ศีล ที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา

 
มศพ.
วันที่  5 ก.ย. 2555
หมายเลข  21683
อ่าน  30,376

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ศีล

ศีล ที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนามีหลากหลายนัย มีคำแปลหลายความหมาย หมายถึง การรวบรวมกาย วาจา จากที่เคยเป็นไปกับด้วยอกุศล ก็เป็นไปกับด้วยกุศลมากยิ่งขึ้น เป็นความประพฤติเรียบร้อยดีงาม หมายถึง เป็นที่รองรับกุศลธรรมทั้งหลาย นอกจากนั้นยังมีความหมายหลายอย่าง คือ ปกติ เกษม สำรวม ซึ่งโดยมากเรามักเข้าใจว่า ศีล คือ การกระทำทางกาย วาจา เป็นการวิรัติงดเว้นที่จะไม่กระทำบาป ทางกาย วาจา เท่านั้น เช่น งดเว้นจากการฆ่าสัตว์งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งเป็นศีล ๕ แต่ในความเป็นจริง ศีล มีหลากหลายนัย ขึ้นอยู่กับว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงศีล โดยนัยใด จึงสำคัญอยู่ที่ผู้ศึกษาจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการศึกษา เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และ ประการที่สำคัญ ต้องไม่ลืมว่า ศีล เป็นธรรม

นัยหนึ่งที่ทรงแสดงเรื่องศีล จำแนกศีล ออกเป็น ๔ อย่าง คือ

๑. เจตนา เป็น ศีล

๒. เจตสิก เป็น ศีล

๓. ความสำรวม สังวร เป็นศีล

๔. การไม่ก้าวล่วง เป็นศีล

ซึ่งมีคำอธิบายโดยสังเขป ดังนี้

เจตนา เป็นศีล หมายถึง เจตนาที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ เป็นต้น ขณะที่มีความจงใจ ตั้งใจ ที่งดเว้นในสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น ก็เป็นศีล เป็นธรรมที่มีจริง

เจตสิกเป็นศีล คือ การงดเว้นจากความโลภ คือไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน ที่เป็นอนภิชฌา งดเว้นจากการพยาบาท คือ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น ที่เป็น อพยาปาทะ และ มีความเข้าใจถูกเห็นถูก ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า เจตสิกเป็น ศีล เป็นธรรมที่มีจริง

การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล คือ มีเจตนาสมาทานศีล ซึ่งเป็นการถือเอาด้วยดีเป็นข้อปฏิบัติที่จะรักษา โดยไม่ล่วงละเมิด ในสิ่งที่ตนเองได้ตั้งใจเอาไว้ เพื่อความเป็นผู้มีความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจาที่ดีงาม อย่างนี้ เรียกว่า การไม่ก้าวล่วง เป็นศีล

ความสำรวม หรือ การสังวร เป็นศีล ความสำรวม หรือ การสังวรในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงอาการกิริยาภายนอกที่ทำการสำรวม แต่มุ่งหมายถึงสภาพจิตเป็นสำคัญ กล่าวคือ สภาพจิตที่เป็นกุศล อันเป็นการปิดกั้นไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นไป ในขณะที่กุศลเกิดขึ้น การสำรวม หรือ สังวรนั้นมี ๕ ประการ คือ

- ปาฏิโมกขสังวร คือ การประพฤติงดเว้นในข้อบัญญัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสห้ามไว้ และน้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาต เป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลสของตนเอง ก็เป็น ศีล

- สติสังวร คือ การสำรวมด้วยสติ ในขณะที่มีสติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และใจชื่อว่า สติสังวร ก็เป็นศีล

- ญาณสังวร คือ การสำรวมด้วยปัญญา ในขณะที่ปัญญาเกิด ละกิเลส ชื่อว่า สังวรด้วยปัญญา และหมายรวมถึงการพิจารณาปัจจัยที่ได้มา มีอาหาร เป็นต้น ก่อน แล้วจึงบริโภคใช้สอย ว่า ไม่ใช่เพื่อความเพลิดเพลินมัวเมา แต่เพื่ออุปการะเกื้อกูลให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ เพื่อศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเองต่อไป การพิจารณาด้วยปัญญาแล้วจึงบริโภค ก็ชื่อว่า ญาณสังวร เป็นศีลในขณะนั้น คือ ปัจจยสันนิสสิตศีล

- ขันติสังวร คือ การสำรวมด้วยขันติ ความเป็นผู้อดทนต่อหนาวและร้อน อดทนที่จะไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส มีโลภะ โทสะ เป็นต้น ชื่อว่า สำรวมด้วยขันติ ก็เป็นศีล

- วิริยสังวร คือ สังวรด้วยความเพียร เป็นการปรารภความเพียร เพื่อไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลที่เกิดแล้ว เพื่อเจริญกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ชื่อว่าสำรวมด้วยวิริยะ ก็เป็นศีล ด้วย

ศีล มีหลากหลายนัย คือ ทั้งเจตนางดเว้นจากบาปก็เป็นศีล และไม่ใช่เพียงงดเว้นจากบาป ที่เป็นวิรตีเจตสิกเท่านั้น ขณะที่เจตนาที่จะประพฤติสมาทานศีล อันเป็นการไม่ก้าวล่วงตามที่ตั้งใจไว้ ก็เป็นศีล และแม้ไม่มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ไม่มีวิรตีเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น แต่มีการสำรวม สังวรก็ชื่อว่า ศีล ที่เป็นสติสังวร เป็นต้น ด้วย

อีกนัยหนึ่งที่ทรงแสดงศีล ๒ อย่าง ที่เป็น วาริตศีล และ จาริตตศีล ดังนี้ คือ วาริตศีล เป็นการงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น เช่น งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น นอกจากจะเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้นแล้ว ก็ยังจะต้องน้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามด้วย เช่น เลี้ยงดูมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ช่วยเหลื่อผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเป็นจาริตศีล

และอีกนัยหนึ่งที่ทรงแสดงศีล โดยนัยที่เป็นปกติ กล่าวคือ ทรงแสดงตามความประพฤติเป็นไปของสัตว์โลก ว่า ไม่พ้นไปจากสิ่งเหล่านี้ คือ ปกติเป็นอกุศล ก็เป็นอกุศลศีล ปกติเป็นกุศล ก็เป็นกุศลศีล และ ปกติเป็นอัพยากตะ (สำหรับพระอรหันต์) ก็เป็นอัพยากตศีล

ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ สมณมุณฑิกสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึงความแตกต่างระหว่าง อกุศลศีล กับ กุศลศีล ไว้ว่า กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรม เป็นอกุศลการเลี้ยงชีพชั่ว เหล่านี้เรากล่าวว่าศีลเป็นอกุศล ก็ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งศีลเป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตเป็นไฉน ถึงจิตเล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ จิตใดมีราคะ โทสะ โมหะ ศีลเป็นอกุศล มีจิตนี้เป็นสมุฏฐาน

เราย่อมกล่าวซึ่งกายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล และอาชีวะอันบริสุทธิ์ ลงในศีล เหล่านี้เรากล่าวว่าศีลเป็นกุศล ก็ศีลเป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตเป็นไฉน แม้จิตเล่าก็มีมากหลายอย่าง มีประการต่างๆ จิตใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ศีลเป็นกุศล มีจิตนี้เป็นสมุฏฐาน

นี้คือ ความประพฤติเป็นไปของสัตว์โลก ที่ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ก็ยังไม่พ้นไปจากความประพฤติเป็นไปที่เป็นอกุศล บ้าง เป็นกุศล บ้าง ตามการสะสม เพราะเหตุว่าการที่จะดับอกุศลได้นั้น ต้องเป็นการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น พระอริยบุคคล เป็นผู้ดับอกุศล (ดับอกุศลศีล) ได้ตามลำดับขั้น จนกว่าจะดับได้อย่างหมดสิ้น เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ จึงกล่าวได้ว่า พระอรหันต์ ดับได้ทั้งอกุศลศีล และ ไม่มีกุศลศีลเกิดขึ้นเป็นไป มีแต่อัพยากตศีล เท่านั้น

ศีล จึงหลากหลายนัยมาก ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ก็เพื่ออุปการะเกื้อกูลให้ได้เข้าใจธรรม เข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ไม่ให้เข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะความจริง เป็นอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

พระบารมีทั้งหมดที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญมา ก็เพื่อที่จะได้ทรงตรัสรู้สภาพธรรมที่มีจริงตามความเป็นจริง แล้วทรงแสดงพระธรรมอุปการะเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ให้ได้เข้าใจตามด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา ที่จะได้ฟัง ได้ศึกษาในสิ่งที่มีจริง สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกต่อไปตามกำลังปัญญาของแต่ละบุคคล

... ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกๆ ท่าน ...


Tag  ศีล  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 5 ก.ย. 2555

ดีมากๆ เลยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียนเพิ่มเติม กับ คำว่า ปกติศีล ครับ ซึ่งความประพฤติเป็นไปของสัตว์โลกที่เป็น ปกติ ก็มีทั้งที่เป็นกุศล เรียกว่า กุศลศีล มีทั้ง อกุศล ก็เป็นอกุศลศีล และ อัพยากตศีล ที่ไม่ใช่อกุศล และ กุศล

กุศลศีล เช่น ขณะที่ทำกุศล มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ขณะนั้น ก็เป็นกุศลศีล เป็นความประพฤติเป็นไปของสัตว์ที่เป็นปกติ ในขณะนั้น ที่เป็นกุศล

อกุศลศีล เช่น ขณะที่ทำบาป มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ขณะนั้นก็เป็นอกุศลศีล ที่เป็นความประพฤติเป็นไปปกติในขณะนั้น ที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลศีล

อัพยากตศีล คือ ขณะที่ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ท่านก็งดเว้นจากบาป เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ จิตท่านไม่เป็นกุศล อกุศลแล้ว แต่ก็มีจิตที่ดีงาม แต่เป็นกิริยาจิต เป็นอัพยากต ความประพฤติเป็นไปของท่าน เป็นปกติ คือ อัพยากตศีล ครับ

สรุปได้ว่า ปกติศีลคือ การแบ่ง ความประพฤติเป็นไปของสัตว์โลกทั้งหมด ว่า มีทั้งความประพฤติที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากต ก็เป็นกุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

ในการแก้ปัญหาว่า กติ สีลานิ - ศีลมีเท่าไร เพราะปกติของศีลมีเท่าไร เพราะปกติของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ ในโลก ท่านกล่าวว่า สีลํ ไว้ในบทนี้ว่า

กุสลสีลํ - กุศลเป็นศีล อกุสลสีลํ - อกุศลเป็นศีล อพฺยากตสีลํ - อัพยากฤตเป็นศีล

ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ มักจะเข้าใจว่า จะต้องรักษาศีลให้สมบูรณ์ก่อน จึงเจริญวิปัสสนาได้ และเข้าใจว่า สติปัฏฐาน ไม่มีศีล ซึ่ง สติปัฏฐานเกิด มีทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ

ดังกระทู้ที่อธิบายเรื่องศีล ใน สติปัฏฐาน ครับ

ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขณะนั้นมีศีลด้วยหรือไม่

คลิกอ่านกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศีล ครับ

ศีลกับวินัย

ศีลที่ประกอบด้วยปัญญาเจริญอย่างไร

จารีตศีล และ วารีตศีล

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เข้าใจ
วันที่ 5 ก.ย. 2555

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
หลานตาจอน
วันที่ 5 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paew_int
วันที่ 7 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 7 ก.ย. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aurasa
วันที่ 8 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
มหานาโม
วันที่ 9 ก.ย. 2555

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
tanakase
วันที่ 10 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Lamphun
วันที่ 10 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาครับ

เป็นประโยชน์มากเลยครับ ที่ชมรมบ้านธัมมะเชียงใหม่ เราได้นำไปถ่ายเอกสารให้สมาชิกได้อ่านกันทั่วหน้า ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
tusaneenui
วันที่ 11 ก.ย. 2555

"ศีล" ตลอดชีวิตรับรู้ธรรมดา เผินๆ มาครั้งนี้ได้รู้ลึกซึ้ง ยิ่งเพิ่มศรัทธามากขึ้น จึงขอขอบคุณ และอนุโมทนาที่กรุณาให้ความกระจ่างชัดแจ้ง

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
nong
วันที่ 11 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Zeta
วันที่ 17 ก.ย. 2555

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pirmsombat
วันที่ 17 ก.ย. 2555

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
nity
วันที่ 18 ก.ย. 2555
อนุโมทนากับผู้ที่เรียบเรียงอักษรอันเลิศ และทุกท่านที่มีโอกาสเข้ามารับค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
jaturong
วันที่ 19 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
intra
วันที่ 21 ก.ย. 2555

เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งจริงๆ

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
raynu.p
วันที่ 21 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
kinder
วันที่ 23 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
Chalee
วันที่ 24 ก.ย. 2555

อนุโมทนาสาธุ. ที่ได้เรียนรู้กับศีลมากขึ้นค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
phawinee
วันที่ 12 ต.ค. 2555

ขอบพระคุณท่านอาจารย์

นอบน้อมและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
pamali
วันที่ 13 พ.ย. 2555
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 25 พ.ย. 2555

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
wittawat
วันที่ 29 พ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนา ในการเรียบเรียงอักษร เพื่อความเข้าใจเหล่านี้ ศีล เป็น ธรรม ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นประโยชน์มาก เกื้อกูลแก่ผู้ศึกษาธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
Guest
วันที่ 30 ธ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 29 ก.ค. 2558

สาธุ อนุโมทนา และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
peem
วันที่ 19 ธ.ค. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
papon
วันที่ 19 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
khanidtha
วันที่ 17 ก.พ. 2559

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
เพียงดิน
วันที่ 24 ก.พ. 2559

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
Tathata
วันที่ 26 เม.ย. 2560

ได้มีความเข้าใจ คำว่า ศีล เพิ่มขึ้น จากที่เคยเข้าใจว่าศีลหมายถึงข้อห้าม คือ ศีล ๕ ศีล ๘ เท่านั้น

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
Tathata
วันที่ 18 พ.ค. 2560

มีพุทธศาสนิกชนอีกมากมายที่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าศีลอย่างถ่องแท้

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
พี่สุภัสสร
วันที่ 17 มี.ค. 2561

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
Nataya
วันที่ 19 พ.ค. 2561
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
ประสาน
วันที่ 12 ต.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
chatchai.k
วันที่ 15 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
Kalaya
วันที่ 5 ก.พ. 2564

กราบคำสอนของพุทธองค์ค่ะและกราบอนุโมทนาอาจารย์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
สิริพรรณ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 43  
 
Sea
วันที่ 15 ก.พ. 2565

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 17 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
Jarunee.A
วันที่ 13 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 46  
 
nui_sudto55
วันที่ 30 ส.ค. 2566

สาธุกาลครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ