ปฏิจจสมุปบาท

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 เม.ย. 2551
หมายเลข  8044
อ่าน  5,065

ปฏิจฺจ (อาศัย) + สํ (ด้วยดี, ตามลำดับ) + อุปฺปาท (การเกิดขึ้น) สภาพธรรมที่เกิดขึ้นด้วยดี คือ เป็นไปตามลำดับโดยอาศัยปัจจัย หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล ที่ทำให้เกิดสังสารวัฏฏ์ เป็นการแสดงเรื่องของปัจจัย (เหตุ) และปัจจยุบบัน (ผล) อีกนัยหนึ่ง ซึ่งต่างจากนัยของปัฏฐาน

ปฏิจจสมุปบาท มีองค์ ๑๒ คือ

๐๑. อวิชชา

๐๒. สังขาร

๐๓. วิญญาณ

๐๔. นามรูป

๐๕. สฬายตนะ

๐๖. ผัสสะ

๐๗. เวทนา

๐๘. ตัณหา

๐๙. อุปาทาน

๑๐. ภพ

๑๑. ชาติ

๑๒. ชรา มรณ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ความเป็นปัจจัยของปฏิจจสมุปบาท คือ

๐๑. อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

๐๒. สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

๐๓. วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป

๐๔. นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ

๐๕. สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

๐๖. ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

๐๗. เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา

๐๘. ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน

๐๙. อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

๑๐. ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

๑๑. ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 9 เม.ย. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
udomjit
วันที่ 28 เม.ย. 2551

สาธุด้วยค่ะ อยากทราบว่า ธรรมะเรื่องนี้พระองค์ทรงแสดงแก่ผู้ใด เมื่อใดค่ะ ดูว่าสำคัญนะคะ มีเหตุผลบอกไหมค่ะว่าทำไมไม่แสดงเป็นปฐมเทศนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 29 เม.ย. 2551

ทรงแสดงแก่พระภิกษุทั้งหลายที่ท่านสะสมมาที่จะเข้าใจธรรมะโดยหัวข้อนี้ แต่ก็รวมลงในเรื่องของอริยสัจจ์เช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เซจาน้อย
วันที่ 14 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
happyindy
วันที่ 15 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ทศพล.com
วันที่ 16 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
anong55
วันที่ 3 มิ.ย. 2551
ได้ฟังบ่อยๆ แต่ก็ไม่เข้าใจอย่างชัดเจน แม้จะได้อ่านบ่อยๆ ก็คงไม่เข้าใจบ่อยๆ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 16 พ.ย. 2554

อนุโมทนากุศลกรรมนี้นะครับ และ ขอบคุณมากนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เข้าใจ
วันที่ 7 ต.ค. 2555

คงเพราะธรรมนั้นสงเคราะกันและกันจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั้นๆ กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Nataya
วันที่ 7 ก.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ธ.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
namkhang.k@gmail.com
วันที่ 20 เม.ย. 2563

เรียนผู้รู้ในธรรม และเจริญในธรรม โปรดอธิบาย รูปชาติ นามชาติ คืออะไร มีที่มาอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
kornkamol
วันที่ 27 มิ.ย. 2564

ขอถามคำถามค่ะ "สังขาร" ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงอะไรคะ คือสังขารขันธ์ หรือสังขารในความหมายใดค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มิ.ย. 2564

ขอเชิญอ่าน...

"สังขาร" ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงอะไร

สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่หมายถึง ร่างกาย ไม่ได้หมายถึง สังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งทั้งหมด ที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม และไม่ได้หมายถึง สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ที่เป็นเจตสิก ๕๐ ประเภท แต่คำว่า สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง อภิสังขาร คือ เจตนาเจตสิก ที่เป็นกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มิ.ย. 2564

ขอเชิญอ่าน...

นามชาติ รูปชาติ

ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ทั้งนามชาติ (คือ การเกิดขึ้นของปฏิสนธิจิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) และ ทั้งรูปชาติ คือ การเกิดขึ้นของรูปธรรม ที่เป็นกรรมชรูป ด้วย [เจตสิกที่เกิดร่วมกับปฏิสนธิจิต นั้น มีทั้งสัญญาเจตสิก (สัญญาขันธ์) เวทนาเจตสิก (เวทนาขันธ์) พร้อมทั้งเจตสิกอื่นๆ ที่เป็นสังขารขันธ์]

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
พานทอง*อินทรชัย
วันที่ 10 ส.ค. 2565

ได้รับฟัง CD ธรรมบรรยาย ของท่านอาจารย์สุจินต์ฯ เรื่อง ปฏิจจสมุปาท หลายรอบ รวมทั้งท่านอาจารย์ได้ตอบคำถามด้วย

จึงได้รับรู้รับทราบว่า ก่อน อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

ยังมี อาสวะ เป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชา ด้วย

แม้จะพอท่องได้ และจำได้ ว่า ลำดับการเป็นปัจจัย เป็นอย่างไร (ตามที่กระทู้ ได้นำมาตั้งไว้ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท นั้น) ตั้งแต่..

อาสวะ เป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชา

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

... เรื่อยๆ ไป จนถึง..

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

✳️ ก็เป็นแต่เพียง ความจำได้ และ เป็นเพียงความเข้าใจที่ผิวเผินเหลือเกิน ของกระผม ดังนั้น ท่านผู้รู้ธรรม โปรดช่วยชี้แนะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นหน่อยครับ เพื่อประโยชน์ในการเจริญปัญญา ต่อ กระผม และ หลายๆ ท่านที่มีโอกาสได้อ่าน

กราบขอบพระคุณ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ส.ค. 2565

ขอเชิญรับฟัง....

ปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าอย่างไร

ข้อความบางตอน....

ถาม ความหมายของ ปฏิจจสมุปปาท คืออย่างไร

ส. ถ้าพูดถึงคำอะไร เราก็เข้าใจได้ในสิ่งที่กำลังมี วนเวียน คือ เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน เดี๋ยวก็ได้กลิ่น เดี๋ยวก็ลิ้มรส เดี๋ยวก็คิดนึก กี่วันๆ ก็แค่นี้

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ส.ค. 2565

ท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ามีการเกิดย่อมจะมีชาติ ชรา มรณะ แต่ว่าในที่ใดที่ไม่มีการเกิดในที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชรา มรณะต่อไป แต่ความยินดี ความพอใจ ก็ยังอยากจะเกิดอีก แม้ว่าเกิดมาแล้วจะต้องมีชาติ ชรา มรณะ

เพราะฉะนั้น จะต้องฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ โดยละเอียดยิ่งขึ้น จนกว่าสติจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม สามารถที่จะประจักษ์แจ้งในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละลักษณะโดยทั่วจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ส.ค. 2565

ข้อความใน อัสสุตวตาสูตรที่ ๒ ข้อ ๒๓๗ – ข้อ ๒๓๙ มีว่า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดีโดยแยบคายถึงปฏิจจสมุปบาทธรรมในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนาจึงดับ จึงสงบไป

ท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวว่า

สุขเวทนาไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้เลยถ้าปราศจากผัสสะ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่รู้สึกเป็นสุขให้ทราบว่า เพราะผัสสะกระทบอารมณ์นั้นเป็นปัจจัยให้สุขเวทนาเกิดขึ้น ซึ่งสุขเวทนาที่ทุกท่านปรารถนาก็ไม่เที่ยง มีอายุสั้นมาก คือ เพียงชั่วขณะที่จิตเกิด และดับ และก็ดับไปพร้อมกับผัสสะที่กระทบอารมณ์ที่ทำให้สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนาจึงดับ จึงสงบไป

ท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวต่อไปว่า

ไม่มีอะไรเลยนอกจากฟัง และพิจารณา และสติระลึก ถ้าสติยังไม่ระลึกจะบังคับให้สติเกิดระลึกไม่ได้ นอกจากอาศัยปัจจัย คือ การฟัง ฟังแล้วฟังอีก พิจารณาแล้วพิจารณาอีก จนกว่าสังขารขันธ์ คือ ความเข้าใจสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟังแต่ละขณะ จนเป็นอุปนิสสยปัจจัยทำให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิดระลึกรู้ที่ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด จะไม่รู้ได้ไหมว่ามีปัจจัยทำให้สติเกิด ไม่ใช่เพราะว่ามีความจงใจด้วยความเป็นตัวตนที่จะให้สติเกิด แต่ต้องมีปัจจัยแต่ละขณะในอดีตที่เคยฟัง เคยพิจารณา และย่อมเคยระลึกรู้มาบ้าง เป็นปัจจัยเกื้อกูลให้สติเกิด สามารถระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมไม่ว่าขณะไหน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ