กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๑]

 
พุทธรักษา
วันที่  4 เม.ย. 2552
หมายเลข  11884
อ่าน  15,889

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แนวทางเจริญวิปัสสนาครั้งที่ ๖๐๓-๖๐๔ บรรยาย โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทป โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านผู้ฟัง ถามว่า คำว่า กาย เวทนา จิต ธรรม หมายความว่าอย่างไร

คำว่า "กาย"
เป็นสภาพธรรม ที่เคยยึดถือ ว่า เป็น "ร่างกาย"

คำว่า "เวทนา" เป็น "ความรู้สึกต่างๆ " ซึ่งกำลังมีอยู่ ในขณะนี้ ข้อสำคัญ คือ ความรู้สึก ที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้

คำว่า "จิต" เป็น "สภาพรู้" ที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้

คำว่า "ธรรม" เป็น "สิ่งที่มีจริงอื่นๆ " ที่ไม่ใช่ กาย เวทนา จิต

ถ้าจะตอบโดยย่อๆ และ โดยนัยของการปฏิบัติคือ สภาพธรรมที่มีจริง ในขณะนี้ ที่จะรู้ได้ ก็ต้องเนื่องกับกาย

ถ้าไม่มีกาย
จะรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ได้ไหมคะ - ก็ไม่ได้

เพราะฉะนั้น ที่มีการกล่าวถึง กาย เวทนา จิต ธรรมที่มีการแยกประเภทออกไป ต่างๆ กันนั้นมาจากการที่ "สติ" เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่ปรากฏนั้นเอง สภาพธรรม ที่มีจริง ประเภทต่างๆ ซึ่ง "สติ" ระลึกรู้ได้ และ เกิดที่ "กาย" หมายความว่า "กาย" เป็นแหล่งที่รวม ที่เกิด ที่ปรากฏ ของสภาพธรรมทั้งหลาย.เช่น ในขณะนี้ สภาพธรรม ที่มีจริง ปรากฏอยู่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ทางกาย ก็คือ สภาพธรรมปรากฏ "ที่กาย" นั่นเองหมายความว่า สติ สามารถระลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่ปรากฏ "ที่กาย" ขณะใดขณะนั้นก็เป็น "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ทางตา "ตา" อยู่ที่กาย แต่ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตาไม่ใช่ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่ปรากฏที่กาย หรือ ทางกาย "ตา" อยู่ที่กาย แต่สภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา คือ สีสัน วัณณะ ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงและมีอยู่ที่ "มหาภูตรูป" แต่เวลาที่ปรากฏนั้น ต้องปรากฏ ทางตา หมายความว่า ถึงแม้ว่า "ตา" จะอยู่ที่กายแต่ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เป็น สีสัน วัณณะ ต่างๆ ไม่ใช่ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง และ ตึง-ไหว


เพราะฉะนั้น ลักษณะ ของสภาพธรรมที่ปรากฏ คือ เป็น สีที่ปรากฏ ทางตา เป็น เสียงที่ปรากฏ ทางหู เป็น กลิ่นที่ปรากฏ ทางจมูก เป็น รสที่ปรากฏ ทางลิ้น และ เป็น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่ปรากฏ ทางกาย

ถ้า "สติ" ไม่เกิดขึ้น ไม่มีการระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่งก็จะไม่รู้เลย ว่า เป็นเพียง สภาพธรรม แต่ละชนิดๆ เท่านั้น ซึ่งปรากฏ เฉพาะ แต่ละทางๆ โดยการแยกขาดจากกัน จากการเกิดขึ้น และ ดับไป อย่างเช่น ทางตา กำลังเห็นเป็น "สภาพธรรมที่รู้" คือ รู้ "สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา" ไม่ใช่การ "ได้ยิน" หรือ "สภาพธรรมที่รู้เสียง" ลักษณะของ "สภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏ" เป็นคนละอย่าง "การเห็น" เป็นอย่างหนึ่ง" การได้ยิน" เป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ

"ตา" อยู่ที่กาย และ "หู" ก็อยู่ที่กาย แต่ "สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา" ไม่ใช่ "สภาพธรรมที่ปรากฏทางหู" เป็น "ลักษณะ" แต่ละอย่างๆ ซึ่ง เกิดดับ สืบต่อกัน

เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิด ระลึกรู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมที่เรียกว่า "กาย" หมายถึง สติ ระลึกรู้ ลักษณะของ "ธาตุ" ได้แก่ เย็น หรือ ร้อน (ธาตุไฟ) อ่อน หรือ แข็ง (ธาตุดิน) ตึง หรือ ไหว (ธาตุลม)

"ธาตุ" เหล่านี้ สามารถรู้ได้ทางกาย หรือ ที่กาย ที่ๆ เคยยึดถือ ว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล หรือ "กาย" ที่เคยยึดถือ ว่า เป็น "กายของเรา"

ต่อ.. กาย เวทนา จิต ธรรม...หมายความว่าอย่างไร? [๒]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 5 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เบน
วันที่ 5 เม.ย. 2552

ขอเรียนถาม ลักษณะตึงและไหว ที่ปรากฏทางกาย คือ อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 6 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 6 เม.ย. 2552

ขอเชิญคลิกอ่าน --

ลักษณะ ตึง ไหว

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เข้าใจ
วันที่ 8 ต.ค. 2556

มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมเป็นเครื่องรู้

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นิคม
วันที่ 15 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ