คำว่า ปฏิบัติที่ใช้กันในภาษาไทยกับปฏิบัติในภาษาบาลี ความหมายไม่ตรงกัน กล่าวคือ โดยมากจะเข้าใจกันว่า เป็นการไปทำ แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่การไปทำ เพราะเหตุว่า ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ ไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมา แต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม นั่นก็คือ สติ และสัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติถูกต้องย่อมมีไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคำว่าปฏิบัติธรรมนั้น ในพระไตรปิฎกแสดงถึงคำเต็มไว้ คือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมคือ สมควรแก่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุมรรค ผล นิพพาน ครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ถ้าไม่ศึกษาอย่างถ่องแท้และจริงจัง ก็มีโอกาสเข้าใจผิดว่า
ปฏิบัติธรรม คือ ไปทำปฏิบัติ
เรียนท่านวิทยากร การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จะเข้าใจได้ไหมครับว่า เป็นการที่สังขารขันธ์ปฏิบัติ หรือจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น ครับ
ขอบคุณ