กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้

 
pirmsombat
วันที่  10 พ.ค. 2554
หมายเลข  18338
อ่าน  2,154

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

.................................................................

[๔๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้ในก่อน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงายอดภูเขา ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้ในก่อนคือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียงหรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำความร้ายไม่ได้ทำความเลว ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของตนที่ไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำความเลว ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล

ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้เป็นกำหนด บัณฑิตนั้นย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไห้ทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัส ข้อที่สามดังนี้ในปัจจุบัน.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยข้อความที่ยกมานั้นมาจาก พาลบัณฑิตสูตร

ซึ่งกำลังแสดงถึงลักษณะของคนพาลและลักษณะของบัณฑิตว่า

ลักษณะของคนพาลคือ คิดไม่ดี พูดไม่ดีและทำไม่ดี

ลักษณะของบัณฑิตคือ คิดดี พูดดีและทำดี

การเสวยทุกข์โทมนัส ทุกข์ใจในปัจจุบัน 3 ประการของคนพาล

คนพาลเมื่อได้ฟังคนพูดกันว่า คนพาลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

พูดเท็จและดื่มสุรา เมื่อได้ฟังแล้วก็คิดว่าแม้เราก็มีธรรมที่ไม่ดีเหล่านี้ และเราก็เป็น

อย่างนี้ด้วย คนพาลย่อมเสวยความทุกข์ทางใจ คืือทุกข์ใจ นี่คือความทุกข์ใจที่เห็นกัน

ในปัจจุบัน ประการที่หนึ่ง

คนพาลเมื่อได้เห็นการลงโทษที่ร้ายแรง มีการทรมานและการประหารชีวิต เป็นต้น

คนพาลย่อมคิดว่าเพราะเขาทำกรรมชั่วจึงได้รับผลอย่างนี้ แม้เราก็ทำกรรมชั่วนั้น หาก

เขารู้ว่าเราทำชั่ว เราก็จะถูกลงโทษอย่างนี้เช่นกัน เพราะเหตุนี้คนพาลจึงถึงความทุกข์

ใจ นี่คือความทุกข์ใจในปัจจุบันของคนพาลที่กระทำกรรมไม่ดี ประการที่สอง

คนพาลทำกรรมไม่ดีไว้ กรรมไม่ดีนั้นย่อมครอบงำเขา ไม่ละทิ้งเขาไม่ว่าจะนั่งหรือนอน

หรือไปในที่ใดก็ตาม คนพาลย่อมระลึกถึงกรรมชั่วที่ตัวเองทำไว้และคิดว่าเราไม่ได้ทำ

กรรมดีไว้เลย จึงถึงความทุกข์ใจ นี่คือความทุกข์ใจในปัจจุบันประการที่สาม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ค. 2554

ความเสวยสุขโสมนัส ความสุขทางใจในปัจจุบัน 3 ประการ

ของบัณฑิตที่ทำกรรมงามคือกรรมดีไว้

บัณฑิตเมื่อได้ฟังคนพูดกันว่า บัณฑิตเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดใ

นกาม ไม่พูดเท็จและไม่ดื่มสุรา เมือ่ได้ฟังแล้วก็คิดว่าแม้เราก็มีธรรมที่ดีเหล่านี้ และเ

ราก็เป็นอย่างนี้ด้วย บัณฑิตย่อมเสวยความสุขทางใจ คืือสุขใจ นี่คือความสุขใจที่เห็น

กันในปัจจุบัน ประการที่หนึ่งของผู้ที่กรรมดี กรรมงาม

บัณฑิตมื่อได้เห็นการลงโทษที่ร้ายแรง มีการทรมานและการประหารชีวิต เป็นต้น

บัณฑิตย่อมคิดว่าเพราะเขาทำกรรมชั่วจึงได้รับผลอย่างนี้ แต่เราไม่ได้ทำกรรมชั่วนั้น

และธรรมเหล่านี้คือการทำชั่วก็ไมไ่ด้มีอยู่ในเรา เพราะเหตุนี้บัณฑิตจึงถึงความสุขใจ

นี่คือความสุขใจในปัจจุบันของบัณฑิตที่กระทำกรรมดี กระทำกรรมงาม ประการที่สอง

ประการที่สามที่เป็นความสุขใจที่เห็นกันในปัจจุบันที่เป็นข้อความที่คุณหมอเพิ่ม

สมบัติได้ยกมา คือ บัณฑิตคิดว่าเราไม่ได้ทำกรรมชั่วเอาไว้ ทำแต่กรรมดีไว้ กรรมดี

นั้นย่อมครอบงำเขา ไม่ละทิ้งเขาไม่ว่าจะนั่งหรือนอนหรือไปในที่ใดก็ตาม บัณฑิตย่อม

ระลึกถึงกรรมดีที่ตัวเองทำไว้และคิดว่าเราไม่ได้ทำกรรมชั่วไว้เลย และผู้ที่ทำกรรมดี

ไม่ทำกรรมชั่วย่อมไปเกิดในภพภูมิที่ดี จึงถึงความสุขใจ นี่คือความสุขใจในปัจจุบัน

ประการที่สาม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ค. 2554

จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม บุคคลจะทำดีก็ตามจะทำชั่วก็ตามย่อมสะสมไว้และกรรม

นั้นย่อมเหมือนกับเงาตามตัว ติดตามบุคคลนั้นไปเมื่อมีเหตุปัจจัยจึงให้ผล ดังเช่น

กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้ กรรมงามอันเป็นไปทางกายคือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์

และไม่ประพฤติผิดในกาม เป็นกายสุจริต กรรมอันงามอันเป็นไปทางวาจาคือไม่พูด

เท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเป็นวจีสุจริต กรรมงามอันเป็นไป

ทางใจคือ ความไม่โลภ ความไม่พยาบาทและความเห็นถูก ความเห็นตรง เป็น

มโนสุจริต ผู้ที่ทำกรรมงามเหล่านี้ กรรมงามนั้นย่อมครอบงำเขาไม่ว่านั่งหรือนอนหรือ

อยู่ที่ใดเพราะเหตุว่ากรรมดีที่ทำแล้วย่อมสะสมในจิตนั้น กรรมดีย่อมติดตามเขาไปทุกที่

เหมือนเงาตามตัวนั่นเองครับ และเมื่อกรรมดีแล้ว บัณฑิตย่อมระลึกถึงกรรมดีที่ได้ทำ

ไว้และระลึกว่าไม่ได้ทำกรรมชั่ว ย่อมถึงความสุขใจในปัจจุบันเพราะการระลึกถึงความดี

กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้ครับ

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 53

" ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็น

ใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส

แล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไป

ตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว

ฉะนั้น.

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ........ศีลงาม ธรรมงาม ปัญญางาม [กัลยาณสูตร]

---------------------------------------------------------------------------------------

การศึกษาพระธรรม ประโยชน์คือการเห็นโทษของอกุศลกรรมและกิเลสประการ

ต่างๆ และน้อมเข้ามาด้วยการเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศลทุกๆ ประการ อันเป็นกรรม

งามพร้อมๆ กับการเจริญอบรมปัญญาจึงจะชื่อได้ว่าเป็นผู้ได้สาระจากพระธรรมครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นความจริงที่ว่า บุคคลผู้ทำกุศล (ความดี) มีประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องของทาน ศีล และ การอบรมเจริญปัญญา ประพฤติสุจริต ทั้งทางกายทางวาจา และ ทางใจ ย่อมบันเทิง (ยินดีปราโมทย์) ด้วยความบันเทิง เพราะกรรม (คือ การกระทำของตนเอง) ในโลกนี้ว่า "กรรมชั่ว เราไม่ได้ทำเลย , กรรมดี เราทำแล้วหนอ" เมื่อบุคคลนี้ละจากโลกนี้ไปแล้ว ไปเกิดในภพใหม่ ย่อมบันเทิง ด้วยความบันเทิงเพราะวิบาก (ผลของกรรม) อีกด้วย กล่าวคือผลของกรรมดี ย่อมนำมาซึ่งสิ่งที่น่าปรารถนา น่าชอบใจเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลผู้กระทำกุศลไว้ จึงไม่เดือดร้อนใจทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า แต่ถ้าเป็นฝ่ายตรงกันข้าม คือ ผู้ทำบาปกรรมไว้ ย่อมเศร้าโศกแม้ในโลกนี้ด้วย เพราะได้กระทำแต่กรรมชั่ว ไม่ได้กระทำกรรมดีไว้เลย จิตใจเศร้าหมองไม่ผ่องใส และเมื่อละจากโลกนี้ไปย่อมเดือดร้อนในโลกหน้าต่อไปอีก อันเนื่องมาจากการได้รับผลของอกุศลกรรมที่ตนได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง อีกประการหนึ่ง บัณฑิตผู้ได้ทำกุศลไว้ เมื่อเห็นกรรมอันหมดจดของตนเอง คือ เห็นความถึงพร้อมแห่งบุญกรรมที่ตนได้กระทำไว้ก่อนที่จะละจากโลกนี้ไป ย่อมบันเทิงแม้ในโลกนี้, เมื่อละจากโลกนี้ไป ก็ย่อมบันเทิงอย่างยิ่ง แม้ในโลกหน้า ด้วย, กุศลทุกประการ ความดีทุกอย่าง ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นสุข ยังสัตว์ผู้กระทำให้เป็นไปในสุคติอย่างเดียว อันบุคคลได้กระทำแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ประเสริฐอย่างแท้จริง บุคคลผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง บ่อยๆ เนืองๆ มีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ย่อมจะมีความเห็นถูกว่าอะไรควร อะไร ไม่ควร อะไรดี อะไรชั่ว ชีวิตของผู้ที่เข้าใจพระธรรม จึงมีความประพฤติเป็นไปที่ดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ คล้อยตามปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น เริ่มถอยห่างจากความเป็นพาล คือ อกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วเพิ่มพูนความเป็นบัณฑิต คือ กุศลธรรม ยิ่งๆ ขึ้นไป ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pirmsombat
วันที่ 10 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณเผดิม และคุณคำปั่น มากครับ

ความคิดเห็นของคุณทั้งสอง ดีและมีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาธรรมมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 10 พ.ค. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 10 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ZetaJones
วันที่ 11 พ.ค. 2554
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 11 พ.ค. 2554

บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสีย พึงเจริญธรรมฝ่ายขาว

พึงละจากกิเลสอันเป็นเครื่องกังวล พึงพากเพียรที่จะออกจากวัฏฏะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 12 พ.ค. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พรรณี
วันที่ 16 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
raynu.p
วันที่ 21 ก.ค. 2554

ม.ศ.พ. มากด้วยบัณฑิต ผู้มีปัญญาโดยแท้ พร้อมเพรียงกันศึกษา

ช่วยกันร่วมกันเผยแพร่พระธรรมที่ถูกตัองตรงตามความจริง

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
natre
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

ก่อนที่จะได้มาศึกษาพระธรรมจาก อ.สุจินต์ และท่านผู้รู้หลายๆ ท่านทีท่าน

ผเดิมได้เอ่ยชื่อมานั้น ผมยังหาข้อสรุปไม่ได้ในข้อสงสัยว่าใครคือบัณฑิต และคนมี

ปัญญา แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากท่านดังกล่าว มีท่านอาจารย์สุจินต์เป็นต้น ฟังซ้ำ

แล้วซ้ำอีก จนเกิดความรู้ของตนเองที่คิดว่า ถูกและตรง ในความรู้สึกของตนเอง จากที่

เคยเข้าใจยาก และเคยฟังแบบงงๆ มา ก็จะเข้าใจง่ายขึ้นกว่าการฟังทีแรกๆ และก็พอ

ได้หายสงสัยในคำว่าบัณฑิตและคนมีปัญญาลงไปได้บ้าง ผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณ

เรณูที่เขียนในกระทู้มา ก็ขอกราบขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลจิต และความมีเมตตา

ของท่านอาจารย์ทุกๆ ท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ