พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. จตุตถนิพพานสูตร ว่าด้วยการตรัสถึงพระนิพพานไม่มีการมาการไป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35357
อ่าน  417

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 727

๔. จตุตถนิพพานสูตร

ว่าด้วยการตรัสถึงพระนิพพานไม่มีการมาการไป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 727

๔. จตุตถนิพพานสูตร

ว่าด้วยการตรัสถึงพระนิพพานไม่มีการมาการไป

[๑๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 728

มีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบจตุตถนิพพานสูตรที่ ๔

อรรถกถาจตุตถนิพพานสูตร

จตุตถนิพพานสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อถ โข ภควา เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ใน กาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเกี่ยว ด้วยพระนิพพาน โดยแสดงการเทียบเคียงเป็นต้น โดยอเนกปริยายแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อันดับแรก พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ ซึ่งมีขันธ์มีอาการเป็นอเนกแห่งอมตมหานิพพานธาตุ จึงทรงประกาศอานุภาพนี้ อันไม่ทั่วไป แก่ผู้อื่น. แต่ไม่ ตรัสอุบายเครื่องบรรลุอมตมหานิพพานธาตุนั้น พวกเรา เมื่อปฏิบัติอยู่ จะพึงบรรลุอมตมหานิพพานนี้อย่างไรหนอ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่งอรรถกล่าวคือภาวะที่ภิกษุเหล่านั้นมี ความปริวิตก ตามที่กล่าวแล้วนี้. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า พระองค์ ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศถึงการบรรลุพระนิพพาน ด้วยการละตัณหา ได้เด็ดขาดด้วยอริยมรรค ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาอันดำเนินไปตาม วิถีจิต ผู้มีกายและจิตสงบระงับ ผู้ไม่อิงอาศัยในอารมณ์ไหนๆ ด้วย อำนาจตัณหา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 729

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสฺสิตสฺส จลิตํ ความว่า บุคคลผู้ ถูกตัณหา และทิฏฐิเข้าอาศัยในสังขารมีรูปเป็นต้น ย่อมหวั่นไหว คือ ย่อมดิ้นรนเพราะตัณหาและทิฏฐิว่า นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นอัตตาของ เรา. จริงอยู่ เมื่อบุคคลผู้ยังละตัณหาและทิฏฐิไม่ได้ เมื่อสุขเวทนาเป็นต้น เกิดขึ้น ไม่อาจจะครอบงำเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นอยู่ มีจิต สันดานดิ้นรนกวัดแกว่ง ดิ้นรนหวั่นไหว อันนำออกแล้ว เพราะให้กุศล เกิดขึ้นด้วยอำนาจการยึดถือตัณหาและทิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า เวทนาของ เรา เราเสวย. บทว่า อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ ความว่า ก็บุคคลใด ดำเนินไปตามวิสุทธิปฏิปทา ย่อมข่มตัณหา และทิฏฐิได้ด้วยสมถะและ วิปัสสนา ย่อมพิจารณาเห็นสังขาร ด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น อยู่ บุคคลนั้น คือ ผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีจิตหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ดิ้นรน ตามที่กล่าวแล้วนั้น เพราะข่มเหตุไว้ได้ด้วยดีแล้ว. บทว่า จลิเต อสติ ความว่า เมื่อจิตไม่มีความหวั่นไหว ตามที่กล่าวแล้วเขาก็ ทำจิตนั้น ให้เกิดความขวนขวายในวิปัสสนา อันดำเนินไปตามวิถีจิต โดยที่การยึดถือตัณหาและทิฏฐิเกิดขึ้นไม่ได้. บทว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า ปัสสัทธิทั้ง ๒ อย่าง อันเข้าไปสงบกิเลส ซึ่งกระทำความกระวนกระวาย กายและจิต ที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาจิต. บทว่า ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ ความว่า เมื่อปัสสัทธิ อันควรแก่คุณวิเศษ ก่อนและหลัง มีอยู่ เธอเจริญสมาธิ อันมีความสุขหามิได้ เป็นที่ตั้งแล้วจึงประกอบสมถะ และวิปัสสนาให้เนื่องกันเป็นคู้ โดยทำสมาธินั้น ให้รวมกับวิปัสสนาแล้ว ทำกิเลสให้สิ้นไปโดยสืบๆ แห่งมรรค ตัณหาอันได้นามว่า นติ เพราะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 730

น้อมไปในกามภพเป็นต้น ไม่มีในขณะแห่งอริยมรรค โดยเด็ดขาด อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้น เพราะให้ถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา

บทว่า นติยา อสติ ความว่า เมื่อไม่มีปริยุฏฐานกิเลส คือ ความ อาลัยและความติด เพื่อต้องการภพเป็นต้น เพราะละตัณหาได้เด็ดขาด ด้วยอริยมรรค. บทว่า อาคติคติ น โหติ ความว่า การมา คือ ความมา ในโลกนี้ด้วยอำนาจปฏิสนธิ การไป คือ การไปจากโลกนี้ สู่ปรโลก ได้ แก่ความละไปด้วยอำนาจจุติ ย่อมไม่มี ได้แก่ ย่อมไม่เกิด. บทว่า อาคติ- คติยา อสติ ความว่า เมื่อไม่มีการมาและการไป โดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า จุตูปปาโต น โหติ ความว่า การจุติและอุปบัติไปๆ มาๆ ย่อม ไม่มี คือ ย่อมไม่เกิด. จริงอยู่ เมื่อไม่มีกิเลสวัฏ กัมมวัฏก็เป็นอันขาดไป ทีเดียว และเมื่อกัมมวัฏนั้นขาดไป วิปากวัฏจักมีแต่ที่ไหน ด้วยเหตุนั้น นั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ โลกนี้และโลกหน้า ก็ไม่มี ดังนี้เป็นต้น. คำที่ควรกล่าวในข้อนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในพาหิยสูตร ในหนหลังนั่นแล. เพราะฉะนั้น พึงทราบ ความ โดยนัยดังกล่าวแล้วในพาหิยสูตรนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน อันเป็นเหตุสงบทุกข์ในวัฏฏะได้โดยเด็ดขาด ด้วยสัมมาปฏิบัติ แก่ภิกษุ เหล่านั้น ในพระศาสนาแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจตุตถนิพพานสูตรที่ ๔