จิตที่ครุ่นคิดแต่อกุศลของผู้อื่นตลอดเวลา

 
สุขภาวะ
วันที่  7 ก.ค. 2553
หมายเลข  16667
อ่าน  2,989

บางครั้งไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงมีเรา ที่ครุ่นคิดแต่เรื่องราวที่เป็นอกุศลของคนอื่นตลอดเวลา มีเราที่จะพยายามเข้าใจว่า ทำไมเขาจึงประพฤติตนในทางทุจริต เหตุใดเขาจึงไม่เกรงกลัวบาปหรือผลของอกุศลกรรม แต่แล้วยิ่งเราครุ่นคิดซึ่งก็ไม่สามารถบังคับบัญชาให้หยุดคิดได้ กลับทำให้จิตใจเศร้าหมอง มีโทสเจตสิก คิดโกรธ คิดจะหลีกหนีไปให้ไกลบุคคลดังกล่าว จะได้ไม่ต้องอดทนอยู่ในสภาวะทุกข์เพราะฝืนความรู้สึก

เวลาทบทวนสภาพธรรมะที่ได้ศึกษามา เข้าใจว่า เป็นภาวะของการสะสมกิเลส และมีเราอยู่ตลอดเวลาที่คิด ซึ่งขณะนั้นจิตไม่น้อมไปในกุศลธรรม แต่จะฝึกฝนอย่างไรเพื่อให้ใจไถ่ถอนความติดข้อง จากการเป็นผู้ซึ่งมีโทสะจริต คิดเพ่งโทษผู้อื่น ทั้งที่ขณะที่คิด หมายถึง เรากำลังสะสมอกุศลธรรมอยู่ตลอดเวลา ขอสหายธรรมทั้งหลาย ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 ก.ค. 2553
ทั้งหมดเป็นอกุศลที่สะสมมานานแสนนาน เป็นอนัตตา เมื่อมีปัจจัยก็เกิดขึ้น ไม่สามารถห้ามหรือบังคับไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่การสะสมกุศลธรรม ด้วยการฟังพระธรรม ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตา.. เจริญสติปัฏฐาน ย่อมทำให้อกุศลเกิดน้อยลง มีกุศลเกิดแทนที่ได้บ้าง ดังนั้นขณะใดที่คิดถึงแต่อกุศลของคนอื่น ขณะนั้นชื่อว่าขาดเมตตา ขาด กรุณาขาดอุเบกขา ขาดขันติ.. ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฉลาด ชื่อว่าไม่เห็นโทษของอกุศล ไม่เห็นคุณของกุศล.. ดังนั้นสมควรเป็นคนเช่นนั้นหรือ...?
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 7 ก.ค. 2553
แหม! คุณสุขภาวะ คิดรังเกียจภูมิมนุษย์ ปถุชนคนธรรมดา ดีนะที่คุณไม่ไปคิดอิจฉา

คนที่ทำชั่วได้ดี ซึ่งมีถมไป ก็ในแสนโกฏิกัปป์ที่ผ่านมา หรือในอนาคต เจตนากรรมแม้ดับ

ไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยได้
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
choonj
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ครุ่งคิดอกุศลของคนอื่น ส่วนผมนั้นคิดเกิดเป็นอกุศลของตนเอง สั่งสมมาอย่างนี้ก็เป็นปัญหาอย่างนี้ ท่านบอกว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแสนั้น จึงไม่ต้องไปหาทางแก้ว่าทำไมเขาประพฤติทุจริต ไม่กลัวบาป หาทางหยุดคิด ฯลฯ เมื่อสติเป็นเครื่องกั้น ก็ต้องเจริญสติ โดยการสะสมกุศล ฟังธรรม รักษาศีล เจริญเมตตา กรุณา อุเบกขา ขันติ อีกอย่าง ท่านสอนว่า ไม่ควรคิดผู้อื่น ให้ช่วยตัวเองรอดก่อน เมื่อไม่คิดปัญหาของผู้อื่นก็จะเหมือนผม คิดเกิดเป็นอกุศลของตนเอง เพราะต้องสังสมมาแน่ๆ สติที่มีกำลังก็จะกั้นกระแสนั้นได้แน่ๆ ยิ่งกั้นสติก็ยิ่งมีกำลัง ให้คิดว่าจะคิดไปทำไม ความคิดส่วนใหญ่เป็นอกุศล ล้วนไร้สาระ

อุทธัจจเกิดกับอกุศลจิตทุกดวงคือฟุ้งซ่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 ก.ค. 2553

การคิดถึงสิ่งที่ดับไปแล้วเกิดอกุศลเป็นสิ๋งทีไม่ควรคิด....เช่นคิดแต่อกุศลของผู้อื่น

แต่ความคิดดังกล่าวเป็นเรื่องของการสะสมบังคับบัญชาไม่ได้
.การไตร่ตรองว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์..สามารถละชั่ว

คราว อกุศลวิตก..เป็นการคิดเรื่องที่เป็นอกุศล...

เมื่ออกุศลวิตกเกิดขึ้น

ทำไมจึงจะไม่ระลึกรู้ว่าเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง

เมื่อรู้ลักษณะของอกุศลวิตกชัดขึ้น ก็จะละคลายการยึดถือว่าเป็นตัวตนลง

เมื่อยังไม่ใช่พระอรหันต์ อกุศลธรรมก็ย่อมเกิด

อกุศลธรรมจะดับหมดสิ้นเป็นสมุจเฉทก็เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้น

เชิญคลิกอ่าน...จะยับยั้งอกุศลวิตกได้อย่างไรอนิมิตตสมาธิดับอกุศลวิตก ๓

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 ก.ค. 2553

มรรคมีองค์ 8 ตอนที่ 3....โดย นีน่า วัน กอร์คอม
แปลโดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์ก.

ทราบว่า สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบเป็นมรรคองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ สัมมาสังกัปปะคิดเรื่องนามและรูปหรือ

ข.

สัมมาสังกัปปะ เป็นเจตสิกธรรมดวง (ประเภท) หนึ่งซึ่งได้แก่วิตกเจตสิก ภาษาอังกฤษมักจะแปลว่า "applied thought" ลักษณะของวิตกเจตสิกนั้นไม่เหมือนกับที่เราใช้คำว่า "คิด" ตามที่เราพูดกัน ในวิสุทธิมรรค (ปฐวีกสิณนิเทส) แสดงลักษณะของวิตกเจตสิก

ดังนี้ "วิตกนี้นั้น มีอันจรดลงซึ่งจิตในอารมณ์เป็นลักษณะ มีอันกระทบก่อนและอัน

กระทบโดยทั่วๆ ไปเป็นรส (กิจ) …..มีการนำจิตไปสู่อารมณ์เป็นเครื่องปรากฏ"


วิตกซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะในมรรคมีองค์ ๘ เกิดพร้อมกับสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

และสัมมาสติ (การระลึกชอบ) สัมมาสังกัปปะเกิดกับจิตที่ระลึกรู้ลักษณะของนามและรูป

ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรารู้ว่าวิตกนำจิตไปสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะในมัค

ค์มีองค์ ๘ นำจิตไปสู่นามธรรมและรูปธรรมที่เป็นอารมณ์ ในขณะนั้น วิตกเจตสิกเกิด

ร่วมกับจิตและดับร่วมกับจิต สัมมาสังกัปปะเกิดกับจิตที่รู้ลักษณะของนามธรรมและ

รูปธรรม การรู้ลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏไม่เหมือนกับการคิดเรื่องสภาพธรรมที่ดับไป

แล้ว สัมมาสังกัปปะละมิจฉาสังกัปปะซึ่งเป็นการดำริผิด

ก.

สัมมาสังกัปปะละมิจฉาสังกัปปะได้อย่างไร

ข.

สัมมาสังกัปปะในมรรคมีองค์ ๘ เกิดกับจิตที่ระลึกรู้ลักษณะของนามและรูป ขณะนั้นไม่มีความดำริผิด แต่แล้วความดำริผิดก็เกิดขึ้นอีกได้ แต่เมื่อเจริญมรรคมีองค์ ๘ ต่อไป มิจฉาสังกัปปะก็หมดได้ในที่สุด

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
รากไม้
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ในขณะที่เราไปคิดพิจารณากิเลสของคนอื่น ขณะนั้นขาดปัญญาที่จะรู้ว่า ถ้าทำเช่นนั้น จะไม่เกิดประโยชน์ในการ "ขัดเกลากิเลส" ของตนเองเลยซักนิด ...ถ้าทำได้ ควรจะเจริญสติให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้ความคิดอยู่ที่ตัวเราเอง อ่านความคิดตัวเราแทน ที่จะไปอ่านความคิดคนอื่นว่า เขาทำอย่างนี้เพราะเขาคิดอะไรอยู่

การที่หันมามองดูความคิดของตัวเราบ่อยๆ จนเกิดเป็นความเคยชินแล้ว ก็จะรู้ชัดได้ว่า แท้จริงแล้วเราไม่อาจอ่านความคิดใครได้หรอก คนร้อยคนทำกิจอย่างหนึ่ง พวกเขาก็มีความคิดในกิจนั้นๆ แตกต่างกันออกไปหลายแขนงมากมาย จึงเห็นความไร้สาระที่เราจะไปตามรู้ความคิดคนอื่น แล้วหันมาพิจารณาความคิดตนเองแทน

สรุปรวมคือ ถ้าหากเราศึกษาให้มากและพิจารณาให้มากจนเห็นโทษของสิ่งที่กำลังทำ เมื่อรู้ชัดว่ามีโทษ มีภัยต่อตน มีความไร้สาระ และเป็นอกุศล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ...แล้วสติจะเกิดขึ้นมาเอง เพื่อละอกุศลกรรมเหล่านั้น โดยที่ไม่ต้องไปพยายามทำอะไร

อนึ่ง การที่จะเจริญสติให้มากนั้น เป็นผลจากการที่เราศึกษามากพิจารณามาก ไม่ใช่การที่เราไปพยายาม ค้นหาสติจากที่หนึ่งที่ใด หรือไปหาวิธีอื่นที่ให้สติเกิดบ่อยๆ จนเกิดความฟุ้งซ่านแทนที่จะเกิดสติฯ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 7 ก.ค. 2553
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่ครุ่นคิดถึงอกุศลของคนอื่น ขณะนั้นเพิ่มอกุศลให้กับตนเอง ควรอย่างยิ่งที่จะได้พิจารณาตามความเป็นจริง เพื่อความเจริญยิ่งขึ้นในกุศลธรรม ดังต่อไปนี้คือ บุคคลผู้ที่ฉลาดย่อมหากุศลของคนอื่นเพื่อจะได้อนุโมทนา (ยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำ) และหาโทษของตนเองเพื่อจะได้ขัดเกลา แต่ถ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดก็จะตรงกันข้ามกัน คือ หากุศลของตนเองและหาโทษของบุคคลอื่น ขณะที่หาโทษของบุคคลอื่นอกุศลก็เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจ ขณะที่หากุศลของตนเองขณะนั้นก็อาจจะเกิดความทะนงตน ความสำคัญตนได้ ซึ่งเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่ฉลาดจริงๆ ย่อมหาโทษของตนเองว่ามีโทษอะไรบ้าง ที่คนอื่นอาจจะไม่เห็นอาจจะไม่รู้ ตนเองเท่านั้นที่จะรู้ดี

และในขณะเดียวกันที่มีการเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ก็ควรหากุศลของคนอื่นเพื่อจะได้อนุโมทนา ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกวันๆ กุศลจิตย่อมเจริญ เพราะเหตุว่าขณะที่อนุโมทนาในกุศลของคนอื่น ก็เป็นกุศล เป็นความดี และเมื่อเห็นโทษของตนเองว่าเป็นโทษตามความเป็นจริง ก็จะได้ขัดเกลาละโทษนั้นยิ่งขึ้น ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ต้องอาศัยความเป็นผู้ว่าง่าย (ไม่ใช่ว่ายาก) ต่อคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-สัมพุทธเจ้า จึงจะทำให้เป็นผู้มีความเจริญในกุศลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปได้ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ทำไมต้องแบ่งแยกเป็นอกุศล"ของเรา" เป็นอกุศล"ของเขา" ด้วยล่ะค่ะ?

ในเมื่ออกุศลก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง

เกิดกับเราหรือเกิดกับเขา ก็มีสภาวลักษณะเดียวกัน ไม่ต่างกันตรงไหนเลย

พิจารณา ศึกษาและทำความเข้าใจตรงนี้ไม่ดีกว่าหรือค่ะ

ความพยายามปิดกั้นไม่ให้อกุศลจิตเกิด เท่ากับเพิ่มความเป็น "เรา" เข้าไปอีก

แทนที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังเกิด มี ปรากฏในขณะนั้นจริงๆ

ทั้งกุศลหรืออกุศล

ทั้งของเราหรือของเขา

ว่าเป็นแต่เพียง....ธรรม

ก็จะไม่เดือดร้อนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 8 ก.ค. 2553

คนที่มีปัญญา เห็นอกุศลของคนอื่น เป็นเครื่องเตือนใจ ให้เราไม่

ประมาท เจริญกุศล เพื่อละอกุศล เจริญปัญญาเพื่อละอวิชชาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 8 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
michii
วันที่ 8 ก.ค. 2553

แม้ความคิดที่เป็นอกุศลที่ เราว่า เราคิดอกุศล

หรือเราคิดถึงอกุศลของผู้อื่น

ความคิดนั้น มันก็เป็นอนิจจัง

เกิดขึ้นแล้ว มันก็ดับไปแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 8 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
nongpoo52
วันที่ 8 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนา....ขออนุโมทนา.....ขออนุโมทนา...สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
jintana
วันที่ 10 ก.ค. 2553

เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ Khampan.a จะนำไปใช้เป็นข้อเตือนใจค่ะ

ขออนุโมทนา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ruttikarn
วันที่ 14 ก.ค. 2553

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์และคณะ

และคุณ ajarnkruo (ความคิดเห็นที่ ๔)

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
jintana
วันที่ 1 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณ คุณ ajarnkruo และอ.สุจินต์ค่ะ จะน้อมนำไปปฏิบัติค่ะ

เพราะดิฉันก็มักโกรธในอกุศลของผู้อื่นเช่นกันค่ะ

ขออนุโมทนา สาธุ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ