ปรารภ คืออะไร ปรารถความเพียรคืออะไร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4082
อ่าน  14,532
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ปรารถ คือ เริ่มต้น ริเริ่ม ปรารถความเพียร คือ ขณะที่เพียร ชื่อว่าปรารถความเพียร หมายถึง ความขยัน ไม่เกียจคร้านในการเจริญกุศล ไม่เห็นแก่นอน คำอธิบายวิริยะหรือความเพียรจากพระไตรปิฎก ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

[๒๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะอินทรีย์คือ วิริยะ วิริยพละ สัมมา.วายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ในสมัยนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 47

ข้อความบางตอนจากอปัณณกสูตร

ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอนอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ๔ ด้วยการจงกรม ๕ ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตอนยามกลาง สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวาซ้อนเท้าให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา ไว้ในใจ ตอนยามปลาย กลับลุกขึ้นชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ปรารภ คืออะไร ปรารภความเพียรคืออะไร

ความเพียร หรือวิริยเจตสิก (ต้องเข้าใจอภิธรรมจะทำให้เข้าใจพระสูตรถูกต้อง) วิริยเจตสิก เกิดกับจิตเกือบทุกดวง เป็นปกิณณกเจตสิก ดังนั้น เพียรทุกอย่างดี ถ้าไม่มีปัญญาครับ เพียรที่เป็นไปในอกุศล เพียงปฏิบัติโดยไม่เข้าใจหนทางเพียรปฏิบัติผิด ควรเพียรไหม ชื่อว่าปรารภความเพียรโดยนัยที่พระพุทธเจ้าแสดงหรือเปล่า ไม่แน่นอนครับ เพราะขณะนั้นเป็นอกุศลและไม่มีปัญญา ขณะที่อ่านธรรมในเว็ปอยู่ มีความเพียรไหม มีครับ วิริยเจตสิกเกิดกับจิตเกือบทุกดวง ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ มีความเพียรไหม มีครับ แต่เพียรด้วยความเป็นอกุศลเพราะไม่เข้าใจ ขณะอ่านแล้วเข้าใจ มีความเพียรไหม มีครับ เป็นไปในความเห็นถูกเป็นวิริยเจตสิกที่เกิดกับกุศลครับ ประการที่สำคัญที่สุดที่ต้องย้ำคือ ทุกอย่างเป็นธรรม วิริยะหรือความเพียร เป็นธรรม หรือเป็นเรา เป็นธรรม เมื่อเป็นธรรม ถามว่า มีตัวตนที่จะไปทำความเพียรอะไรหรือเปล่า ไม่มีครับแต่เป็นหน้าที่ของธรรมนั้นเองที่ทำความเพียร จึงไม่ต้องไปพยายามว่า ต้องปรารภความเพียรนะ พยายามเพียรด้วยความป็นตัวตน ทั้งๆ ที่วิริยเจตสิกก็เกิดกับจิตเกือบทุกดวงอยู่แล้ว ก็เพียรอยู่แล้ว แม้ขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็มีวิริยเจตสิกเกิดด้วย ก็มีการปรารภความเพียร แล้วที่ระลึกลักษณะของสภาพธัมมะว่าไม่ใช่เรา โดยไม่ต้องไปมีตัวตนอีกทีที่จะเพียรครับ

สรุปก็คือ วิริยเจตสิกความเพียร ตามที่มูลนิธิยกมาในพระสูตร และอภิธรรมนั้นมีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ถ้าการปรารภความเพียรจึงเป็นการอบรมวิปัสสนา (สติปัฏฐาน) ซึ่งก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยและต้องมีความเข้าใจถูก (มีปัญญา) ไม่ใช่จะเพียรอย่างเดียวครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 25 มิ.ย. 2550

ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็ชื่อว่าปรารถความเพียร ปรารถความเพียร เริ่มต้นด้วยความไม่ประมาทในการฟังธรรม ไม่ประมาทในการเจริญกุศล เพราะคิดว่าเรายังมีชีวิตอยู่อีกนาน แต่ความจริงไม่นานก็ต้องจากโลกนี้ไป พระพุทธเจ้าสอนให้ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
WS202398
วันที่ 26 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ อัศจรรย์นัก ในคำอธิบายที่แจ่งแจ้ง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Komsan
วันที่ 6 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 15 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ