ลักษณะ ตึง ไหว

 
Pararawee
วันที่  4 ก.ย. 2551
หมายเลข  9754
อ่าน  2,465

รบกวนขอคำอธิบายเกี่ยวกับลักษณะตึงหรือไหว พร้อมตัวอย่างด้วยค่ะ

ยังไม่ค่อยเข้าใจ

อนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ลักษณะตึงหรือไหวเป็นลักษณะของธาตุลม เป็นรูปธรรม ปรากฏทางกายในชีวิตประจำวันในขณะที่เรายกของหนักหรือโหนรถเมล์หรือการเล่นโยคะบางท่าจะมีความตึงที่ร่างกายตามส่วนที่ใช้งาน นี่คืออาการตึง ลักษณะตึง ส่วนลักษณะที่ไหวก็มีมาก ขณะที่เคลี่อนไหว เช่น เดิน ก้าว แลเหลียว หายใจ กระพริบตา เป็นต้น จะมีความไหวของร่างกาย นี่คือลักษณะไหว เป็นธาตุเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เราตึงไหว ไม่มีเดิน ไม่มีก้าว ไม่มีโหน แต่มีลักษณะธรรมะอย่างหนึ่งที่กำลังปรากฏ เพราะความไม่รู้ จึงหลงยึดว่าเป็นเรา..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Pararawee
วันที่ 4 ก.ย. 2551

อนุโมนาค่ะ ขอบคุณมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 5 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 ก.ย. 2551

การไหวไป หรือความเคร่งตึงที่ปรากฏที่กาย ที่เรารู้ได้ในชีวิตประจำวัน แท้ที่จริงย่อยลงไปจนถึงที่สุดก็เป็นแต่เพียงนามธาตุกับรูปธาตุเท่านั้น นามธาตุ คือ จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เป็นปัจจัยให้รูปธาตุเกิดได้ รูปธาตุหนึ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว คือวาโยธาตุ (ธาตุลม) เมื่อเกิดเพราะมีจิตเป็นปัจจัยก็แสดงอาการของตนออกมา คือความไหวหรือความเคร่งตึง ปรากฏให้รู้ได้ทางกายแล้วทางใจก็รู้ต่ออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อหลงลืมสติก็กลายเป็นเราเอื้อมมือ กลายเป็นเราที่เส้นยึด เป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ป้าจาย
วันที่ 5 ก.ย. 2551

อาการตึงไหวเป็นลักษณะของธาตุลมที่ปรากฏทางกายตลอดเวลา เช่น เมื่อหนูกำลังพิมพ์ดีดใส่ข้อความอยู่นี้ นิ้วเคลื่อนไหวไปมา ก็จะปรากฏการตึงและไหว ไหวได้มาก ก็หมายความว่า ธาตุลมมากกว่า เกิดกริยาอาการเบากว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกิดกับกาย แต่เราไม่ค่อยเข้าใจ เพราะไม่เคยคิดถึงอาการที่ปรากฏ เราคิดแต่ถึงตัวเรา เราเอื้อมมือ เราขยับนิ้ว เป็นต้น ป้าก็พิจารณาเรื่องนี้อยู่หลายปี จนวันหนึ่งในขณะที่ขับรถ แล้วกำลังเหยียดขาเพื่อเหยียบคลัทช์ (ตอนนั้นยังขับคันเก่าที่ไม่ใช้ออโต) เกิดความเข้าใจว่า อ้อ นี่เอง เรื่องตึงและไหวกำลังปรากฏ ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวขึ้นมาได้อย่างมาก แม้จะเป็นเราเข้าใจก็ตาม อย่างไรหนูพาราระวีก็ต้องหมั่นพิจารณาด้วยตัวเองให้บ่อยๆ เพราะแม้ใครจะมาบอกกับเราว่า ตึงไหวเป็นอย่างไร เราก็ได้แต่รับฟัง ถ้าเราไม่พิจารณาให้เข้าใจในลักษณะนี้ ด้วยตัวเราเองแล้วก็ยังไม่ใช่ความเข้าใจของเราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ป้าจาย
วันที่ 5 ก.ย. 2551

อีกอย่างนะคะ เกี่ยวกับกาย การเคลื่อนไหว คู้เข้า เหยียดออก หนูพาราระวีลองทำกริยาเหล่านี้ติดๆ กันสักหลายๆ ครั้ง แล้วเริ่มสังเกตลักษณะอาการตึงไหวที่ปรากฏได้ชัดเจน และอาการนี้ไม่ปรากฏทางอื่นเลย นอกจากทางกายเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
happyindy
วันที่ 5 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

เวลารูปร่างกายขยับ เหยียดออก หรือคู้เข้า ด้วยท่าทางต่างๆ แล้วรู้สึกว่าติดขัด ไม่คล่องแคล่ว อย่างนั้น คือ ตึงใช่มั้ยคะ แต่ในความตึงนั้น ก็ยังสามารถขยับเป็นท่าทางต่างๆ ได้อยู่ไม่ว่าจะด้วยความคล่องแคล่วหรือติดขัดก็ตาม คือ อาการไหว ใช่มั้ยคะ

อย่างนั้นคือ ตึง...ไหว อาการก็ใกล้กันมากเลยนะคะ และเกิดตลอดเวลาที่ตื่นอยู่แล้วทำกิจการงานต่างๆ แม้แต่เวลาหลับที่บางครั้งก็มีการนอนพลิกไปพลิกมา

อาการที่ปรากฏทางกายส่วนใหญ่ อินดี้มักสังเกตได้ชัดก็แต่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ส่วนตึงและไหว มักสังเกตและรู้สึกได้ก็ตอนปวดตึงที่ร่างกายมากๆ เท่านั้น

สภาพธรรมนี้ละเอียด สังเกตและรู้ตามได้ยากจริงๆ นะคะ ส่วนใหญ่ก็ละเลยหลงลืมน่ะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 6 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ย. 2551

ลักษณะตึงหรือไหว เป็นอาการปรากฏทางกาย เช่น ลมพัด พลิ้ว ไหว ลักษณะนั้นต่างกับขณะที่แข็งกระทบค่ะ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
anong55
วันที่ 6 ก.ย. 2551
อธิบายดี ทำให้เข้าใจยิ่งขี้น ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คุณ
วันที่ 9 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Khaeota
วันที่ 10 ก.ย. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Khaeota
วันที่ 10 ก.ย. 2551

เห็นภาพดอกหญ้าไหวไม่ได้ เพราะเห็นได้แต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่เห็นภาพดอกหญ้าไหวเป็นคิดนึกทางมโนทวารวิถีหลังๆ ตึงไหวเป็นธาตุลม เป็นรูปปรมัตถ์ รู้ได้ทางกายค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
nida
วันที่ 8 เม.ย. 2552

ขณะที่กำลังพูดออกเป็นคำๆ ตามปกติชีวิตประจำวันนั้น ตึง ไหว ปรากฏแล้ว ลมออกจากปาก ปากก็ไหวด้วยธาตุลม กลืนอาหารก็ใช่ เคี้ยวอาหารก็ใช่ ขนลุกก็ใช่ สะอึกก็ใช่

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Boonyavee
วันที่ 26 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Rodngoen
วันที่ 2 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
thilda
วันที่ 3 ก.ค. 2556

ขอบพระคุณมากค่ะ เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
nopwong
วันที่ 18 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
orawan.c
วันที่ 23 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
papon
วันที่ 7 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
สิริพรรณ
วันที่ 30 ก.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ