. คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ดังนี้ ชื่อว่าสมันตจักษุ. คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว๓ ดังนี้ชื่อว่า ญาณจักษุ. คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ดังนี้ ชื่อว่า ทิพยจักษุ. มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมจักษุ. ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

อรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่

บทว่า จกฺขุํ ได้แก่จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุสมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ. ในจักษุ ๕ ย่างนั้น ที่ชื่อว่าพุทธจักษุได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. ที่ชี่อธรรมจักษุ ได้แก่มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓ซึ่งมาในพระบาลีว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ธรรมจักษุปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า สมันตจักษุได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุสมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท. ที่ชื่อว่า ทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการขยายอาโลกกสิณ ที่มาในพระบาลีว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธนด้วยทิพยจักษุอันหมดจด. ที่ชื่อว่า ปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนดสัจจะ ๔ ซึ่งมาในพระบาลีว่า กฺขุํ อุทปาทิ จักษุ (ธรรมจักษุ) เกิดขึ้นแล้ว.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 13 ม.ค. 2553

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 485 คำว่า ดวงตาเห็นธรรม (ธมฺมจกฺขุ) ความว่า ปฐมมรรค (โสดา ปัตติ

มรรค) ท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในอุปาลีโอวาทสูตร และทีฆนขสูตร.

ผลทั้งสามท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในพรหมายุสูตร. ในสูตรนี้

มรรค ๔ ผล ๔ พึงทราบว่าเป็น ดวงตาเห็นธรรม. ก็แหละ ในบรรดา

เทวดาเหล่านั้น เทวดาบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน . บางพวกเป็นพระ

สกทาคามี บางพวกก็เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นพระขีณาสพ. และก็

การกำหนดด้วยอำนาจนับจำนวนเทวดาเหล่านั้นว่าเท่านั้น เท่านี้ไม่มี.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ