สวดปาติโมกข์ 227 ข้อ หรือ 150 ข้อ

 
oj.simon
วันที่  8 พ.ค. 2554
หมายเลข  18331
อ่าน  9,968

ขอเรียนถามว่า การสวดปาติโมกข์มี 227 ข้อ หรือมี 150 ข้อครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 8 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 9 พ.ค. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 9 พ.ค. 2554

เรียนถามท่านผู้รู้ สวดปาติโมกข์ คืออะไร และสวดในโอกาสใด

ขอบพระคุณอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4

สวดปาติโมกข์คือการทำสังฆกรรมที่เป็นกิจของพระภิกษุ โดยการสวดสิกขาบทที่

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ 227 ข้อในวันอุโบสถคือวันพระครับ ซึ่งในวันนั้นก็จะมีการ

แสดงอาบัติของพระภิกษุผู้ที่ล่วงอาบัติ มีการแสดงโทษที่ล่วงเกินและสำรวมระวังต่อไป
[เล่มที่ 6]
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑
- หน้าที่ 379

พระพุทธานุญาตปาติโมกขุทเทส

[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป ณ ที่สงัดหลีกเร้นอยู่

ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบท

ที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปติ-

โมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ ครั้นเวลาสายัณห์ พระองค์

เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน

เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้

ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็น

ปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปาติโมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวก

เธอ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2554

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

สวดปาติโมกข์วันอุโบสถ

[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน ภิกษุทั้งหลายพา

กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

การสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ใน

วันที่ ๑๔ วันที่ ๑๕ และวันที่ ๘ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง

คือในวันที่ ๑๔ หรือวันที่ ๑๕.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 10 พ.ค. 2554

การสวดปาติโมกข์ เพื่อเป็นการทบทวนสิกขาบทแต่ละข้อ และเตือนภิกษุ

ให้สำรวมตามสิกขาบท หรือถ้ามีการล่วงละเมิด จะได้สำรวมระวังต่อไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
oj.simon
วันที่ 11 พ.ค. 2554

ผมขออนุญาตอ้างอิงความเห็นที่ 5 ของคุณ prachern.s ในกระทู้ว่าภิกขุปาฏิโมกข์หรือเรียกว่าสิกขาบทของพระสงฆ์ มี 150 หรือ 227 ข้อของคุณ pro (รายละเอียดคลิกอ่านได้จากความเห็นที่ 1 ในกระทู้นี้) โดยขอยกคำของคุณ prachern.s มาดังนี้ " ....และส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์เถระในครั้งพุทธกาล........ ดังนั้นตัวเลขของสิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์ต่างกัน แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์เพ่ือเกื้อกูลแก่ชนรุ่นหลัง ก็นับว่าเป็นพระคุณของพระอรหันต์เถระที่ท่านเห็นควรเช่นนั้น " จากคำกล่าวนี้สรุปได้ว่าเดิมสวดพระปาติ โมกข์ 150 ข้อ ส่วน 227 ข้อนี้มาจากการสังคายนาครั้งแรก ผมสรุปไว้อย่างนี้ถูกมั้ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 11 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เรียน ความคิดเห็นที่ ๘ ครับ (ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังนี้ครับ) พระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ทรงแสดงโดยประการทั้งปวงตลอดเวลาแห่งการประกาศพระศาสนาของพระองค์ คือ ๔๕ พรรษาหลังจากที่ทรงตรัสรู้แล้ว และพระธรรมวินัย ที่มีการรวบรวบเป็นพระไตรปิฎก นั้น สืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายท่านเห็นประโยชน์ของพระธรรม จึงมีการทำสังคายนา รวบรวม (สวดขึ้นพร้อมกัน ตรงกัน) ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเป็นหมวดเป็นหมู่ ทั้งพระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์แก่อนุชน (ชนรุ่นหลัง) เป็นอย่างยิ่ง ครับ สำหรับสิกขาบท ๒๒๗ นั้น มีข้อความที่ควรจะได้พิจารณา ดังนี้ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความดังกล่าวได้ที่นี่ ครับ สิกขาบท ๒๒๗ ในการสังคายนา [อรรถกถา สีลขันธวรรค] ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ oj.simon และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
oj.simon
วันที่ 11 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ khampan.a และทุกๆ ท่านครับ เมื่อได้พูดคุยระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วผมมีความสุขครับและการได้เข้ามาในเว็ปนี้ ทำให้ผมทราบว่ายังมีกัลยาณมิตรที่มีความรู้ความสามารถเหนือผมอยู่มากๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ....ผมขอนับถือจากใจจริง โดยเพราะอย่างยิ่งในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ทั้งนี้ ผมมีความรู้สึกอย่างนี้ครับ คือตราบใดที่เรายังคงอัตภาพเป็นมนุษย์ เราก็สามารถฟังและปฏิบัติตนอยู่ในมรรคมีองค์แปดซึ่งเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ได้อยู่ตราบนั้นครับ สาธุ สาธุ สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chaiyakit
วันที่ 13 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
BudCoP
วันที่ 13 พ.ค. 2554

นโม วินยสฺส

ขอนอบน้อมแด่พระวินัย

สวัสดีครับ, คุณ oj.simon, คุณ khampan.a, คุณ wannee.s และทุกๆ ท่าน ขอร่วมสนทนาด้วยคน ครับ.

สมัยพุทธกาล ต้องสวด ๑๕๐ ข้อ ครับ, แต่หลังพุทธกาลมาแล้ว พระอรรถกถาจารย์นิยมสวด ๒๒๗ ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งไว้ แต่คำนั้นไม่ได้ยกสู่พระไตรปิฎก หรือ อาจเป็นเพราะพระอรรถกถาจารย์ท่านเห็นสมควรจึงได้ยกขึ้นในวันปักษ์ด้วยก็ได้ ครับ (ซึ่งถ้าพิจารณาข้อความในอรรถกถาวัชชีปุตตสูตร ควรจะเป็นนัยะแรก, เพราะสิกขาบทค่อยๆ บัญญัติเพิ่มขึ้น ตามนิทานที่มี) .

อีกนัยหนึ่ง คือ ตามไวยากรณ์แล้ว เลข ๑๕๐ อาจเป็นอเนกสังขยา (นับโดยประมาณคร่าวๆ ให้จำง่าย สวดง่าย) ก็ได้ ครับ, แต่มตินี้ผมว่า ไม่เข้ากับอรรถกถาวัชชีปุตตสูตร.

จะอย่างไรก็ตามตั้งแต่การสังคายนาครั้งที่ ๑ เป็นต้นมา พระภิกษุเถรวาทได้สวดปาติโมกข์ ๒๒๗ เหมือนกันหมด ดังพบหลักฐานในพระไตรปิฎกหลายที่ เช่น .-

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16407

จากลิงก์ ถ้าเสขิยะ เติมเลข ๗๕ เข้าไป รวมแล้วจะได้ ๒๒๗ ครับ.

เสริม .-

1. ที่บางท่านมีความเห็นว่าว่า พระอรรถกถาจารย์ผิดที่สวดกัน ๒๒๗ ข้อ, มตินี้เท่ากับปรามาสท่านพระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ทำปฐมสังคายนาว่า เป็นผู้ทำผิด ครับ.

2. ลิงก์ที่ยกมา ท่านไม่ได้แปลเสขิยะตกนะครับ, เสขิยะ ในบาลีบางแห่ง เช่นตรงที่ผมยกลิงก์มา จะไม่มีสังขยากำหนดจำนวนไว้. ในคัมภีร์กังขาวิตรณี ท่านแสดงไว้ว่า เสขิยะนั้นเอาทั้ง ๗๕ ข้อ ในอุทเทศ และ ขันธกะทั้งหมดด้วย ครับ ดังนั้นจำนวนเสขิยะ ว่าคร่าวๆ ตามวิสุทธิมรรคและกังขาวิตรณีแล้ว จะได้เท่ากับ ๙๑,๘๐๕,๐๓๖,๐๐๐ (เก้าหมื่นล้านกว่าๆ ) - ๑๕๒ (ร้อยห้าสิบนิดๆ ) = ๙๑๘๐๕๐๓๕๘๔๘ ข้อ ครับ. อนึ่ง เลขเป็นคำในวงเล็บเป็นตัวอย่างอเนกสังขยา ครับ.

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง, สวัสดี ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
oj.simon
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

ก็เป็นเช่นนั้นเองนั่นแล

อนึ่ง ในมหาปรินิพพานสูตร ท่านพระอานนท์ถูกคณะสงฆ์ปรับอาบัติ 5 ข้อ ทั้งที่ท่านสามารถชี้แจงแสดงเหตุให้ตนพ้นอาบัติได้ทุกข้อ แต่ท่านก็ไม่เป็นผู้ไม่ดื้อถือตนเองว่าเป็น พุทธอนุชา โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่ จึงยอมให้คณะสงฆ์ปรับอาบัติ ปฏิปทาในข้อนี้แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่น่ารักน่าเคารพบูชาอย่างยิ่งในฐานะครูบารอาจารย์ ควรแก่สาธุชนจะนำไปถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างเราจึงไม่ต้องสงสัยในมติท่านผู้บริสุทธิทั้งหลายนี้เลย

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ