จิปาถะ ครับ

 
WS202398
วันที่  22 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4072
อ่าน  1,164

ดำริ คืออะไรหนอ

ปรารถ คืออะไร ปรารถความเพียรคืออะไร

เจตสิกใดบ้างหนอ ที่เกิดพร้อมกันไม่ได้ เป็นศัตรูกัน

อันว่าลักษณะไม่ปรากฏเพราะไม่มนสิการอะไรหนอ (ไตรลักษณ์ตามแนววิสุทธิมัค)

เหตุใดจึงกล่าวว่ามนสิการ ไม่กล่าวว่าระลึกรู้ (สติ) หรือมนสิการเพื่อให้เกิดสติ หรือ การเห็นไตรลักษณะ เห็นได้ด้วย การมนสิการ

อนิจจลักษณะ ด้วยว่า มีแล้วไม่มี สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ทุกขลักษณะ) หมายเล็งถึงการบีบคั้น สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าจะกล่าวโดยนัยสติปัฎฐาน ลักษณะของมีแล้วไม่มีก็คือ รูปปรากฏแล้วไม่ปรากฎ เห็นรูปปรากฏแล้ว ไม่เห็นรูป ฯ ส่วนทุกขลักษณะจะปรากฏในลักษณะเช่นใดในสติปัฏฐาน อาทิ ทุกขเวทนาปรากฏแล้ว ก็ทุกขเวทนานั้นเองที่มีทุกขลักษณะ คือบีบคั้น อะไรเล่าบีบคั้น บีบคั้นใคร บีบคั้นรูปธรรมนามธรรมอื่นๆ หรือ ถ้าเป็นปัญญาระดับคิดนึกก็อาจเห็นได้ว่าวัตถุมีความเค้นความเครียดคือ มีแรงกดดันหรือคนมีความบีบคั้นด้วยอำนาจภายในภายนอกต่างๆ แต่ถ้าเป็นปัญญาระดับสติปัฏฐาน ทุกขลักษณะย่อมไม่ปรากฏแบบคิดนึกแน่ ขอถามแต่นี้ก่อนครับในประเด็นนี้

ผมและอีกหลายคนอาจเป็นเหมือนกัน ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าต้องไปปฏิบัติที่นั่น ที่นี่ หรือ

สงสัยว่าจะเจริญสติทุกเวลานั้นได้อย่างไร

ส่วนตัวผมมีประสบการณ์คือ เมื่อเกิดสติก็จะรู้ว่าตัวเองขาดสติมากมายเมื่อเทียบกับขณะไม่มีสติ ความอยากก็แทรกแซง (อย่างละเอียด) ความเพ่ง ความตั้งใจอย่างยิ่ง ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆ สมาธิน้อยๆ เป็นการจ้อง แต่คงเป็นมิจฉาสมาธิ และมีลักษณะของโมหะเกิดร่วมด้วย มีความไม่รู้เกิดร่วมด้วย เป็นลักษณะไม่แจ่มแจ้ง ยิ่งเพ่งก็ยิ่งไม่รู้ สำหรับผมแม้นว่าจะโดยปริยัติจะเชื่อว่าสติเกิดร่วมด้วยได้ทุกเวลาโดยไม่ทำให้นามรูปอื่นที่เกิดร่วมด้วยผิดปกติไป จนไม่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ด้วยความหลงนั้นทำให้บางครั้ง ผมก็อยากจะถามว่าสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับจิตใดแล้ว จะทำให้ชีวิตประจำวันจะเป็นอย่างไรหนอ

ถ้าจะพูดถึงความยากนั้น บางคนที่ผมอยากให้ได้รู้ได้ยินอย่างนี้บ้าง เขาก็ทำนองว่ารู้แล้ว หรือไม่เห็นคุณค่าว่าจะดีกว่าที่เขาคิดว่าได้รู้มาแล้วอย่างไร ในส่วนตัวผม อย่าว่าปัญญาระดับสติปัฏฐานเลยครับ ระดับคิดนึก ระดับพยัญชนะ ก็ยังไม่แจ่มแจ้งแทงตลอด บางครั้งพยัญชนะที่ผมคิดว่าเข้าใจแล้วโดยความจำได้กล่าวได้จริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้เข้าใจจริงๆ โดยทดสอบจากเวลาที่มีคนให้อธิบาย หรือเวลามีปัญหา ไม่สามารถตอบปัญหานั้นด้วยตนเองได้ ทั้งๆ ที่ คำตอบก็คือส่วนที่ได้จำได้กล่าวได้แล้วนั่นเอง และเมื่อก้าวสู่สติปัฏฐานก็ไม่ต้องพูดถึงว่า จะมีความไม่ รู้ความสงสัย ความติดขัดมากน้อยเท่าใด

สำหรับผมเห็นว่าปริยัติที่ถูกต้อง ชัดเจน ละเอียด กว้างขวาง จะช่วยได้มาก เพราะผมคิดว่าจริงอยู่หากสงสัยก็ถามกัลยาณมิตรได้ และก็มีอยู่ที่นี่แต่สภาพธรรมมีนับไม่ถ้วนถ้าถามเรื่อยไป ก็คงไม่ไหว ขอแสดงความคิดเห็นไว้เท่านี้ครับ

ท่านใดมีอะไรแนะนำ ก็ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 24 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 24 มิ.ย. 2550

ดำริ หมายถึง การตรึกหรือคิดที่จะออกจากกาม คิดจะไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียน ฯลฯ

ปรารถความเพียร คือ เพียรที่จะทำกุศล เพียรละอกุศล เพียรรักษากุศลไม่ให้เสื่อม

เพียรอบรมปัญญา ฯลฯ อกุศลเจตสิก ไม่เกิดร่วมกับกุศลเจตสิก กิเลส ไม่เกิดร่วมกับ ปัญญา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 19 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ