ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้ [มัชฌิมนิกาย]

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  26 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14879
อ่าน  1,556

[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45-46

[๔๕๑] ท่านรัฐปาละได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้อื่นอีกว่า

เราเห็นมนุษย์ทั้งหลายในโลก ที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์แล้วย่อมไม่ให้เพราะความหลง โลภแล้วย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ และยังปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป พระราชาทรงแผ่อำนาจชำนะตลอดแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นที่สุด มิได้ทรงรู้จักอิ่มเพียงฝั่งสมุทรข้างนี้ ยังทรงปรารถนาฝั่งสมุทรข้างโน้นอีก พระราชาและมนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมากยังไม่สิ้นความทะเยอทะยานย่อมเข้าถึงความเป็นผู้พร่องอยู่ ละร่างกาย ทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้

คนเป็นอันมากทำบาปกรรมเพราะความหลงในภพน้อยภพใหญ่ เพราะไม่มีปัญญาเครื่องให้ถึงที่สุด สัตว์ที่ถึงการท่องเที่ยวไปมา ย่อมเข้าถึงครรภ์บ้าง ปรโลกบ้างผู้อื่นนอกจากผู้มีปัญญานั้น ย่อมเชื่อได้ว่าจะเข้าถึงครรภ์และปรโลก หมู่สัตว์ผู้มีบาปธรรม ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะ กรรม ของ ตน เอง ใน โลก หน้าเปรียบเสมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะโจรกรรม มีตัดช่อง เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเอง

ฉะนั้น ความจริง กามทั้งหลายวิจิตร รสอร่อยเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิต ด้วยรูปมีประการต่างๆ มหาบพิตร อาตมภาพเห็นโทษในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นจงบวชเสีย ผลไม้ทั้งหลายยังไม่หล่นทีเดียวมาณพทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมมีสรีระทำลายได้ มหาบพิตร อาตมภาพรู้เหตุนี้จึงบวช ความเป็นสมณะ เป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด เป็นคุณประเสริฐแท้ ดังนี้แล.

จบ รัฏฐปาลสูตร ที่ ๒


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 1 พ.ย. 2553
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ