รู้เย็นร้อน อ่อน แข็ง

 
rungroj_cmu
วันที่  20 มี.ค. 2550
หมายเลข  3133
อ่าน  2,760

อยากทราบว่า ทำไมจึงต้อง รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 มี.ค. 2550


อยากทราบว่า ทำไมจึงต้องรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง?

ปัญหาข้อนี้ คิดได้ 2 ประเด็น เพราะ 1. จำเป็นอย่างไร ที่จะต้องรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง 2. เลือกที่จะ รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ข้อ1 จำเป็นอย่างไร ที่จะต้องรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธัมมะ ธัมมะอะไร ก็คือ สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน เช่น เย็น ร้อน..แข็ง เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วตรัสรู้อย่างไร คือ รู้ว่าเย็น ร้อน..แข็งเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา แต่เราสำคัญแข็งที่ กาย ว่าเป็น แขนบ้าง มือ หรือ เป็นโต๊ะ สำคัญว่า มีสัตว์บุคคล ตัวตน อะไรรู้ ปัญญารู้ รู้โดยการคิดเหรอ ไม่ใช่ รู้ด้วยการประจักษ์ โดยเริ่มจากการฟังเรื่อง เย็น..แข็ง ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันนี่แหละว่า ไม่ใช่เรา ดังนั้น จำเป็นอย่างไร ที่จะต้องรู้เย็น..แข็ง จำเป็น เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะยึด เย็น..แข็ง ว่าเป็นเรา แต่ถ้ารู้ แข็ง (ด้วยปัญญา) ว่า เป็นธัมมะ ก็สามารถดับกิเลส เป็นพระอริยบุคคลได้ เพราะรู้ว่า เป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา รู้ในสิ่งที่มีจริง นั่นเอง เช่น เย็น..แข็ง

ข้อ 2. เลือกที่จะรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง

การที่จะรู้ เย็น..แข็ง คำว่า รู้ ในที่นี้ เป็นชื่อของปัญญา (ขั้นสติปัฏฐาน) ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนั้น แม้ สติ (สติปัฏฐาน) ก็เป็นอนัตตาด้วย ไม่สามารถที่จะไปเลือกรู้สภาพธัมมะใดก่อนได้เลย แล้วแต่สติ เมื่อเข้าใจความเป็นอนัตตา ตั้งแต่ต้นก็สามารถอบรมสติปัฏฐาน ได้ถูกต้องครับ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
panee.r
วันที่ 21 มี.ค. 2550

สำหรับผู้ที่สนใจ ศึกษาพระธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ คือสิ่งที่มีจริง ซึ่งจากการศึกษาเราทราบว่า สภาพ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เป็น รูปธรรมชนิดหนึ่ง ที่มีจริง และรู้ได้ทางกาย ดังนั้นถ้าไม่รู้ เย็น ร้อน ..........ซึ่งเป็นรูปหยาบ สามารถรู้ได้ง่ายกว่า สภาพธรรมประเภทอื่น เช่น สุขุมรูป ฯลฯ แล้วควรจะ "รู้" สภาพธรรมอะไร?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 21 มี.ค. 2550

อะไรรู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไม่ใช่เราที่ รู้ แต่เป็นนามธรรม ที่รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ซึ่งเป็นรูป และเป็นการรู้สภาพธรรมะ ทางกาย ธาตุรู้ หรือนามธรรม ที่รู้นั้นคือ กายวิญญาณจิต ซึ่งสามารถรู้รูป ที่เป็นมหาภูตรูปได้ 3 รูป คือ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) เป็นรูปที่ แข็งหรืออ่อน ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) เป็นรูป ที่ร้อนหรือเย็น นอกจากนั้น นามธรรมที่รู้รูป ทางกาย ยังสามารถรู้รูป ที่เป็นธาตุลม (วาโยธาตุ) คือ รูปตึง หรือไหว

มหาภูตรูปมี 4 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ (ธาตุลม) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ไม่สามารถรู้ได้ทางกาย (กายวิญญาณ)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 21 มี.ค. 2550
ทั่วโลก ที่รบกันฆ่าฟันกัน ก็เพราะแย่งธาตุดิน ธาตุอ่อน ธาตุแข็ง ก็เพราะอวิชชาความไม่รู้ จึงทำให้เรายึด ธาตุอ่อน ธาตุแข็งว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pirmsombat
วันที่ 21 มี.ค. 2550

รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตีง ไหว เป็น ปรมัตถธรรม ที่ปรากฎทางกาย ซึ่งต้องอบรมเจริญปัญญา เพื่อให้รู้ว่า ไม่ใช่สี่งหนึ่งสี่งใด ไม่ใช่เรา ธรรมดา เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว กระทบกายปสาท ปรากฎทางกายทวาร เกิดแล้วดับทันที แล้วคิดนึกก็จะตามมาทันที ทำให้รู้ว่าเป็นสี่งหนึ่งสี่งใดหรือเป็นเรา คือ รู้ว่าเป็นบัญญัติและบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ ทำให้ยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ บุคคล เมื่อสติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมคือ เย็น ร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว เนืองๆ บ่อยๆ ปัญญาจะค่อยๆ เพี่มขึ้น รู้ว่า ขณะใดเป็นปรมัตถ์ ขณะใดเป็นบัญญัติ แยกโลกออกเป็นแต่ละทวาร จึงจะรู้ปรมัตถ์ได้ อบรมเจริญสติปัฎฐาน ไปเรื่อยๆ จนปัญญาค่อยๆ เพี่มขึ้นๆ ดังนั้น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เป็นอารมณ์ของสติปัฎฐาน ที่จะต้องอบรม ไปเรื่อยๆ จนบรรลุมรรคผล นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
medulla
วันที่ 21 มี.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ