ฌานปัจจัย ได้แก่ สภาพธรรมที่เผาปฏิปักษ์ธรรม


    เพราะฉะนั้นแม้ว่าในฌานปัจจัยที่ได้กล่าวถึงในคราวก่อนว่า  สภาพธรรมที่เป็นฌาน  คือสภาพธรรมที่เพ่งอารมณ์  หรือเผาปฏิปักษ์ธรรม  มี ๗  คือ  วิตก ๑  เป็นวิตกเจตสิก  วิจารเจตสิก  ปีติเจตสิก ๑  โสมนัสเวทนา ๑  โทมนัสเวทนา ๑  อุเบกขาเวทนา ๑  เอกัคคตาเจตสิก ๑  รวม ๗ นี้เป็นฌานปัจจัย  เวทนาก็เป็นฌานปัจจัย  เพราะเหตุว่าเวลาที่เวทนาเกิดนี้รู้สึกอย่างไร  สำคัญไหมคะ   โทมนัสเกิด  ไม่พอใจเลย  เดือดร้อน  เผาความสุขทั้งหมดที่มี   จะมีทรัพย์สมบัติมากมายสักเท่าไรก็ตาม   ไม่ช่วยให้ความรู้สึกนั้นเป็นสุขได้ขณะที่โทมนัสเวทนาเกิด

    เพราะฉะนั้นลักษณะสภาพของโทมนัสเวทนาเป็นฌานปัจจัย   ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม   เวลาที่โทมนัสเวทนาเกิดก็เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งเผา  ขณะนั้นเป็นฌาน   เป็นฌานปัจจัย  ทำให้จิตซึ่งเกิดร่วมด้วยมีสภาพที่โทมนัส  ไม่เป็นสุข  เผาไหม้  เดือดร้อน

    ถ้าเป็นโสมนัสเวทนาก็ตรงกันข้าม   เวลาที่โสมนัสเวทนาเกิด  เผาสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับโสมนัสเวทนา   กำลังเป็นทุกข์  พอมีข่าวที่เป็นสุข   โสมนัสเวทนาเกิดขึ้น  หมดแล้วทุกข์ที่กำลังเป็นอยู่ก็หมดไป  เพราะฉะนั้นเรื่องของเจตสิกนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดกับจิต  แล้วก็เป็นเรื่องละเอียดที่จะทำให้จิตแต่ละประเภทมีกิจการงานหน้าที่ต่าง ๆ กัน  แม้แต่สันตีรณะที่เป็นอกุศลวิบาก  ซึ่งประกอบด้วยเจตสิกมากกว่าเพียง ๗ ดวง  คือ ประกอบด้วยวิตกเจตสิก   วิจารเจตสิกซึ่งเป็นฌานปัจจัย  จึงทำให้ทำกิจปฏิสนธิได้


    หมายเลข 6033
    27 ส.ค. 2558