ธรรมชาติ
ถาม
ธรรมชาติ คือ อะไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา โดยพระองค์ทรงใช้พยัญชนะที่หลากหลายมากมายในการแสดงพระธรรมเทศนา เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพราะแต่ละคำที่ทรงแสดงนั้น เป็นคำจริงเพื่อเข้าใจความจริงโดยตลอด สำหรับธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งทีกระทบสัมผัส คิดนึก จิตเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา โดยประมวลแล้ว เป็นจิต เจตสิก รูป หรือ เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม เมื่อประมวลให้ย่อที่สุดแล้วคือ เป็นธรรม หรือ เป็นธาตุ เมื่อเป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละอย่างๆ จึงหาความเป็นสัตว์เป็นบุคคลไม่ได้เลย จากคำถาม ธรรมชาติ คือ อะไร? สำหรับผู้ศึกษาพระธรรม ย่อมเข้าใจว่า เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุเหตุตามปัจจัย ซึ่งก็คือ ขณะนี้ นั่นเอง
การศึกษาธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด จุดประสงค์ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ตามความเป็นจริงถ้าไม่อาศัยการฟังไม่อาศัยการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยความละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมไม่สามารถเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ดังนั้น จึงต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ครับ
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
ธรรมะ กับ ธรรมชาติต่างกันอย่างไร
..ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ.....
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 1 โดย khampan.a
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา โดยพระองค์ทรงใช้พยัญชนะที่หลากหลายมากมายในการแสดงพระธรรมเทศนา เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพราะแต่ละคำที่ทรงแสดงนั้น เป็นคำจริงเพื่อเข้าใจความจริงโดยตลอด สำหรับธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่พ้นไปจากสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งทีกระทบสัมผัส คิดนึก จิตเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา โดยประมวลแล้ว เป็นจิต เจตสิก รูป หรือ เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม เมื่อประมวลให้ย่อที่สุดแล้วคือ เป็นธรรม หรือ เป็นธาตุ เมื่อเป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละอย่างๆ จึงหาความเป็นสัตว์เป็นบุคคลไม่ได้เลย จากคำถาม ธรรมชาติ คือ อะไร? สำหรับผู้ศึกษาพระธรรม ย่อมเข้าใจว่า เป็นธรรมที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุเหตุตามปัจจัย ซึ่งก็คือ ขณะนี้ นั่นเอง
การศึกษาธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด จุดประสงค์ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ตามความเป็นจริงถ้าไม่อาศัยการฟังไม่อาศัยการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยความละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมไม่สามารถเข้าใจตามความเป็นจริงได้ ดังนั้น จึงต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ครับ
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
ธรรมะ กับ ธรรมชาติต่างกันอย่างไร..ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ.....
ธรรมชาติ เป็นภาษาไทยหรือภาษาบาลีครับ ธรรมชาติเป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าหรือไม่ครับ
ถ้าเป็นคำสอน ขอที่มาด้วยครับ
เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ
ธรรมชาติ (ภาษาไทย) ธมฺมชาติ (ภาษาบาลี) สำคัญที่ความเข้าใจถูก
หลักฐานคำว่า "ธรรมชาติ" มีปรากฏหลายที่มาก ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา อย่างเช่น
ข้อความใน [เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๘๐
[๔๙๕] พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตรว่า "ท่านครับ ที่เรียกว่า เวทนา เวทนา (ความรู้สึกๆ) " นั้น ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน เขาจึงเรียกว่า เวทนา?"
พระสารีบุตร ตอบว่า "ที่เขาเรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย (ซึ่งอารมณ์) ย่อมรู้สึกนั่นแหละ รู้สึกอะไรเล่า? รู้สึกสุขบ้าง รู้สึกทุกข์บ้าง รู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ที่เรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย ย่อมรู้สึกนั่นแหละคุณ
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒- หน้าที่ ๔๗๙
ธรรมชาติ ชื่อว่า มิจฉาทิฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิด เพราะไม่ถือเอาตามความเป็นจริง
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 4 โดย khampan.a
เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ
ธรรมชาติ (ภาษาไทย) ธมฺมชาติ (ภาษาบาลี) สำคัญที่ความเข้าใจถูก
หลักฐานคำว่า "ธรรมชาติ" มีปรากฏหลายที่มาก ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา อย่างเช่น
ข้อความใน [เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๘๐
[๔๙๕] พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตรว่า "ท่านครับ ที่เรียกว่า เวทนา เวทนา (ความรู้สึกๆ) " นั้น ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน เขาจึงเรียกว่า เวทนา?"
พระสารีบุตร ตอบว่า "ที่เขาเรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย (ซึ่งอารมณ์) ย่อมรู้สึกนั่นแหละ รู้สึกอะไรเล่า? รู้สึกสุขบ้าง รู้สึกทุกข์บ้าง รู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ที่เรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย ย่อมรู้สึกนั่นแหละคุณ
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒- หน้าที่ ๔๗๙
ธรรมชาติ ชื่อว่า มิจฉาทิฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิด เพราะไม่ถือเอาตามความเป็นจริง
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ธรรมชาติกระผมได้หา
ใน App พระไตรปิฎก 91 เล่ม
ไม่พบคำนี้ครับและคำ ธัมมะชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 722
ข้อความบางตอนจาก ...
ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้
[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงสดับธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด
ข้อความบางตอนจาก ...
[๔๙๕] "ท่านครับ ที่เรียกว่า เวทนา เวทนา (ความรู้สึกๆ) " (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน เขาจึงเรียกว่า เวทนา?
สา. ที่เขาเรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวยย่อมรู้สึกนั่นแหละ ณ รู้สึกอะไรเล่า? รู้สึกสุขบ้างรู้สึกทุกข์บ้างรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ที่เรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย ย่อมรู้สึกนั่นแหละคุณ.
โก. "ที่เรียกกันว่า "สัญญาๆ (ความจําได้หมายรู้) " ล่ะครับท่าน เขาเรียกว่า "สัญญา" กันด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรครับ
สา. "ที่เรียกกันว่า "สัญญา" (นั้น) นะคุณ ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมจําได้ ย่อมหมายรู้ จําได้หมายรู้อะไรเล่า? ย่อมจําได้หมายรู้สีเขียวบ้าง.. สีเหลืองบ้าง... แดงบ้าง... สีขาวบ้าง. ที่เรียกว่า "สัญญา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมจําได้ ย่อมหมายรู้นั่นแหละคุณ"
ข้อความบางตอนจาก ...
ว่าด้วยกรรมบถ ๑๐
ธรรมชาติ ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิด เพราะไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นผิด โดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่ามีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่ดิ่ง ชื่อว่ามีโทษน้อย. ที่ดิ่ง ชื่อว่ามีโทษมาก.