การใส่บาตรพระสงฆ์

 
lada
วันที่  29 ต.ค. 2561
หมายเลข  30214
อ่าน  1,305

เคยมีคนบอกว่าถ้าใส่บาตรแล้วนั่งยองๆ หรือนั่งกับพื้นเพื่อรอรับพรจากพระสงฆ์ แบบนี้ทำให้พระรูปนั้นที่รับของจากเราอาบัติ เป็นความจริงหรือไม่คะ อย่างนี้เราจะได้บุญน้อยลงไหมคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ต.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระที่ท่านเดินบิณฑบาต เมื่อคฤหัสถ์ถวายอาหารเสร็จแล้วให้พร คือ การแสดงธรรมแต่มุ่งแสดงธรรมเพื่อประจบ เพื่อให้ตระกูลรักไม่ถูกต้อง และแม้แสดงธรรม (ให้พร) คือการกล่าวอนุโมทนากถา แสดงธรรม การเคารพธรรมเป็นสิ่งที่สมควรเพราะพระธรรมเป็นสิ่งที่เลิศ การแสดงธรรมจึงต้องอยู่ในอิริยาบถที่สมควรสำหรับผู้แสดงและผู้ที่ฟัง ครับ ดังนั้น การที่พระท่านยืนให้พร แสดงธรรม แต่ผู้ฟังนั่งรับพร หรือ ฟังพระธรรม ขณะนั้นพระภิกษุชื่อว่าไม่เคารพพระธรรม เพราะพระภิกษุอยู่ในอิริยาบถที่สูงกว่า สบายกว่า ไม่ควรแสดงธรรมกับบุคคลที่มีอิริยาบถต่ำกว่า คือ คนที่ถวายบิณฑบาตนั่ง แต่พระภิกษุยืนแสดงธรรมในขณะนั้น เท่ากับว่าพระภิกษุรูปนั้นไม่เคารพธรรม ต้องอาบัติทุกกฎที่แสดงธรรมในขณะนั้นครับ แต่ถ้าท่านให้พรแสดงธรรมอยู่ เรายืนฟังพระธรรมในขณะนั้นท่านไม่ต้องอาบัติทุกกฎในเรื่องการไม่เคารพธรรมครับ เพราะอยู่ในอิริยาบถที่สมควรแล้วทั้งสองฝ่ายในการแสดงและฟังพระธรรมครับ

ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[๘๗๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ (กลุ่มภิกษุไม่ดี) ยืนแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่. . .

พระอนุบัญญัติ

๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดง ธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.

สิกขาบทวิภังค์

อันภิกษุผู้ยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใด อาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.


ดังนั้น ทางที่ดีเมื่อเราใส่บาตรเสร็จก็บอกท่านว่าไม่ต้องให้พรก็ได้ เพราะการแสดงธรรมก็ควรหาที่ทีเหมาะสม ไม่ใช่ตามละแวกบ้าน หากเหตุไม่จำเป็นครับ และหากท่านจะให้พรแสดงธรรมจริงๆ ตรงนั้น ควรยืนไม่ควรนั่ง ท่านก็จะไม่ต้องอาบัติทุกกฎในเรื่องการไม่เคารพธรรมครับ และที่สำคัญการที่บุคคลทั้งหลายใส่บาตรแล้วจะได้บุญมากๆ เพราะได้รับพรครับ เพราะพรคือความดีของบุคคลนั้นเองที่กระทำอยู่ อันมีกุศลประการต่างๆ ซึ่งขณะที่ใส่บาตรบุญก็สำเร็จแล้ว ให้พรตัวเองแล้ว ไม่ต้องไปรับพรเพื่อได้บุญอีกครับ หากหวังการฟังพระธรรมก็ควรหาที่ที่เหมาะสมและเป็นผู้เคารพธรรมตั้งใจฟังและอยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสมทั้งผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

พระภิกษุให้พรตอนเราใส่บาตรผิดวินัยหรือไม่?

อยากทราบเรื่องพระวินัยที่ห้ามพระท่านแสดงธรรมขณะที่ใส่บาตร

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ประสาน
วันที่ 30 ต.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
lada
วันที่ 30 ต.ค. 2561

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 31 ต.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

นี่เป็นเหตุผลอันสำคัญที่คฤหัสถ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาพระวินัย คือ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่นำมาซึ่งโทษแก่ใครๆ เลย มีแต่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนเอง และ แก่ผู้อื่น ด้วย สำหรับประเด็นเรื่องการให้พรของพระในขณะที่ออกรับบิณฑบาตในตอนเช้า ก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้ศึกษาพระวินัยอย่างถูกต้องแล้ว จะเข้าใจว่า การให้พรของพระนั้น เป็นการแสดงธรรม ถ้าแสดงธรรมแก่ผู้มีอิริยาบถที่สบายกว่า เป็นการไม่เคารพธรรม และในขณะที่บิณฑบาต ถ้าพระส่งเสียงดังในระแวกบ้าน ก็เป็นอาบัติสำหรับพระภิกษุ ด้วยเมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว คฤหัสถ์ผู้มีปัญญา ก็จะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นเหตุให้พระท่านต้องอาบัติ ก็สามารถเกื้อกูลพระภิกษุได้ เป็นการป้องกันไม่ให้ท่านต้องอาบัติในข้อนี้ได้ด้วยการกราบเรียนท่านว่าไม่ขอรับพร (เพราะคำที่พระท่านกล่าวนั้น เป็นธรรม แปลความได้ว่า ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณ สุข พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้ มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์ ซึ่งเป็นการให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของกุศลธรรม ว่าให้ผลเป็นสุขเท่านั้น) ความเข้าใจจะเจริญขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ไม่ขาดการฟังพระธรรม

และที่น่าพิจารณาประการหนึ่ง คือ การให้ทาน หรือ ทานกุศล นั้น ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้รับ ขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย ครับ.

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kullawat
วันที่ 31 ต.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Selaruck
วันที่ 8 พ.ย. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ