พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ตติยนิพพานสูตร ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35356
อ่าน  413

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 722

๓. ตติยนิพพานสูตร

ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 722

๓. ตติยนิพพานสูตร

ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้

[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงสดับธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่ เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้ แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 723

ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย กระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่ เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่ง ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ.

จบตติยนิพพานสูตรที่ ๓

อรรถกถาตติยนิพพานสูตร

ตติยนิพพานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ในกาล นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศโทษในสงสารโดยเอนกปริยาย แล้ว ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเกี่ยวด้วยพระนิพพาน โดยการ แสดงเทียบเคียงเป็นต้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศสงสารนี้ พร้อมด้วยเหตุ มีอวิชชาเป็นต้น อันชื่อว่า สเหตุกะ แต่ไม่ตรัสถึงเหตุอะไรๆ แห่งพระนิพพานซึ่งเป็น เหตุสงบสงสารนั้น พระนิพพานนี้นั้นจัดเป็นอเหตุกะ อเหตุกะนั้นจะ เกิดได้ เพราะอรรถว่า มีการกระทำให้แจ้ง และมีอรรถเป็นอย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอรรถนี้ ตามที่กล่าวแล้ว ของภิกษุ เหล่านั้น. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ อัน เป็นเหตุ ประกาศอมตมหานิพพาน อันมีอยู่โดยปรมัตถ์ เพื่อกำจัดความ สงสัยของภิกษุเหล่านั้น และเพื่อหักรานมิจฉาวาทะ ของสมณพราหมณ์ ในโลกนี้ ผู้ปฏิบัติผิด ผู้มีทิฏฐิคติหนาแน่น ในภายนอกทีเดียว เหมือน บุคคลผู้ยึดโลกเป็นใหญ่ว่า คำว่า นิพพาน นิพพาน เป็นเพียงแต่เรื่อง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 724

พูดกันเท่านั้น แต่ความจริง เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ชื่อว่า พระนิพพาน ย่อม ไม่มี เพราะมีการไม่เกิดเป็นสภาวะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง. พระนิพพานชื่อว่า อชาตะ เพราะไม่เกิด คือ ไม่บังเกิด เพราะความพรั่งพร้อมแห่งเหตุ คือการ ประชุมแห่งเหตุและปัจจัย เหมือนเวทนาเป็นเป็นต้น ชื่อว่า อภูตะ เพราะ เว้นจากเหตุ และตนเองเสีย ย่อมไม่มี คือไม่ปรากฏ ได้แก่ ไม่เกิด ชื่อว่า อกตะ เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สร้างขึ้นเพราะไม่เกิด และ เพราะไม่มีอย่างนี้. อนึ่ง เพื่อจะแสดงว่าสังขตธรรมมีนามรูปเป็นต้น มี การเกิด การมี การสร้างขึ้นเป็นสภาวะ พระนิพพานซึ่งมีอสังขตธรรม เป็นสภาวะ หาเป็นเช่นนั้นไม่ จึงตรัสว่า อสงฺขตํ ดังนี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดย ปฏิโลมตรัสว่า สังขตธรรม เพราะถูกปัจจัยอาศัยกันและกันสร้างให้มีขึ้น. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เป็นอสังขตะ เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือเว้นจาก ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. เมื่อภาวะที่พระนิพพานบังเกิดด้วยเหตุมาก มายอย่างนี้ สำเร็จแล้ว เพื่อจะแสดงว่า พระนิพพานไม่มีปัจจัยอะไรๆ แต่งขึ้น ด้วยความรังเกียจว่า พระนิพพานจะพึงมีเหตุอย่างหนึ่ง ตบแต่ง หรือหนอ จึงตรัสว่า อกตํ ไม่ถูกเหตุอะไรๆ ตบแต่ง. แม้เมื่อพระนิพพานไม่มีปัจจัยอย่างนี้ เพื่อจะให้ความรังเกียจว่า พระนิพพานนี้เป็น ขึ้น ปรากฏขึ้นเองหรือหนอ เป็นไปไม่ได้ จึงตรัสว่า อภูตํ. เพื่อจะ แสดงว่า พระนิพพานนี้นั้น ไม่มีปัจจัยปรุง ไม่ได้แต่ง ไม่มีนี้ จะมีได้ เพราะพระนิพพานมีการไม่เกิดเป็นธรรมดา โดยประการทั้งปวง จึงตรัสว่า อชาตํ. บัณฑิตพึงทราบความที่บททั้ง ๔ นี้ มีประโยชน์อย่างนี้แล้ว พึง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 725

ทราบว่า พระองค์ทรงประกาศว่า พระนิพพานมีอยู่ โดยปรมัตถ์ โดย พระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพานนี้นั้นมีอยู่. ก็ในพระสูตรนี้ พึง ทราบเหตุในบท อาลปนะว่า ภิกฺขเว โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง เปล่งจึงตรัสไว้แล้วในหนหลังแล.

ดังนั้น พระศาสดา ครั้นตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพานไม่ เกิด ไม่มี อันปัจจัยอะไรๆ ไม่แต่ง ไม่ปรุง มีอยู่ เมื่อจะทรงเสดงเหตุใน ข้อนั้น จึงตรัสคำว่า โน เจ ตํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

พระบาลีนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอสังขตธาตุ ซึ่งมีสภาวะไม่เกิดเป็นต้น จักไม่ได้มี หรือจักไม่พึงมีไซร้ ความ สลัดออก คือความสงบโดยสิ้นเชิง ซึ่งสังขตะ กล่าวคือขันธ์ ๕ มีรูปเป็น ต้น ซึ่งมีสภาวะเกิดขึ้นเป็นต้น ไม่พึงปรากฏ คือไม่พึงเกิด ไม่พึงมีใน โลกนี้. จริงอยู่ ธรรมคืออริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น อันกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ย่อมตัดกิเลสได้เด็ดขาด. ด้วยเหตุนั้น ใน ที่นี้ ความไม่เป็นไป ความปราศจากไป ความสลัดออกแห่งวัฏทุกข์ ทั้งสิ้น ย่อมปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงพระนิพพานว่า มีอยู่ โดยที่ ภาวะตรงกันข้าม บัดนี้ เพื่อจะแสดงพระนิพพานนั้น โดยนัยที่คล้อยตาม จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข ดังนี้. คำนั้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในที่นี้ เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงอนุเคราะห์แก่ สัตวโลกทั้งมวล จึงทรงแสดงความเกิดมีแห่งนิพพานธาตุ โดยปรมัตถ์ โดยสุตตบทเป็นอเนก มีอาทิว่า ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่เป็นอสังขตะ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในที่ที่ปฐวีธาตุ ไม่มีเลย ฐานะแม้นี้แล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 726

เห็นได้แสนยาก คือ ความสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงอสังขตธรรม และปฏิปทาเครื่องให้ สัตว์ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย และด้วยสูตรแม้นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพาน ไม่เกิด มีอยู่ ฉะนั้น แม้ถ้าวิญญูชน ผู้กระทำไม่ให้ประจักษ์ ในพระนิพพานนั้นไซร้ ก็ย่อมไม่มีความสงสัย หรือความเคลือบแคลงเลย. เพื่อจะบรรเทาความเคลือบแคลงของเหล่าบุคคล ผู้มีความรู้ในการแนะนำ ผู้อื่น ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้. การสลัดออกเป็นปฏิปักษ์ต่อกาม และอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่เวียนซ้าย คือที่มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น ย่อมปรากฏโดยมุข คือการถอนออกจากทุกข์ หรือเพราะกำหนดรู้ อันมี การพิจารณาที่เหมาะสม พระนิพพาน อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมทั้งหมด ซึ่งมีสภาวะเป็นเช่นนั้น คือมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น พึง เป็นเครื่องสลัดออก. ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์นั้น ก็คืออสังขตธาตุ. พึงทราบให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล็กน้อย. วิปัสสนาญาณก็ดี อนุโลมญาณก็ดี ซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ ย่อมไม่อาจจะละกิเลสได้ โดยเด็ดขาด. อนึ่ง ญาณในปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสได้ ด้วยวิกขัมภนปหานเท่านั้น หาละได้ด้วยสมุจจเฉทปหานไม่. ดังนั้น อริยมรรคญาณ อันกระทำการละกิเลสเหล่านั้น ได้เด็ดขาด ก็ พึงเป็นอารมณ์ ซึ่งมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากญาณทั้งสองนั้น เพราะ ญาณซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ และมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ไม่ สามารถในการตัดกิเลสได้เด็ดขาดนั้น ชื่อว่า อสังขตธาตุ. อนึ่ง พระดำรัสที่ส่องถึงบทแห่งพระนิพพาน ซึ่งมีอยู่โดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นอรรถที่ไม่ผิดแผก ดังบาลีนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระ-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 727

นิพพาน ไม่เกิด ไม่มี อันปัจจัยอะไรๆ ไม่แต่ง ไม่ปรุง มีอยู่. จริงอยู่ คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ซึ่งมีอรรถไม่ผิดแผก ดังที่ตรัสไว้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้. อนึ่ง นิพพานศัพท์ มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ตามเป็นจริง แม้ใน อารมณ์บางอย่าง เพราะเกิดมีความเป็นไปเพียงอุปจาร เหมือนศัพท์ว่า สีหะ. อีกอย่างหนึ่ง. พึงทราบอสังขตธาตุว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์ แม้โดย ยุติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะพระนิพพาน มีสภาวะพ้นจากสิ่งที่มี ภาวะตรงกันข้ามนั้น นอกนี้ เหมือนปฐวีธาตุ หรือเวทนา.

จบอรรถกถาตติยนิพพานสูตรที่ ๓