พลังจิต

 
มานพ
วันที่  21 ธ.ค. 2559
หมายเลข  28463
อ่าน  7,161

กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างยิ่งครับ

ผมเคยเห็นในทีวีหรือในวีดีโอผมจำไม่ค่อยได้แต่ในนั้นเขาจะทำพิธีเขาเรียกว่าเสกเป่าคาถาและใช้ พลังจิต ด้วย และเขาใช้มีด กรีด หรือ ใช้ฟัน ก็ไม่เข้า ผมอยากรู้ว่า มิจฉาสมาธิ มีพลังได้มากด้วยหรือครับ

และผมได้ยินมาว่า พวก เครื่องราง เช่น ตะกรุด เหรียญหลวงปู่หลวงพ่อเป็นต้น เขาจะใช้ พลังจิต คือทำสมาธินี่แหละครับ ซึ่งเขาจะเอาพลังจิตไว้กับ วัตถุต่างๆ นี่แหละครับ คือในเมื่อจิตเกิดดับเร็วมาก แล้วทำไมเขาถึงใช้ พลังจิตไปไว้ที่วัตถุได้ครับ และมิจฉาสมาธิ มีพลังมากด้วยหรือครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ธ.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พลังจิต โดยทั่วไปของชาวโลก ก็คือ การทำจิตให้มีกำลัง สามารถทำสิ่งต่างๆ โดยอาศัยการฝึกอบรมจิต เช่น การทำให้วัตถุเคลื่อนไหว ด้วยการฝึกสมาธิ จดจ้องอยู่กับสิ่งนั้น จึงชื่อว่า ใช้พลังจิต คือ จิตมีพลัง เพราะการฝึกอบรมจิต ทำให้สามารถทำสิ่งต่างได้ โดยไม่ต้องอาศัย ร่างกาย เพียงใช้จิตเท่านั้น

แต่ในสัจจะ ความจริงของพระพุทธศาสนานั้น ก็ต้องพิจารณาไปทีละคำ และความเกี่ยวพันกันของสภาพธรรมครับ เช่น คำว่า จิต จิตไม่ได้มีพลัง ที่เป็นกระแสแม่เหล็กตามที่ชาวโลกเข้าใจกัน แต่ จิต เป็นเพียงสภาพรู้เท่านั้น ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการรู้ รู้สิ่งต่างๆ และเกิดขึ้นและดับไป มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น แต่จิต มีหลายประเภท จิตที่ดี ที่เป็นกุศลก็มี จิตที่ไม่ดี เป็นอกุศลก็มี และแม้จิตที่ดี ก็ยังแบ่งเป็นจิตหลายประเภท เช่นกุศลขั้นต่ำ และกุศลขั้นสูง

ซึ่งเมื่อได้ศึกษาพระธรรมโดยละเอียด ก็จะรู้ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้น โดยมากก็มีรูปเกิดขึ้นร่วมด้วย เป็นจิตตชรูป ดังนั้น รูปที่ดี ประณีตก็ต้องเกิดจากกุศลจิต ยิ่งกุศลจิตที่ดี ประณีตเท่าไหร่ รูปที่ดี ก็ประณีต ก็ดีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น กุศลบางประการ ที่เป็นกุศลที่มีกำลังก็เป็น จิตที่มีกำลัง เป็น มหัคคตจิต คือ จิตที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นฌานจิต ดังนั้น เมื่อจิตที่อบรมดีแล้ว ด้วยการเจริญสมถภาวนา (ไม่ใช่สมาธิ เพราะสมาธิมีทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ) ย่อมทำให้จิตมีกำลังด้วยอำนาจของกุศลจิตที่เกิดบ่อยๆ จนได้ฌานและประกอบด้วยปัญญา เมื่อได้ฌานสูงสุดและอบรมคล่องแคล่ว ชำนาญย่อมเป็นผู้สามารถทำฤทธิ์ต่างๆ เพราะอาศัยจิตที่มีกำลัง ที่เป็นกุศลนะครับ และประกอบด้วยปัญญาถึงฌานสูงสุด ทำให้เกิดรูปที่ละเอียดที่ดี ทำให้หายตัวได้ เดินผ่านกำแพงก็ได้ เป็นต้นครับ ดังนั้น จะเรียกว่า พลังจิตก็ได้ ที่เป็น อภิญญาจิต ที่อบรมฌานสูงสุดจนสามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่ต้องเป็นการอบรมสมถภาวนา คือ มีปัญญารู้ว่าจะอบรมกุศลให้เกิดต่อเนื่องอย่างไร และอบรมจนได้ฌานสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก เพราะต้องเป็นผู้ที่สะสมปัญญาและอัธยาศัยในด้านนี้จริงๆ ดังนั้น พลังจิตที่ชาวโลกเข้าใจ จึงไม่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพราะไม่เข้าใจว่า จิตเป็นเพียงสภาพรู้ และเข้าใจว่า ต้องทำสมาธิ ฝึกจิต โดยไม่เข้าใจว่า ต้องเป็นการเจริญสมถภาวนา ที่เป็นการเจริญกุศลประกอบด้วยปัญญา ชื่อว่าเป็นการฝึกจิต จนจิตมีกำลัง มีกำลัง เพราะเป็นกุศล ประกอบด้วยปัญญานั่นเองครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 21 ธ.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่ทำตะกรุด เครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นไปด้วยอกุศลจิต และ มีความตั้งมั่นที่เป็นอกุศลไม่ใช่กุศลจิต ถ้าเป็นกุศลจิตแล้ว จะไม่ทำในสิ่งที่กล่าวถึงเลย เพราะเป็นดิรัจฉานวิชา เป็นสิ่งที่ขวางสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน ทำให้คนหลงงมงาย ทำให้คนออกจากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นแล้ว เรื่องของจิต จึงเป็นเรื่องที่ละเอียด และมีความหลากหลายมากตามสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย คือ เจตสิกประเภทต่างๆ ถ้าเป็นอกุศล ก็มีกำลังทางฝ่ายอกุศล แต่ถ้าเป็นกุศล เป็นความเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ก็มีกำลังทางฝ่ายกุศล ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ประโยชน์ของการมีโอกาสได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม คือ เข้าใจความเป็นจริงของธรรม ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
มานพ
วันที่ 21 ธ.ค. 2559

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 22 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Lertchai
วันที่ 22 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
p.methanawingmai
วันที่ 22 ธ.ค. 2559

กราบอนุโมทนาในการให้ความเข้าใจที่ถูกต้องค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 23 ธ.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Tommy9
วันที่ 23 ธ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
lokiya
วันที่ 23 ก.พ. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
one_someone
วันที่ 7 พ.ย. 2563

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 2 โดย khampan.a

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่ทำตะกรุด เครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นไปด้วยอกุศลจิต และ มีความตั้งมั่นที่เป็นอกุศลไม่ใช่กุศลจิต ถ้าเป็นกุศลจิตแล้ว จะไม่ทำในสิ่งที่กล่าวถึงเลย เพราะเป็นดิรัจฉานวิชา เป็นสิ่งที่ขวางสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน ทำให้คนหลงงมงาย ทำให้คนออกจากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นแล้ว เรื่องของจิต จึงเป็นเรื่องที่ละเอียด และมีความหลากหลายมากตามสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย คือ เจตสิกประเภทต่างๆ ถ้าเป็นอกุศล ก็มีกำลังทางฝ่ายอกุศล แต่ถ้าเป็นกุศล เป็นความเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ก็มีกำลังทางฝ่ายกุศล ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ประโยชน์ของการมีโอกาสได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม คือ เข้าใจความเป็นจริงของธรรม ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

เครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นไปด้วยอกุศลจิต และ มีความตั้งมั่นที่เป็นอกุศล

ไพเราะและลึกซึ้ง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ