วิปัสนาภาวนา และ สติปัฏฐาน มีแนวทางการอบรมอย่างไร

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  1 ก.ค. 2554
หมายเลข  18648
อ่าน  1,843

เรียน อาจารย์ผเดิม และ ผู้รู้ เพื่อรบกวนอย่างมากครับ

วิปัสนาภาวนา คือ การอบรมเจริญปัญญา

เพื่อให้เห็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ซึ่งมีนัยเดียวกับ สติปัฏฐาน (ก็คือการอบรมเจริญปัญญาเช่นกัน)

จากที่พอทราบคือ สติปัสฐาน มี ๔ ได้แก่

๑ กาย

๒ เวทนา

๓ จิต

๔ ธรรม

โดยให้มีการอบรมเจริญปัญญานั้น คือ ตรึก ระลึก สำเหนียด สภาวะธรรมที่เกิด

รู้สิ่งที่มากระทบทางทวาร๕ +ใจ ๑ ใช่หรือไม่ครับ โดยการอบรมนี้ เพื่อให้สติเกิด

บ่อยๆ หรือว่า มีปัญญาเกิด แล้วสติก็เกิดตาม หรือ เกิดร่วมกัน

ที่บอกว่าเกิดร่วมด้วย

โดยเข้าใจพื้นฐานครับว่า ให้เป็นสาวก คือ ผู้ฟัง

พอเข้าใจแล้ว ปัญญาทำงานของเค้าเอง

รบกวนสอบถามแบบงง งง ครับว่า

ก. สติปัฏฐาน และ วิปัสนาภาวนา คือ การอบรมเจริญปัญญา แล้วสติอบรมอย่างไร

ผมยังไม่เข้าใจว่า สติ กับ ปัญญา ทำงานอย่างไร

ข. กาย เวทนา จิต ก็เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น แล้วทำไมพระองค์จึงทรงตรัส

ข้อ ๔ ธรรม ด้วยแหละครับ หรือมีความหมายอื่น (เพราะทุกอย่างรวมในนี้หรือไม่ครับ)

รู้เพียงหน้าที่ของเค้า

สติ ระลึกรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นขณะนั้น

ปัญญา รู้แจ้งตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นขณะนั้น

อาจารย์พอเข้าใจนะครับ หวังว่าถ้าผมเข้าใจพื้นฐานอย่างที่อาจารย์อนุเคราะห์แนะนำมาเพื่อเป็นหนทางการศึกษาหัวข้อก่อนนี้ ผมต่อยอดได้แน่ครับ

* * * * * ---------------------------- * * * * *

ขอบพระคุณอาจารย์ผเดิม และ ผู้รู้มาล่วงหน้าอย่างมากครับ

* * * * -------------------------------------------- * * * *


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ ไม่ใช่เพียงประการเดียวเท่านั้นการเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ จะต้องไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสติปัฏฐานเฉพาะบางสิ่งบางประการ แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น แล้วแต่ว่าสติจะระลึกและปัญญารู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง เพราะธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

จากคำถามที่ว่า ก. สติปัฏฐาน และ วิปัสนาภาวนา คือ การอบรมเจริญปัญญา แล้วสติอบรมอย่างไรผมยังไม่เข้าใจว่า สติ กับ ปัญญา ทำงานอย่างไร ทั้งสติ ทั้ง ปัญญา ก็เป็นธรรมที่มีจริงด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครสามารถบังคับให้สติ และ ปัญญา เกิดขึั้นได้ แต่เป็นธรรมที่เกิดขึั้้นตามเหตุตามปัจจัย สติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุสล ส่วนปัญญา เป็นธรรมที่ทำกิจรู้ตามความเป็นจริง ในขั้นของการอบรมนั้น จะขาดการฟังธรรม ขาดการฟังในสิ่งที่มีจริงไม่ได้เลย เพราะความเข้าใจถูกตั้งแต่ละต้น พร้อมทั้งมีความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญให้สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้นได้ เป็นไปตามที่ได้ศึกษามาทุกประการ สติและปัญญา เป็นเจตสิกต่างประเภทกัน ทำกิจต่างกัน ซึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้น เกิดพร้อมกัน และ เป็นองค์มรรค ด้วยคือ สัมมาสติ กับ สัมมาทิฏฐิ ที่ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ตามความเป็นจริง

ข. กาย เวทนา จิต ก็เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น แล้วทำไมพระองค์จึงทรงตรัส

ข้อ ๔ ธรรม ด้วยแหละครับ หรือมีความหมายอื่น (เพราะทุกอย่างรวมในนี้หรือไม่ครับ)

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ได้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง แม้แต่สติปัฏฐาน (ที่ตั้งของสติ, อารมรณ์ของสติ) ก็เช่นเดียวกัน พระองค์ทรงแสดงไว้ ๔ หมวด ตามการยึดถือของสัตว์โลกที่ยังมีกิเลสอยู่ ซึ่งเมื่อได้ศึกษา สะสมความเข้าใจถูกไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นหมวดของกาย เวทนา จิต และธรรม (นามธรรมและรูปธรรม) ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงทั้งหมด และเป็นธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เป็นปรมัตถธรรมที่มีลักษณะให้รู้ได้ และเวลาทีสติเกิด ก็ไม่ได้มีการจำกัดเจาะจงหมวดหนึ่งหมวดใด เพราะสติเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียด ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมได้ที่นี่ ครับ เมื่อเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด...ทำไมทรงแสดงเป็น ๔?

กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๑] กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๒] กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๓]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 1 ก.ค. 2554

* * * ------------------- * * *

กราบขอบพระคุณ คุณคำปั่น อย่างสูงครับ ที่อนุเคราะห์

และ

ขออนุโมทนาจิตที่เป็นกุศลด้วยนะครับ

* * * ------------------------------------------------------ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อบแด่พระรัตนตรัย ขออนุญาตเรียนสนทนาเพิ่มเติมในประเด็นนี้ครับ คำถามแรกถามว่า

สติอบรมอย่างไร

สภาพธรรมทั้หลายจะเกิดขึ้นจะต้องมีเหตุและปัจจัยเกิดขึ้นครับ เช่น เห็นจะเกิดขึ้น

ก็ต้องมี ตา มี สีและ มีจิตที่รำพึงถึงและมีแสงสว่างเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมการเห็นก็เกิดขึ้น

เช่นเดียวกับ สภาพธรรมอื่นๆ ก็ต้องมีเหตุปัจจัยเช่นกันจึงจะเกิดขึ้น เหตุปัจจัยให้สติเกิด

อันเป็นสติขั้นสติปัฏฐาน คือการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็น

ธรรมไม่ใช่เรา จะแสดงโดย 2 นัยนะครับ เพื่อความเข้าใจละเอียดขึ้น

นัยแรก เหตุปัจจัยให้เกิดสติปัฏฐาน คือ สัญญาที่มั่นคง สัญญา หมายถึง ความจำ

มั่นคง หมายถึง จำบ่อยๆ จนมั่นคง ดังนั้นจำอะไร จำชื่อเรื่องราวใช่ไหม ไม่ใช่เพียงแค่

นั้นครับ แต่เป็นความจำที่เกิดพร้อมกับความเข้าใจขั้นการฟังบ่อยๆ เนืองๆ ในเรื่องของ

สภาพธรรมที่มีจริงครับ เช่น เข้าใจคำว่า ธรรมว่าคืออะไร ดังนั้นก็คือเริ่มจากการฟัง

พระธรรม ในเรื่องของสภาพธรรม ในคำว่า ธรรม คือ อะไร ให้เข้าใจถูกเป็นเบื้องต้น

และฟังเนืองๆ บ่อยๆ เมื่อเราฟังบ่อยๆ สัญญาและความเข้าใจปัญญาทีเกิดพร้อมกันก็จะ

ค่อยๆ สะสม ปรุงแต่งจนมั่นคงและเป็นเหตุปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดนั่นเองครับเมื่ออาศัย

การฟังพระรรมเป็นเบื้องต้นในเรื่องของสภาพธรรมคืออะไร ธรรมก็คือสภาพธรรมที่มีจริง

ที่มีในชีวิตประจำวัน ที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมในขณะนี้ เช่น เห็น ได้ยิน คิดนึก

เป็นต้น ดังนั้นการจรู้ธรรมก็รู้ในขณะนี้ไม่ต้องไปหาที่อื่น และไม่ต้องไปหาวิธีปฏิบัติ

ขณะที่ฟังเข้าใจก็ค่อยๆ นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะขณะที่ปฏฺบัติก็คือขณะที่สติ

ปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ

เห็นไหมครับว่าเพราะอาศัยการฟังเบื้องต้นอย่างนี้ ก็ทำให้เข้าใจถูกในเรื่องการปฏิบัติ

และเมื่อฟังบ่อยๆ เนืองๆ สัญญาที่มั่นคงพร้อมกับความเข้าใจในเรื่องสภาพธรรมก็

เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานมากๆ ครับ จึงต้องอดทน

ถ้าไม่อดทนก็จะไปหาวิธีการอื่น เพราะโลภะอยากได้ผลเร็วๆ นั่นเองครับ ดังนั้นหนทาง

ที่ถูกคือการฟังพระรรม นี่คือ นัยที่หนึ่ง อัเนป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิด คือ สัญญา ความจำ

ที่มั่นคงในเรื่องของสภาพธรรมครับ

นัยที่สอง พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นไปตามลำดับ คือ อาศัยการคบสัตบุรุษ จึงมีการ

ฟังธรรม เมื่ออาศัยการฟังธรรม ก็ย่อมทำให้มีการพิจารณาโดยแยบคาย และทำให้เกิด

สติและสัมปชัญญะ และทำให้เกิดการสำรวมอินทรีย์และทำให้เกิดสุจริต 3 คือ ความ

สุจริตทางกาย วาจาและใจ และทำให้เกิดสติปัฏฐาน 4 ได้ครับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า

เพราะอาศัยการคบสัตบุรูษและการฟังพระธรรมในหนทางที่ถูกต้องก็ทำให้ถึงการเจริญ

สติปัฏฐานได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

คำถามที่ว่า... สติ กับ ปัญญา ทำงานอย่างไร

ขณะที่สติปัฏฐานเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรม ขณะนั้นจะต้องมีสติและปัญญา

เกิดร่วมด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ สติระลึกลักษณะของแข็งที่มีในขณะนี้ สติ

เป็นตัวระลึกได้ถึงลักษณะที่แข็ง แต่สติไมไ่ด้รู้ความจริงว่าแข็งเป็นธรรมไม่ใช่เรา

แต่เพราะอาศัยสติจึงระลึกในสภาพธรรมที่แข็งได้ เมื่อระลึกได้มีลักษณะแข็งปรากฎ

ปัญญาก็รู้ความจริงว่าแข็งเป็นธรรมไม่ใช่เราเพราะมีลักษณะของแข็งเท่านั้นที่ปรากฎ

ไม่มีเรา ไม่มีเก้าอี้ ในขณะที่จับที่ตัวเราหรือเก้าอี้ เพราะลักษณะของแข็งปรากฎเท่านั้น

ปัญญารู้ความจริงว่าเป็นแต่เพียงแข็งทีเ่ป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ดังนั้น อาศัยสติและ

ปัญญาทำงานร่วมกัน จึงสามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ครับ

-------------------------------------------------------------

ส่วนในข้อที่ 2 ที่ถามว่า ทำไมพระพุทธองค์ แสดงสติปัฏฐาน มี 4 หมวดครับ

เหตุผลคือ สัตว์โลกสะสมอุปนิสัย จริตมาแตกต่างกันไป ดังนั้นสัตว์เหล่าใดมีจริต

ใดก็เหมาะกับหมวด ใน 4 หมวดครับ ซึ่งพระพุทธองค์แสดงไว้ว่า มีตัณหาจริตและ

ทิฏฐิจริต แล้วใครจะรู้ว่าตัวเราจริตอะไรนอกจากปัญญาของพระพุทธองค์ครับ ขอให้

เริ่มจากความเข้าใจถูกครับว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตต า สติและปัญญาที่เป็นสติ

ปัฏฐานก็เป็นอนัตตา หมายความว่า สติและปัญญาไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

ของเรา แล้วแต่สติว่าจะเกิดตอนไหน และจะเกิดรู้ในธรรมหมวดใด ใน 4 หมวดก็แล้ว

แต่สติ ไม่ใช่แล้วแต่เราครับ ดังนั้นแม้เราก็ไม่รู้ว่าเราจริตอะไร จึงไม่มีตัวเราที่จะไป

เลือกเจริญหมวดใด และสติและปัญญาก็เป็นอนัตตาไม่ใช่เรา จึงไม่มีเราที่จะไปเลือก

ให้สติไปเกิดในสภาพธรรมนั้น สภาพรรมนี้อีก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความเข้าใจใน

ความเป็นอนัตตา ว่าสติและปัญญาจะเกิดขึ้นเอง สำคัญคือ อบรมเหตุคือการฟังพระ

ธรรมไปเรื่อยๆ เมื่อเหตุพร้อม สติและปัญญาก็จะเกิดรู้สภาพธรรมใด ขณะที่สติเกิดรู้

สภาพธรรมนั้นก็ไมได้เรียกชื่อว่าอยู่หมวดใดเลยในขณะนั้น แต่สติและปัญญาก็กำลังรู้

ตรงลักษณะว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา และขณะที่สติและปัญญารู้สภาพธรรมใด นั่นก็แสดง

แล้วว่าเราสะสมจริตแบบใดมาครับ

ดังนั้นเรื่องการเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นเรื่องไม่รีบร้อน สบายๆ ค่อยๆ ฟังพระธรรมไป

เรื่อยๆ ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญทีละน้อยครับ ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 6 ก.ค. 2554

* * * ------------------- * * *

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ ที่อนุเคราะห์

และ

ขออนุโมทนาจิตที่เป็นกุศลด้วยนะครับ

* * * ------------------------------------------------------ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ค. 2554

สติปัฏฐาน หรือ วิัีปัสสนา ก็เป็นอนัตตา ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่ได้สะสมบุญกุศล

และปัญญามาแล้วในอดีต จึงจะเกิดได้ ทำให้ไม่ไปแสวงหาทางผิด เพราะรู้ว่า

ขณะนี้มีนามธรรมและรูปธรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำลังปรากฏให้รู้ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ