นั่งในที่สมตวรส่วนข้างหนึ่งคืออย่างไรค่ะ

 
udomjit
วันที่  23 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4078
อ่าน  1,105

เคยฟังเทปธรรมะท่านอาจารย์สุจินต์ เรื่องพระสาวกเวลาเข้าไปพบพระพุทธเจ้าจะเข้าไปที่สมควรส่วนข้างหนึ่งค่ะ ท่านกรุณาแสดงไว้โดยละเอียดค่ะ แต่ค้นกลับไปหาไม่พบ ขอความกรุณาคำตอบค่ะ

อีกข้อหนึ่งคือ ถูกเพื่อนๆ Anti เรื่องศึกษาพระธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะเวลาศึกษาอภิธรรม เพื่อนๆ มักบอกว่าไม่ถูกทาง ทำไมไม่ปฏิบัติธรรมอย่างเพื่อนๆ เช่นไปนั่งสมาธิ ไปอบรมเนกขัมมะ ไปเจริญสติตามสำนักต่างๆ ควรอธิบายพวกเขาอย่างไร ดีจึงจะเหมาะควรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 24 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

สำหรับเรื่องการศึกษาควรอธิบายให้เขาทราบว่าเราจะศึกษาธรรมะตามลำดับ ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างไร การปฏิบัติธรรมหรือเนกขัมมะตามคำสอนที่ถูก และตรงคืออย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

นั่งที่ในสมควร ในที่เหมาะสม เป็นการแสดงความเคารพพระศาสดาด้วยค่ะ

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

นั่งบนอาสนะต่ำ [โคตมดาบส]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การนั่งในที่สมควรเป็นการเคารพผู้แสดงธรรมและเคารพพระธรรม และเมื่อนั่งด้วยความเหมาะสมแล้ว ย่อมไม่เป็นการลำบากกับผู้แสดงธรรมและผู้ฟังพระธรรมครับรวมทั้งกิริยาที่เหมาะสมเมื่อฟังพระธรรม ก็เป็นสิ่งที่สมควรเพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่ชื่อว่าเคารพพระธรรม พระธรรมเป็นสิงที่ประเสริฐ แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพพระธรรมเช่นกัน ดังนั้น กิริยาการนั่ง การประพฤติเมื่อฟังพระธรรมจึงต้องให้เหมาะกับสิ่งที่ประเสริฐครับ

เรื่อง เมื่อนั่งในที่ไม่สมควร ชื่อว่าไม่เคารพธรรม ผู้ที่แสดงธรรมย่อมไม่แสดงธรรม

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

เมื่อนั่งในที่ไม่สมควร ชื่อว่าไม่เคารพธรรม [เวรหัญจานีสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

เรื่อง ตัวอย่างของผู้ที่เคารพและไม่เคารพ ในผู้แสดงและพระธรรม ด้วยกิริยาต่างๆ

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ผู้ที่เคารพและไม่เคารพในผู้แสดงพระธรรม [อารัญญกสูตร]

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อีกข้อหนึ่งคือถูกเพื่อนๆ Anti เรื่องศึกษาพระธรรมอย่างมากโดยเฉพาะเวลาศึกษาอภิธรรม เพื่อนๆ มักบอกว่าไม่ถูกทาง ทำไมไม่ปฏิบัติธรรมอย่างเพื่อนๆ เช่นไปนั่งสมาธิไปอบรมเนกขัม ไปเจริญสติตามสำนักต่างๆ ควรอธิบายพวก เขาอย่างไรดีจึงจะเหมาะควรคะ?

ถ้าไม่ฟังให้เข้าใจแล้ว ปฏิบัติก็ผิด และต้องเริ่มศึกษาก่อนว่า ธรรมคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาอะไร เพราะไม่เข้าใจว่าอะไรคือธรรม เมื่อเข้าใจว่าธรรม คืออะไรแล้ว ธรรมก็อยู่ในขณะนี้เอง ไม่ต้องไปหาที่ไหน และเลือกท่า (นั่ง) ที่จะหาธรรม และที่สำคัญ ปฏิบัติคืออะไร ธรรมปฏิบัติ หรือเราปฏิบัติ ถ้าเป็นธรรมปฏิบัติ (ปัญญา) และปัญญาขั้นปฏิบัติจะมีได้อย่างไร ถ้าไม่เริ่มจากการฟังให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไร

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
natnicha
วันที่ 25 มิ.ย. 2550

นานแล้วเคยนำเทปและหนังสือของอาจารย์สุจินต์มาให้กับพี่ที่ทำงาน และเพื่อนที่เขาชอบไปวัดได้ลองฟังดู แต่พวกพี่และเพื่อนเขาดูจะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ บางคน อ่านหนังสือแล้วบอกว่ายากไป บางคนบอกว่าง่วงนอนดูเหมือนว่าต้องเป็นพระอาจารย์ หรือไม่ก็พระชั้นผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงหรือมีญาณวิเศษ ถึงจะให้ความสนใจเคารพนับถือ บางครั้งรู้สึกเสียดายอยากจะทวงคืน แต่ก็ไม่ได้ทำ เพราะคิดว่าถ้าเขามีโอกาสอาจจะ หยิบเอาขึ้นมาดูมาฟังอีก ฟังอาจารย์สุจินต์บรรยายมาหลายปี ถึงแม้จะจำคำศัพท์บาลี ไม่ค่อยได้ จิตมีกี่ดวงก็ยังจำไม่ได้เลย แต่ยิ่งฟัง ความเข้าใจก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนอย่างที่อาจารย์มักจะบอกเสมอว่า ให้ฟังบ่อยๆ บางครั้งเกิดอกุศลจิต แต่พอได้มาฟัง คำบรรยายของท่านอาจารย์แล้วก็เหมือนช่วยเตือน ทำให้คิดได้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
udomjit
วันที่ 25 มิ.ย. 2550

ขอบคุณอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ย. 2565

ใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ชัมพุขาทกสังยุตต์ มีข้อความว่า

สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม ในแคว้นมคธ คนละที่คนละแห่ง ในสูตรก่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ในแคว้นวัชชี แต่ในคราวนี้ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม ในแคว้นมคธ

ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ได้ปราศรัยแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ท่านผู้ฟังก็คงจะได้ผ่านพยัญชนะในพระสูตรบ่อยๆ ในเรื่องของนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นั่งอย่างไรจึงจะชื่อว่านั่งในที่สมควร มีคำอธิบายว่า

นั่งเว้นจากโทษแห่งการนั่ง ๖ ประการ คืออย่างไร คือ

นั่งไกลเกินไป ๑

เพราะเหตุว่า เวลาพูดกันก็ต้องตะโกน หรือว่าต้องใช้เสียงดังถ้านั่งไกลกัน

นั่งใกล้เกินไป ๑

เวลานั่งใกล้ ชิด เบียด เสียดสี ก็ทำให้เกิดความรำคาญ นั่นก็เป็นโทษของการนั่งใกล้เกินไป

นั่งเหนือลม ๑

นี่เป็นเรื่องการลำบากด้วยกลิ่น

นั่งในที่สูง ๑

เป็นการแสดงความไม่เคารพ

นั่งตรงหน้าเกินไป ๑

คือ เวลาที่อยากจะดูหน้า ถ้านั่งเสียตรงหน้าทีเดียวท่านกล่าวว่า ก็จะต้องตาจรดตา หมายความว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย จะไปมองส่วนไหนก็ไม่ได้เพราะนั่งเสียตรงหน้า จะต้องตาจรดตาทีเดียว

โทษอีกประการ ๑ คือ นั่งข้างหลังเกินไป

เพราะเหตุว่า เวลาที่อยากจะดู ก็ต้องเอี้ยวไปดู

เพราะฉะนั้น ในพระสูตรก็จะมีเรื่องของการนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเสมอๆ คือ นั่งเว้นจากโทษ ๖ ประการ


ที่มา ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 78

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 15 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ