รู้ลักษณะของนามธรรมทางมโนทวาร

 
pirmsombat
วันที่  9 พ.ค. 2554
หมายเลข  18334
อ่าน  1,911

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

รู้ลักษณะของนามธรรมทางมโนทวารแล้วหรือยัง

ต้องระลึกรู้ แม้ในขณะที่กำลังรู้ว่า

สี่งที่เห็นเป็นอะไร

หรือว่าเป็นใคร

ก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง

..................

เพราะฉะนั้น ก็แยก ทางตากับทางใจ ออกโดย

การรู้ว่า เฉพาะทางตานี้ เพียงเห็น

และในเวลาที่กำลังจำ หรือ กำลังรู้ว่าเป็น สี่งหนึ่ง สี่งใด

ขณะนั้นก็เป็น ทางใจเสียแล้ว


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การเจริญสติปัฏฐานคือการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็น

ธรรมไม่ใช่เรา สิ่งใดมีจริงที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ให้สติ

รู้ว่าแม้ที่จริงไม่มีเรา มีแต่ธรรม เพื่อเพิกถอนความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคลตัวตนครับ

สภาพธรรมมีหลายอย่าง มีทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม การเจริญสติปัฏฐานจึง

ต้องเป็นผู้รู้ทั่ว รู้ทั่วในอะไร ในสภาพธรรมที่มีจริงทั้ง 6 ทวารคือทาง ตา หู จมูก ลิ้น

กายและใจ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กายเรียกว่าทางปัญจทวาร ทาง

ทวารทั้ง 5 ซึ่งมีสภาพธรรมที่มีจริงทั้งสภาพธรรมที่เป็นจิตเห็นที่เป็นนามธรรม ทั้งสิ่งที่

ปรากฎทางตาที่เป็นรูปธรรม ทางหูก็มีเสียงและจิตได้ยิน สภาพธรรมเหล่านี้มีจริง สติ-

ปัฏฐานสามารถระลึกลักษณะของสภาพธรรมเหล่านี้ที่เกิดทางปัญจทวารได้ครับ แต่

ไม่ใช่มีเพียงทางปัญจทวารเท่านั้น ทางมโนทวารก็มีสภาพธรรมที่มีจริง นั่นคือจิต จิต

ที่คิดนึกในเรื่องราวของสภาพธรรม ตัวจิตมีจริงเป็นที่ตั้งให้สติระลึกได้ว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เราที่คิด แต่เรื่องที่คิดไม่มีจริง คน สัตว์ บุคคลไม่มีจริงเพราะเป็นเพียงเรื่องราวที่

คิดนึกในรูปร่างสัณฐานจากสิ่งที่ปรากฎทางตาเท่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เห็นเป็นอะไร

เป็นคน เป็นสัตว์ ขณะรู้ว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งต่างๆ เป็นไปในมโนทวาร ขณะนั้น

อะไรมีจริง เรื่องที่คิดไม่มีจริงแต่จิตที่คิดมีจริง ปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานก็รู้ในลักษณะ

ของจิตที่กำลังคิดครับ นี่คือการรู้ทางมโนทวารที่เป็นธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต

แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของเรื่องที่คิด เพราะเรื่องราวไม่มีลักษณะให้รู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ค. 2554

แม้ในขณะที่กำลังรู้ว่า สี่งที่เห็นเป็นอะไร หรือว่าเป็นใคร ก็เป็นนามธรรม

ชนิดหนึ่ง เพราะหากไม่มีสภาพธรรมที่เป็นจิตที่เป็นนามธรรม ที่เป็นธาตุรู็ อาการรู้

แล้วก็จะไม่มีเรื่องราวไม่รู้ว่าเป็นสิ่งใดเลย ดังนั้นขณะที่รู้ว่าเป็นอะไร ขณะนั้นมีจิตที่

คิดนึก สติและปัญญาก็ควรรู้ว่าขณะนั้นมีธรรมคือจิตที่เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นทางมโน

ทวารครับ

แต่ที่สำคัญที่สุด ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาแม้ในเรื่องของสติ สติเป็นธรรมเป็น

อนัตตา บังคับบัญชาไมได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่การเลือกให้

สติระลึกรู้สภาพธรรมนั้น สภาพธรรมนี้ก็แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้สภาพธรรมอะไร

ก็ตามเหตุปัจจัยและอนัตตาครับ สำคัญคือฟังพระธรรมในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ใน

เรื่องของสภาพธรรมย่อมจะเป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดในอนาคต เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น สำคัญ

ที่อบรมเหตุครับ จนเมื่อสติเกิดขึ้นบ่อยๆ สติก็จะเกิดจนรู้ทั่วในสภาพธรรมทั้ง 6 ทวาร

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมถึงการะลึกรู้ลักษณะของจิตทางมโนทวารด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kulwilai
วันที่ 9 พ.ค. 2554
ขณะที่กำลังรู้สี่งที่เห็นเป็นอะไร หรือกำลังรู้ว่าเป็นใคร แท้จริงเป็นเพียงธาตุรู้ อาการรู้
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bsomsuda
วันที่ 9 พ.ค. 2554

"..ปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานก็รู้ในลักษณะของจิตที่กำลังคิดครับ

นี่คือการรู้ทางมโนทวารที่เป็นธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต

แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของเรื่องที่คิด เพราะเรื่องราวไม่มีลักษณะให้รู้ครับ..

..สติเป็นธรรมเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่การเลือกให้สติระลึกรู้สภาพธรรมนั้น สภาพธรรมนี้

ก็แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้สภาพธรรมอะไร ก็ตามเหตุปัจจัยและอนัตตาครับ..

..ฟังพระธรรมในเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ในเรื่องของสภาพธรรม

ย่อมจะเป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดในอนาคต

เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น สำคัญที่อบรมเหตุครับ.."

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 10 พ.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 10 พ.ค. 2554

วิถีจิตทางมโนทวารรับรู้ได้ทุกอารมณ์ คือ ทั้งรูปธรรม นามธรรม และบัญญัติ รูปที่รู้ทางเฉพาะทางมโนทวาร ได้แก่ ปสาทรูป สขุมรูป นามธรรมรู้ได้ทางใจอย่างเดียวบัญญัติรู้ได้ทางใจอย่างเดียว และนอกจากนั้นยังรับรู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวารด้วย ฉะนั้น ทางมโนทวารรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง แต่ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของปรมัตถ์ คือ ไม่ใช่ลักษณะปรมัตถ์นั้นจริงๆ เช่น ปสาทรูป ภาวรูป ชีวิตรูป เป็นต้นขณะที่จิตรู้รูปเหล่านั้นเป็นเพียงการรู้ในอาการของรูปเท่านั้น (ข้อความเขียนโดย study) คลิกอ่านได้ที่เรื่องราวที่คิดนึกทางมโนทวาร เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมครับ

-------------------------------------------------------------------------------------------------ดังนั้นประโยคที่ว่ารู้ลักษณะของนามธรรมทางมโนทวารคือรู้ลักษณะของจิตที่เป็นสภาพรู้ในขณะนั้น..เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เมตตา
วันที่ 11 พ.ค. 2554

จนเมื่อสติเกิดขึ้นบ่อยๆ สติก็จะเกิดจนรู้ทั่วในสภาพธรรมทั้ง 6 ทวาร

คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมถึงการะลึกรู้ลักษณะของจิตทางมโนทวารด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณหมอ, คุณpadermและ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 11 พ.ค. 2554

มโนทวารรู้อารมณ์ทุกอย่าง รู้ปรมัตถ์และบัญญัติ สติปัฏฐานเกิดหรือไม่รู้ได้เฉพาะตนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 11 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ หรือ จะเป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยทวารทั้ง ๖ นี้เลย ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงเป็นปรมัตถธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ เพราะจิตไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใดก็ตามมีลักษณะรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ แต่ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า จิต เป็น ธัมมารมณ์ คือ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ เท่านั้น ไม่สามารถรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pirmsombat
วันที่ 11 พ.ค. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนา คุณเผดิม คุณเมตตา คุณคำปั่น และทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
orawan.c
วันที่ 12 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
สมศรี
วันที่ 12 พ.ค. 2554
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
พรรณี
วันที่ 16 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Patikul
วันที่ 22 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Sea
วันที่ 20 เม.ย. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ