โสภณ - อโสภณ 3


        สุ. เมื่อพูดถึงเรื่องจิต ในขณะนี้ทุกคนมีจิตแน่นอน ก็ถามคำถามสั้นๆ ว่า จิตเป็นโสภณหรืออโสภณ ตามที่ได้ฟัง ทบทวนอีกนิดเดียวค่ะ

        จิตที่เป็นโสภณก็มี อโสภณก็มี นี่คือความเข้าใจ โดยที่ในวันหนึ่งๆ มีจิตทั้งที่เป็นโสภณ และอโสภณ ขณะนี้ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอน เพราะว่าเมื่อไรที่จิตเกิดขึ้นต้องมีสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจตสิกทั้งหมดเป็นโสภณหรืออโสภณ โดยนัยเดียวกัน เป็นโสภณก็มี อโสภณก็มี เพราะฉะนั้นวันหนึ่งเมื่อจิตเป็นอโสภณก็มี ก็ต้องเกิดร่วมกับเจตสิกประเภทนั้น แล้วแต่ว่าจิตนั้นเป็นจิตประเภทใด เพราะเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย

        รูปเป็นโสภณหรืออโสภณ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า

        นี่ก็คือ จะใช้คำอะไรก็ตามแต่ แต่ขอให้เข้าใจความจริง และลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้นขณะนี้ทุกคนกำลังเห็น จิตเห็นเกิดขึ้นเห็น เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นจิตเห็นเป็นวิบาก ถ้าเห็นสิ่งที่น่าพอใจ เป็นกุศลวิบาก เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เป็นอกุศลวิบาก ก็ถามว่า ขณะที่กำลังเห็นสิ่งที่น่าพอใจ จิตที่เห็นสิ่งที่น่าพอใจ เป็นโสภณหรืออโสภณ เป็นอโสภณ เพราะว่าจิตเห็นไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย

        นี่ค่ะ แม้ว่าจะได้ฟังกี่วันก็ตาม บ่อยครั้งก็ตาม แต่ต้องมั่นคง ที่ว่าขณะใดก็ตามที่จิตนั้นไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นต้องเป็นอโสภณ เพราะบ่งถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย

        เห็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าพอใจ จิตเห็นนั้นเป็นวิบาก เป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นจิตเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เป็นอกุศลวิบาก เป็นโสภณหรืออโสภณ เป็นอโสภณ

        กำลังได้ยินเสียง เสียงก็มีเสียงที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ ขณะที่ได้ยินเสียงที่น่าพอใจ เป็นผลของกุศลกรรม แต่สภาพจิตไม่ใช่ตัวกุศลกรรม แต่เป็นผลของกุศลกรรม เพราะฉะนั้นจิตได้ยิน เป็นกุศลวิบากจิต ถ้าใช้ว่า กุศลวิบาก ก็แสดงว่าเป็นผลของกุศลกรรม จึงได้ยินเสียงที่น่าพอใจ จิตได้ยินเสียงที่น่าพอใจ เป็นโสภณหรืออโสภณ อโสภณ ไม่มีปัญหาแล้วใช่ไหมคะ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

        เพราะฉะนั้นเราก็สามารถเข้าใจ “คัมภีระ” ความลึกซึ้งของจิตเห็น ถ้าให้เราคิดเอง เราก็อาจจะตอบตามความเข้าใจของเราว่า เมื่อเห็นสิ่งที่ดีก็ดี ก็น่าจะเป็นจิตที่ดี แต่เมื่อเป็นผลของกุศลกรรม เพียงเกิดขึ้นเห็น ที่จะไม่ให้เห็น ไม่ได้เลย และก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ดวง ไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย ตลอดชีวิตอยากเห็นสิ่งที่น่าพอใจ แต่แล้วแต่กรรมจะให้ผล ทำให้จิตเห็นสิ่งที่ดี เกิดขึ้นเมื่อไร ก็เกิดขึ้นเพียงเห็น เป็นผลของกุศลกรรม แต่จิตนั้นไม่ได้ประกอบด้วยโสภณเจตสิกเลย เพียงแค่เห็น เป็นผลของกรรมที่เกิดขึ้นเพราะความสุกง่อม ถึงกาลที่จะต้องเห็น ไม่เห็นไม่ได้เลย ถ้ากรรมที่จะให้ผลทางกาย ถึงกาลที่จะให้ผลทางกาย จะปฏิเสธหลีกเลี่ยง ไม่ให้กายวิญญาณเกิดขึ้น รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย เป็นไปไม่ได้เลย

        ด้วยเหตุนี้ทุกคนที่มีร่างกาย กำลังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ณ ขณะนี้ ต่อไปก็ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ว่า ผลของกุศลกรรมจะทำให้กุศลวิบากเกิด หรือผลของอกุศลกรรมจะทำให้อกุศลวิบากเกิด ขณะที่กำลังรู้สึกปวดเจ็บทางกาย เป็นจิตที่ประกอบด้วยทุกขเวทนา เพราะเป็นผลของอกุศลกรรม ขณะนั้นเป็นโสภณหรืออโสภณ ตรงกันข้ามเลย กำลังสบาย ร่างกายก็สบายดี ไม่เดือดร้อน ขณะนั้นเป็นผลของกุศลแน่นอน ทำให้ทุกขเวทนาไม่เกิด เป็นเวทนาที่เกิดพร้อมกับความสุขในขณะนั้น เป็นผลของกุศล แต่สภาพจิตเป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกุศลกรรม ขณะนั้นเป็นโสภณหรืออโสภณ อโสภณ ก็ไม่มีปัญหาเลย

        นี่คือคัมภีระของสภาพธรรมในขณะนี้ จนกว่าจะรู้จริงๆ เพราะเหตุว่าจิตเห็นมีจริง จิตได้ยินมีจริง จิตได้กลิ่นมีจริง จิตลิ้มรสมีจริง เมื่อไร เมื่อกำลังปรากฏ เพราะเกิด ทำกิจหน้าที่แล้วก็ดับไป เร็วมาก เพราะฉะนั้นขณะนี้จิตเป็นอะไร ทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เป็นสภาพธรรมที่ถึงกาลที่จะเกิดก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ แต่เราสามารถเข้าใจเพิ่มขึ้นได้ว่า วันหนึ่งๆ มีทั้งจิตที่เป็นอโสภณ และจิตที่เป็นโสภณ แล้วยังสามารถรู้มากขึ้นด้วย ขั้นฟัง ว่าขณะไหนเป็นอโสภณ เช่น ขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ว่าจะเห็นอะไร ได้ยินอะไร ก็เป็นอโสภณทั้งนั้น

        หลังจากนั้นเป็นโสภณหรืออโสภณ แล้วแต่เหตุปัจจัย

        นี่คือชีวิตในวันหนึ่งๆ ซึ่งสามารถบอกได้ว่า ขณะไหนมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นจึงเป็นโสภณจิต

        นอนหลับสนิท ไม่รู้อะไรเลย ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ฝัน ไม่คิด ขณะหลับสนิท เป็นโสภณจิตหรืออโสภณจิต

        ผู้ฟัง หนูเข้าใจว่า ถ้าเราเกิดมาด้วยผลของกุศล แล้วถ้าเราหลับก็จะมีโสภณจิตเกิดร่วมด้วย แต่คนที่เกิดมาพิการตั้งแต่กำเนิด แล้วตอนที่นอนหลับจะไม่เป็นโสภณจิต ไม่มีโสภณจิตเกิดร่วมด้วย

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 260


    หมายเลข 11992
    23 ม.ค. 2567