ทำไมคนเราถึงไม่เห็นใบหน้าของเรา

 
Maimii
วันที่  1 ก.ค. 2554
หมายเลข  18651
อ่าน  1,431

ทำไมคนเราถึงไม่เห็นใบหน้าของเรา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยละเอียด เพื่อให้ผู้ฟังผู้ศึกษาได้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจากนามธรรม กับ รูปธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ต่างกัน นามธรรม เป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ [ได้แก่จิต และ เจตสิก เพราะมีนามธรรมอีกประเภทหนึ่งที่ไม่รู้อารมณ์ คือ พระนิพพาน] ส่วนรูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่รู้อะไร ตัวอย่างรูปธรรม เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตา หู จมูก เป็นต้น จากประเด็นคำถาม ควรที่จะได้พิจารณาว่า รูปธรรม มีทั้งหมด ๒๘ รูป รูปที่สามารถรู้ได้ในชีวิตประจำวัน มี ๗ รูป คือ สี เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ (ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม) รูปประการอื่นๆ ถึงแม้จะมีจริง เกิดขึ้นเป็นไป และเกิดกับทุกๆ คนด้วย แต่ก็เป็นเรื่องที่รู้ได้ยากในชีวิตประจำวัน สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรมประเภทหนึ่งหนึ่ง คือ สี เป็นธรรมที่สามารถเห็นได้ทางตา เท่านั้น ไม่ปรากฏทางหู ทางจมูก เป็นต้น สี เป็นอารณ์ของจิตเห็น จิตเห็นเป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจเห็น และการที่จิตเห็นจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใชว่าจะเกิดขึ้นลอยๆ โดยปราศจากปัจจัย กล่าวคือ จะต้องมีตา ซึ่งเป็นที่เกิดของจิตเห็น มีจิตเห็นเกิดขึ้น พร้อมทั้งมีเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น นอกจากนั้นก็จะต้องมีสี และแน่นอนว่า จิตเห็นเป็นผลของกรรมซึ่งจะต้องมีกรรมเป็นปัจจัย ด้วย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเห็นอะไร สิ่งที่ถูกเห็นก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น แต่เมื่อเห็นแล้วก็มีการคิดนึกต่อ เป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ แท้ที่จริงแล้ว ขณะที่เห็น เห็นเพียงสีซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้นจริงๆ ไม่ได้เห็นคน ไม่ได้เห็นใบหน้า ครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียด ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ สิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตา? เห็นสี คือ อย่างไร...? ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

รูปธรรมคือสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย เมือเรากล่าวถึงการ

เห็น เห็น อะไร ก็เห็นเป็นสัตว์ บุคคลเป็นสิ่งต่างๆ และหากถามบางคนที่ไม่ได้ศึกษา

ธรรมอย่างเข้าใจจริงๆ ถามว่าเห็นใบหน้าเราไหม ก็ตอบได้ว่าเห็นได้ ในกระจกนั่นเอง

เป็นใบหน้าของเรา ซึ่งในทางธรรมที่เป็นสัจจะตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น เห็น

เพียง สีเท่านั้น แต่ที่ปรากฎเป็นใบหน้า เพราะการนึกคิด เป็นรูปร่างจากสีที่ตัดกัน ทำ

ให้เป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นส่วนหยาบและละเอียด ปรากฎเป็นใบหน้า อันเกิดจากการ

นึกคิดเท่านั้นครับ ดังนั้นในความเป็นจริง เห็น เราเห็นใบหน้าคนอื่นด้วยไหม คำตอบ

ทั่วไปก็คือเห็นใบหน้าคนอื่นด้วย แต่ในความเป็นจริงที่เป็นสัจจะแล้ว ใบหน้าคนอื่น

ไม่มี มีแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฎทางตา ทีเป็นเพียงสีเท่านั้น หากตอบว่ามีก็ลอง

ไปจับที่หน้าคนอื่นดู อะไรมีจริงในขณะที่จับครับใบหน้าคนอื่น อ่อน เย็น ร้อน ซึ่งเป็น

รูปธรรม อีกประเภทหนึ่งเท่านั้นครับ ดังนั้นใบหน้าของคนอื่นก็เป็นเพียงการสมมติกัน

ขึ้นจากการบัญญัติสภาพธรรมที่มีจริง เพราะมีการประชุมรวมกันของรูปจึงมีมีการสมมติ

เรียกว่าเป็นใบหน้านั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2554

ใบหน้าของเรา เป็นเพียงการสมมติขึ้นจากการประชุมรวมกันของสภาพธรรมที่เป็น

รูปธรรม ต่างๆ เช่น ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ใบหน้าของเราและของคนอื่นจึงไม่มี

มีแต่สภาพธรรมทีเป็นรูปธรรมเท่านั้น เห็นก็เห็นเพียงสี ไม่ใช่ใบหน้า แต่คิดนึกต่อเป็น

ใบหน้าและเคยจำ ด้วยสัญญาก็จำหมายทันทีรู้ว่าเป็นหน้าใคร บุคคลใด เช่นเดียวกับ

การเห็นหน้าตัวเองในกระจก เห็นเพียงสี แต่คิดนึกต่อว่าเป็นรูปร่างหน้าตาครับ

ดังนั้นหนทางในการอบรมปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม

และรูปธรรม ก็คือ เข้าใจความจริงเบื้องต้นว่าธรรมคืออะไร แม้รูปธรรมก็เป็นธรรม แต่

การพิจารณาต้องด้วยปัญญา ขณะที่มีสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมปรากฎ เช่น เสียง

แข็ง อ่อน เย็น ร้อน เป็นต้น สติและปัญญาต้องเข้าใจว่าในขณะนั้นเป็นเพียงสภาพ

ธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่จับหน้าตัวเอง อะไรปรากฎ เย็น ร้อน อ่อน ขณะที่สติเกิดรู้ที่ตัว

ลักษณะสภาพธรรมในขณะนั้น ไม่มีเรา ไม่มีใบหน้าของเราครับ ดังนั้นการยึดถือว่ามี

ใบหน้าของเรา ก็เป็นการสำคัญผิด การเข้าใจถูกคือเป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม

เท่านั้นครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sensory
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ถ้ายังเห็นใบหน้าเราในกระจก เป็น"หน้าเรา"อยู่ ก็ยังไม่ได้ละความเป็นเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Maimii
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ดังนั้นเมื่อมองใบหน้าในกระจก สิ่งที่เห็นก็เป็นภาพลวงตาแต่ด้วยความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์

ทำให้หลงในภาพนั้นๆ ขอกราบอนุโมทนาในคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาในความเห็นที่ 4 และ 5 ที่มีความเข้าใจถูกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 2 ก.ค. 2554

ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แต่ก็ยังไม่รู้ ยังยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา

ก็ต้องฟังธรรมจนกว่าจะมีสัญญาความจำที่มั่นคงว่า เป็นธรรมะอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พรรณี
วันที่ 3 ก.ค. 2554

ขอขอบคุณผู้ตั้งกระทู้นี้ และขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

ถ้าไม่มีกระจกเงาเราก็จะไม่มีวันจำได้เลยว่ารูปร่างสันฐานของเรามีลักษณะอย่างนี้

แต่เราจะเห็นรูปร่างสันฐานของผู้อื่นอยู่เสมอถ้าตาไม่บอด และจดจำว่าเป็นคนชื่อนั้น

จากคำอธิบายข้างต้นของคุณ Paderm และอาจารย์คำปั่น และท่านอาจารยสุจินต์ ที่

เคยกล่าวไว้เสมอในเรื่องของรูปและนาม ธรรมะเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ ค่ะ แม้แต่ที่เห็น

กับตาจะ จะ ก็ยังไม่มี เป็นสัตว์ ตัวตน บุคคล แต่อย่างใด

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 3 ก.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18651 ความคิดเห็นที่ 4 โดย Sensory

ถ้ายังเห็นใบหน้าเราในกระจก เป็น"หน้าเรา"อยู่ ก็ยังไม่ได้ละความเป็นเรา

กระผมอ่านความคิดเห็นที่ 4 แล้วก็เลยรู้สึกแวบๆ ขึ้นมาว่า ได้เคยมีใครก็ไม่ทราบ

พูดไว้ว่า แม้การที่จะไม่ยึดมั่นว่าเป็นเรานั่นแหละ ก็อาจจะกลายเป็นความยึดมั่นไปอีก

แบบหนึ่ง ได้ คือ ยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ฟังดูแล้วก็พัลวันอยู่สักหน่อย

เอาเป็นว่า เราฟังพระธรรมก็เพื่อนำไปสู่ความไม่ยึดมั่น แต่เราก็จะไม่ยึดมั่นแม้ใน

ความไม่ยึดมั่นนั่นแหละ - สรุปอย่างนี้คงจะไม่ผิดนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 3 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

ถ้าเป็นปัญญาจริงที่ไม่ยึดมั่นในความเป็นสัตว์ บุคคล ขณะนั้นไม่ยึดมั่น แต่ขณะ

ต่อไปก็ยึดมั่นในความเห็นถูก ที่เป็นปัญญาว่าเป็นเราที่มีปัญญาได้ ตราบใดที่ไม่ใช่

พระโสดาบันแต่เมื่ออาศัยการเจริญปัญญาบ่อยๆ สติและปัญญาเกิดเข้าใจสภาพ

ธรรมที่มีจริงในขณะนี้บ่อยๆ ว่าไม่ใช่เรา ก็ย่อมถึงความเป็นพระโสดาบันได้ และเมื่อ

เป็นพระโสดาบันแล้วก็ไม่ยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งปวงว่าเป็นสัตว์ บุคคล เป็นเรา

และไม่ยึดมั่น ปัญญา (ความไม่ยึดมั่น) ว่าเป็นเราด้วยครับ เพราะดับกิเลสคือความ

ยึดมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคลหมดไม่เหลือแล้ว ดังนั้นอาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ

ย่อมถึงการไม่ยึดมั่นด้วยความเห็นผิดได้ทั้งหมดครับ ขอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Jans
วันที่ 3 ก.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 4 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ลุงหมาน
วันที่ 4 ก.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18651 ความคิดเห็นที่ 10 โดย paderm

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

ถ้าเป็นปัญญาจริงที่ไม่ยึดมั่นในความเป็นสัตว์ บุคคล ขณะนั้นไม่ยึดมั่น แต่ขณะ

ต่อไปก็ยึดมั่นในความเห็นถูก ที่เป็นปัญญาว่าเป็นเราที่มีปัญญาได้ ตราบใดที่ไม่ใช่

พระโสดาบันแต่เมื่ออาศัยการเจริญปัญญาบ่อยๆ สติและปัญญาเกิดเข้าใจสภาพ

ธรรมที่มีจริงในขณะนี้บ่อยๆ ว่าไม่ใช่เรา ก็ย่อมถึงความเป็นพระโสดาบันได้ และเมื่อ

เป็นพระโสดาบันแล้วก็ไม่ยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งปวงว่าเป็นสัตว์ บุคคล เป็นเรา

และไม่ยึดมั่น ปัญญา (ความไม่ยึดมั่น) ว่าเป็นเราด้วยครับ เพราะดับกิเลสคือความ

ยึดมั่นว่าเป็นสัตว์ บุคคลหมดไม่เหลือแล้ว ดังนั้นอาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ

ย่อมถึงการไม่ยึดมั่นด้วยความเห็นผิดได้ทั้งหมดครับ ขอนุโมทนา

เรียนถามอาจารย์ต่อครับ

เมื่อพระโสดาบันไม่มีอุปาทานยึดมั่นในขันธ์ อย่างเช่น นางวิสาขา อุบาสิกา เมื่อหลานเสีย

ชีวิตทำไมยังร้องให้อยู่ครับ นั่นมิได้หมายความว่าหลานเราเสียชีวิตหรอกหรือครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 4 ก.ค. 2554

เรียนควาเมห็นที่ 13 ครับ ความเป็นเรา มี 3 อย่างครับ คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ (ความเห็นผิด) นางวิสาขา

เป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านดับ ความเห็นผิด ทิฏฐิ ความยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคลได้ แต่

ยังดับ โลภะ ตัณหา ความติดข้อง พอใจในรูป เสียง..ไม่ได้และยังดับมานะไมไ่ด้ ดังนั้น

ท่านก็ยังมีความยินดี พอใจที่ติดข้องในหลานของท่าน แม้จะไม่สำคัญผิดแล้วว่ามี

หลานจริงๆ แต่ความผูกพัน โลภะที่ติดได้ทุกอย่าง แม้ที่เป็นปรมัตธรรม ไม่ใช่บัญญัติ

ก็ติดข้องได้ จึงติดข้องในความเกี่ยวข้องกันกับสิ่งที่อยู่ใกล้ มีหลาน เป็นต้นครับ ดังนั้น

ท่านร้องไห้เพราะมีโลภะ ที่ติดข้องอยู่ แต่ท่านไม่สำคัญผิดว่ามีหลานจริงๆ ครับ แต่มี

โลภะที่ติดข้อง ผูกพันในสิ่งต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะหลานเท่านั้นครับ การแต่งตัวของท่าน

ด้วย เป็นต้น ดังนั้นเมื่อหลานท่านสิ้นชีวิต โลภะที่ติดข้องก็ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดโทสะ

เสียใจ ผู้ที่จะดับโลภะ ความพอใจในรูป เสียง..และโทสะได้คือพระอนาคามีครับ ดังนั้น

จึงมีเราด้วยโลภะ และมานะ แต่ไม่สำคัญผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลแล้วด้วยความเห็นผิดที่

เป็นทิฏฐิแล้วครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 4 ก.ค. 2554

แม้จะไม่สำคัญผิดแล้วว่ามี หลานจริงๆ แต่ความผูกพัน โลภะที่ติดได้ทุกอย่าง แม้

ที่เป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่บัญญัติ ก็ติดข้องได้

ชัดเจนครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
panasda
วันที่ 5 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ