ภวังคจิตมีอารมณ์เดียวกับจิตอะไร


    ท่านอาจารย์ ภวังคจิตมีอารมณ์เดียวกับอะไร

    ผู้ฟัง ปฏิสนธิจิต

    ท่านอาจารย์ จุติจิตมีอารมณ์เดียวกับอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าเหมือนกับปฏิสนธิ ภวังค์ก็อารมณ์เดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ใช่ จะกล่าวว่ามีอารมณ์เดียวกับภวังค์ก็ได้ จะกล่าวว่ามีอารมณ์เดียวกับ ปฏิสนธิจิตก็ได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในชาตินี้ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติมีอารมณ์เดียวกันหมด

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ตอนเกิดมีอารมณ์เดียวกับชาติที่แล้ว

    ท่านอาจารย์ อารมณ์ใกล้จุติของชาติก่อน

    ผู้ฟัง ดิฉันรู้สึกไม่แปลกใจเพราะว่าตอนที่เกิดมาทางปัญจทวารก็ยังไม่มี ยังไม่มีอะไร เลยที่จะเป็นอารมณ์ได้ ตรงนี้จะเป็นเหตุผลไหม จะไปรู้อารมณ์อะไรในชาติที่เพิ่งเกิดมา ใหม่ คือมันแปลกๆ ที่เกิดชาตินี้แต่ไปมีอารมณ์เดียวกับชาติที่แล้ว ก็เลยมาดูสภาพว่ามัน ไม่น่าจะรู้อารมณ์ของชาตินี้ เพราะว่ามันเพิ่งเกิดมาได้ไม่นาน ปัญจทวาร ตา หู ยังไม่มี ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ที่เราคิดว่ากำลังมีอารมณ์อะไร ความจริงหลายวาระ จากทางปัญจทวารเป็น ภวังค์ และก็มโนทวารรู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่จุติจิตดับ แทนที่จะเป็นมโน- ทวารวิถีที่รู้อารมณ์เดียวนั้นต่อ ก็เป็นปฏิสนธิจิตซึ่งมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติของชาติ ก่อน เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่าปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตเป็นผลของกรรมเดียวกันที่ ทำให้เมื่อเกิดเป็นบุคคลนั้นแล้ว ก็จะเป็นบุคคลนั้นโดยภวังคจิตดำรงภพชาติสืบต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดกรรมนั้น เพราะฉะนั้นเป็นวิบากของกรรมเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน แต่ ทั้งสามขณะทำกิจต่างกัน คือ ปฏิสนธิจิตทำกิจขณะแรกขณะเดียวสืบต่อเฉพาะจากจุติ จิตของชาติก่อน จะไปสืบต่อกันเหมือนอย่างกับภวังค์เกิดสืบต่อกันไม่ได้ เป็นปฏิสนธิ จิตก็คือว่าต้องสืบต่อเฉพาะจากจุติจิตของชาติก่อน และสำหรับภวังค์เมื่อเป็นผลของ กรรมเดียวกันก็มีอารมณ์เดียวกัน แต่ไม่ได้กระทำกิจสืบต่อเฉพาะจากจุติจิตของชาติ ก่อนเป็นวิบากประเภทเดียวกันจริงๆ แต่ว่าเมื่อไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิเกิดสืบต่อจาก ปฏิสนธิก็ทำกิจภวังค์ (ภวะ + อังคะ) ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น พอถึงจิตขณะ สุดท้ายก็เป็นผลของกรรมที่จะทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น เพราะกรรมก็มีการให้ผล เมื่อสิ้นสุดก็หมดกิจของกรรมนั้น ก็กรรมอื่นก็ให้ผล แม้แต่ระหว่างที่ยังไม่จุติ คือ ยังไม่ จากโลกนี้ไป กรรมอื่นก็ยังมีโอกาสให้ผลได้ แต่ว่าสำหรับจุติจิตก็เป็นวิบากประเภท เดียวกับปฏิสนธิ และภวังค์ แต่ทำกิจต่างกัน คือ ขณะที่จุติจิตเกิด ไม่ได้ทำภวังคกิจที่จะ ดำรงภพชาติต่อไป แต่ทำกิจเคลื่อนพ้นจากความเป็นบุคคลนั้นโดยสิ้นเชิ ง จะกลับเป็น บุคคลนั้นอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นก็เป็นผลของกรรมเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิด ต่างขณะกัน และก็ทำกิจต่างกันด้วย

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 115


    หมายเลข 7946
    22 ม.ค. 2567