อยากได้เฉลยบทที่ 4 ของหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ค่ะ

 
fam
วันที่  25 ส.ค. 2554
หมายเลข  19575
อ่าน  1,369

เมื่อสักครู่นี้ได้โพสคำถามนี้แล้วแต่พอกลับไปดูอีกครั้งคำถามนี้หายไปค่ะ ก็เลยขอโพส

ใหม่อีกครั้ง คืออยากรบกวนขอความกรุณาท่านผู้รู้ช่วยตอบคำถามทบทวนท้ายบทที่ 4

ให้ด้วยค่ะเนื่องจากได้อ่านบทที่4 แล้วแต่พอถึงคำถามท้ายบทตอบไม่ค่อยได้เลยค่ะ คำ

ถามมีดังนี้ค่ะ คำถามทบทวนท้ายบทที่ ๔

๑. เพราะเหตุใดวิถีจิตทางมโนทวารจึงน้อยกว่าวิถีจิตทางปัญจทวาร

๒. โลภมูลจิตเกิดได้กี่ทวาร

๓. ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิตเกิดได้กี่ทวาร

๔. โมฆวาระ โวฏฐัพพนวาระ ชวนวาระ ตทาลัมพนวาระ คืออะไร

๕. อวิภูตารมณ์และวิภูตารมณ์ คืออะไร

๖. ปฏิสนธิจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไร

๗. อกุศลจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไร

๘. กิริยาจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไร

๙. โสตทวารวิถีจิต เกิดที่รูปอะไรบ้าง

๑๐. เจตสิกในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไรบ้าง ขอบพระคุณมากค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ๑. เพราะเหตุใดวิถีจิตทางมโนทวารจึงน้อยกว่าวิถีจิตทางปัญจทวาร

วิถีจิตทางมโนทวาร เป็นวิถีจิตที่รับรู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวารก็ได้ หรือ แม้ไม่มี

ปัญจทวารเกิดขึ้น มโนทวารวิถีก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ขณะที่คิดนึก ส่วนปัญจ

ทวารวิถี คือ ขณะทีเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้เนหตุผลที่

มโนทวารวิถีจิตเกิดบ่อยกว่าทางปัญจทวารวิถีเพราะว่า แม้ขณะที่ไม่เห็น ไมได้ยิน

..ปัญจทวารวิถีไม่เกิด ก็มีการเกิดขึ้นของมโนทวารวิถีซึ่งเป็นการคิดนึก ซึ่งในชีวิต

ประจำวัน มีการคิดนึกมากกว่าการเห็น การได้ยิน..รู้กระทบสัมผัสครับ และแม้เมื่อเห็น

ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสแล้ว มโนทวารวิถีก็ต้องรับรู้อารมณ์นั้นต่อจากทาง

ปัญจทวารในบางวาระก็ไดครับ ดังนั้นปกติก็คิดนึกเป็นส่วนมาก ทางมโนทวารวิถี จึง

เกิดมากกว่า ปัญจทวารวิถีครับ

๒. โลภมูลจิตเกิดได้กี่ทวาร

โลภมูลจิตเกิดได้ทั้ง 6 ทวารครับ

๓. ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิตเกิดได้กี่ทวาร

ปัญจทวาราวัชชนจิต เกิดได้ 5 ทวาร มโนทวาราวัชชนจิตเกิดได้ฃ 6 ทวารครับ

๔. โมฆวาระ โวฏฐัพพนวาระ ชวนวาระ ตทาลัมพนวาระ คืออะไร

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

วาระ - โมฆวาระ

โมฆวาระ

โวฏฐัพพนวาระ

ชวนวาระ

ชวนวาระ

๕. อวิภูตารมณ์และวิภูตารมณ์ คืออะไร

อวิภูตารมณ์

น --> อ (ไม่) + วิภูต (ยิ่งใหญ่ , ชัดเจน) + อารมณ์ (สิ่งที่จิตยึดหน่วง)

อารมณ์ที่ไม่ชัดเจน หมายถึง ความเป็นไปของอารมณ์ทางมโนทวาร ที่มีความไม่

ชัดเจน คือมีกำลังอ่อนกว่าวิภูตารมณ์ ทำให้วิถีจิตเกิดขึ้นตั้งแต่อาวัชชนวิถี ๑ ขณะ

และชวนวิถี ๗ ขณะ ซึ่งวาระนี้เรียกว่า ชวนวาระ

วิภูตารมณ์

วิภูต (ยิ่งใหญ่ , ชัดเจน) + อารมณ์ (สิ่งที่จิตยึดหน่วง)

อารมณ์ที่ชัดเจน หมายถึง ความเป็นไปของอารมณ์ทางมโนทวารที่มีความชัดเจน

มีกำลัง ทำให้วิถีจิตเกิดขึ้นตั้งแต่อาวัชชนวิถี ๑ ขณะชวนวิถี ๗ ขณะ และตทา-

ลัมพณวิถี ๒ ขณะ ซึ่งวาระนี้เรียกว่า ตทาลัมพณวาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2554

๖. ปฏิสนธิจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไร

เกิดที่หทยรูปครับ

๗. อกุศลจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไร

หทยรูปครับ

๘. กิริยาจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไร

หทยรูปครับ

๙. โสตทวารวิถีจิต เกิดที่รูปอะไรบ้าง

ถ้าพูดถึงโสตทวารวิถี ในวิถีทางโสตทวาร จะมีจิตหลายประเภทเกิดทางโสตทวารวิถี

ครับ เช่น โสตทวาราวัชนจิตเกิดที่หทยรูป โสตวิญญาณจิต เกิดที่โสตปสาทรูป สัมปฏิ

ฉันนะ โวฏฐัพพนะ ชวนจิตที่เป็นกุศล อกุศลและตทาลัมพนะจิตเกดิที่หทยรูปครับ

สรุปคือ จิตที่ไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ดวง จิตเห็น 2 ดวง จิตได้ยิน 2 ดวง จิตได้

กลิ่น 2 ดวง จิตลิ้มรส 2 ดวง จิตรู้กระทบสัมผัส 2 ดวง จิตนอกเหนือจากนี้ เกิดที่หทย

รูปทั้งสิ้นครับ ส่วน จิตเห็นเกิดที่จักขุปสาทรูป จิตได้ยินเกิดที่โสตปสาทรูป จิตได้กลิ่น

เกิดที่ฆานปสาทรูป จิตลิ้มรสเกิดที่ชิวหาปสาทรูป จิตรู้กระทบสัมผัส เกิดที่กายปสาท

รูปครับ

๑๐. เจตสิกในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เกิดที่รูปอะไรบ้าง ขอบพระคุณมากค่ะ

เจตสิกในภูมิที่มีขันธ์ 5 เกิดได้ ทั้ง วัตถุรูป 6 คือ ปสาทรูป 5 และหทยรูป 1

เหตุผลคือ เจตสิกทีเกิดกับทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ดวง (จิตเห็น..จิตรู้กระทบสัมผัส)

ก็ต้องเกิดพร้อมกับจิตและเกดิที่เดียวกับจิต (ทวิปัญจวิญญาณจิต) ดังนั้นเจตสิกทีเกิด

กับทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ดวงเกิดที่ ปสาทรูป 5 ส่วนเจตสิกทีเกดิกับจิตที่ไม่ใช่ทวิ

ปัญจิญญาณจิต 10 ดง เจตสิกเหล่านั้นเกิดที่หทยวัตถุรูปทั้งหมดครับ เพราะฉะนั้น

เจตสิกในภูมิที่มีขันธ์ 5 จึงเกิดได้ทั้ง วัตถุรูป 6 คือ หทยวัตถุ 1 และปสาทรูป 5 ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
fam
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณมากเลยค่ะอาจารย์ผเดิม ขอบพระคุณมากๆ ๆ ๆ ๆ เลยค่ะที่ให้ความกระจ่างกับผู้ที่

เริ่มศึกษาธรรมมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
fam
วันที่ 25 ส.ค. 2554

เรียนถามอาจารย์ผเดิม เพิ่มเติมค่ะ จากคำตอบของอาจารย์ที่กล่าวว่า "....ดังนั้นปกติก็คิดนึกเป็นส่วนมาก ทางมโนทวารวิถี จึงเกิดมากกว่า ปัญจทวารวิถีครับ" แต่คำถามในข้อที่ 1 คือ เพราะ เหตุ ใด วิถี จิต ทาง มโน ทวาร จึง น้อย กว่า วิถี จิต ทาง ปัญจ ทวาร ตกลงแล้ววิถีจิตทางมโนทวารมากกว่าหรือน้อยกว่าทางปัญจทวารกันแน่คะ เพราะจากคำถามนั้นคล้ายกับว่าวิถีจิตทางมโนทวารน้อยกว่าปัญจทวาร ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chaiyut
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขออนุญาตแสดงความเห็นเพิ่มเติมดังนี้ครับ

๑. เพราะเหตุใด วิถีจิตทางมโนทวาร จึงน้อยกว่า วิถีจิตทางปัญจทวาร

คำถามนี้ถามถึงจำนวนของวิถีจิตของ 2 ทวารในวาระหนึ่งๆ ซึ่งตามความเป็นจริงวิถีจิตของทางมโนทวารนั้นแม้เกิดมากกว่า แต่ทว่า แต่ละวาระโดยปกติ * ก็มีไม่ถึง 17 ขณะ อย่างมากสุดก็มีเพียง มโนทวาราวัชชนจิต 1 ขณะ เกิด-ดับไป ชวนจิตจึงเกิดดับสืบต่อกันไปอีก 7 ขณะ และเมื่ออารมณ์ที่ทางใจรู้นั้นชัดเจน ตทาลัมพณจิตจึงเกิดดับสืบต่ออีก 2 ขณะ รวมวาระหนึ่งๆ ของทางมโนทวารแล้ว จะมีวิถีจิตเกิดมากสุดได้ไม่ถึง 17 ขณะ ในขณะที่่วาระหนึ่งๆ ของทางปัญจทวาร เมื่ออารมณ์ที่จิตรู้นั้นชัดเจนมาก จะมีวิถีจิตเกิดดับสืบต่อกันถึง 17 ขณะ ที่เป็นอย่างนี้ ก็เพราะเหตุว่าวิถี-จิตทางมโนทวาร ไม่ได้อาศัยปสาทรูป เพื่อรับกระทบกับรูปที่รู้จากทางตา หู จมูก ลิ้นกายโดยตรงเหมือนกับวิถีจิตของทางปัญจทวารครับ
* จำนวนของวิถีจิตทางมโนทวารจะเกิดดับสืบต่อกันมากนับไม่ถ้วนในกรณีที่เข้าฌานสมาบัติ ซึ่งจะมีชวนจิตเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ มากกว่า 17 ขณะของวิุถีจิตทางมโน-ทวารครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 25 ส.ค. 2554

การศึกษาปรมัตถธรรม จุดประสงค์เพื่อให้เข้าถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ที่ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจัย หลายปัจจัย แล้วดับไปอย่างรวดเร็วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

เผอิญอ่านคำถามไม่ละเอียดครับ ขออภัย มา ณ ที่นี้ ท่าน chaiyut อธิบายได้ดีแล้วครับ ใน

คำตอบของข้อที่ 1 ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 25 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไป ความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น และปัญหาท้ายบทของหนังสือปรมัตถธรรม ถ้าได้อ่านเนื้อหาอย่างละเอียด ไตร่ตรองในเหตุในผลแล้ว ก็จะทำให้ตอบปัญหาได้ เพราะทั้งหมดก็อยู่ในนั้นทั้งนั้น แต่สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพราะแท้ที่จริงแล้ว ธรรม ไม่ได้อยู่ในหนังสือ ไม่ได้อยู่ในตำราเลย แต่มีอยู่จริงในชีวตประจำวัน ทุกขณะของชีวิตเป็นธรรม ทั้งหมด เป็นธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ขณะนี้ ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก และ รูป เลย ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pat_jesty
วันที่ 25 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
fam
วันที่ 26 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญกับทุกความคิดเห็นที่ให้ความกระจ่างค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
fam
วันที่ 26 ส.ค. 2554

เรียนถามเพิ่มเติมค่ะ แสดงว่า "วิถีจิตทางมโนทวาร "นั้น เกิดสั้นกว่าทาง

"วิถีจิตทางปัญจทวาร" แต่วิถีจิตทางมโนทวาร นั้นเกิดบ่อยกว่าทาง

ปัญจทวาร เข้าใจอย่างนี้ใช่หรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 26 ส.ค. 2554

เรียนความคิดที่ 13 วิถีจิตทางปัญจทวาร มี 5 คือ วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น

กาย เมื่อรู้อารมณ์แล้ว ก็ต้องรู้ต่อทางมโนทวารเสมอ หรือ รู้อารมณ์โดยไม่ผ่าน 5

ทวารก็ได้ เพราะฉะนั้น วิีถีจิตทางมโนทวาร จึงเกิดบ่อยกว่าทางปัญจทวารค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 26 ส.ค. 2554

เรียนเพิ่มเติมในความเห็นที่ 13 ครับ

อาจารย์วรรณีกล่าวได้ดีแล้วในความเห็นที่ 13 เพิ่มเติมที่ว่าในชีวิตประจำวัน โดยมากคิด

นึกมากกว่า การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสครับ จึงทำให้ทางมโนทวาร ที่

เป็นการคิดนึก มีมากกว่าครับ และแม้ไม่เห็น ไมไ่ด้ยิน เราก็คิิดนึกได้ครับ และในตอนกลาง

คืน ถ้าฝันก็เป็นทางมโนทวารครับ ไม่ใช่ทางปัญจทวารครับ ดังนั้น มโนทวารจึงเกิดบ่อย

กว่าทางปัญจทวารครับ ขออนุโมทนาผู้ถามและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
fam
วันที่ 27 ส.ค. 2554

หลังจากได้อ่านเฉลยที่ทุกท่านกรุณาช่วยกันตอบแล้วก็กลับไปอ่านบทที่4อีกรอบ รู้สึกเข้าใจมากกว่าเดิม มากๆ เลยค่ะ ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับทุกท่านนะคะ ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ