คนฆ่างู

 
สารธรรม
วันที่  27 พ.ย. 2551
หมายเลข  10528
อ่าน  2,506

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความบางตอนจาก แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๗๑๗

บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์


... คนฆ่างู ...

" นฆ่างู " บางท่านก็เข้าใจว่า มีความเมตตากรุณาสงสารงูที่ถูกฆ่า แต่ว่าจิตในขณะนั้น หวั่นไหวแล้วด้วยความชังในคนที่ฆ่างู มีคำพูดที่แสดงว่า คนนั้นใจร้าย หรือเป็นผู้ที่ไม่ควรจะกระทำสิ่งนั้นเลย แต่ขอให้ระลึกรู้สภาพลักษณะของจิตในขณะนั้นว่า จิตที่มีต่อคนที่ฆ่างูนั้นเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเมตตาไม่ได้ เป็นอุเบกขา คือ ไม่หวั่นไหว

ทุกคนย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ถ้ามีเมตตาก็น่าสงสารคนที่ทำอกุศลกรรม เพราะเขาย่อมได้รับผลของอกุศลกรรมนั้น แล้วท่านก็จะไม่เดือดร้อนใจ ไม่ใช้วาจาที่ไม่สมควร หรือวาจาที่รุนแรงแก่บุคคลนั้น เพราะขณะนั้นมีเมตตา รู้ว่าบุคคลนั้นย่อมได้รับผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น ก็อาจจะเกิดกุศลจิต ที่เป็นเมตตาต่อบุคคลนั้นก็ได้ หรือว่าอุเบกขาต่อบุคคลนั้นก็ไ

พราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวัน อย่าเห็น อกุศล เป็นกุศล อย่าเข้าใจว่าอกุศลธรรมนั้นดีที่จะต้องใช้คำที่รุนแรงกับผู้ที่ประกอบอกุศลกรรม เพราะว่าไม่มีความจำเป็นเลยที่จิตจะหวั่นไหวไปอย่างนั้น เพราะจิตที่หวั่นไหวไปนั้น เป็นอกุศลแล้ว พราะฉะนั้น ถ้าอบรมเจริญปัญญา สามารถที่จะรู้ลักษณะของความคงที่ของจิต ที่ไม่หวั่นไหวด้วยความรักความชัง ก็ย่อมเจริญกุศลที่เป็นอุเบกขาบารมีได้มากขึ้น

วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง)

ประการที่ ๓๕ เมตฺตายนามุเขน ราโค วญฺจติ ราคะ (ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเมตตา

ประการที่ ๓๖ กรุณายนาปฏิรูเปน โสโก วญฺเจติความเศร้าโศก ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความกรุณา

ประการที่ ๓๗ มุฑิตาวิหารปฏิรูเปน ปหาโส วญฺเจติความร่าเริง ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยมุฑิตา

ประการที่ ๓๘ อุเปกขาวิหารปฏิรูปเปน กสเลสุ ธมฺเมสุ นิกฺขิตฺตฉนฺทตา วญฺเจติความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในกุศลธรรมทั้งหลายย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา

(ข้อความบางตอนจาก)

อรรถกถาเนตติปกรณ์ ยุตติหารวิภังควรรณนาแปลและเรียบเรียงโดย...มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

ขออุทิศส่วนกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คนเจ้าโทสะ
วันที่ 27 พ.ย. 2551

พราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวัน อย่าเห็น อกุศล เป็นกุศล อย่าเข้าใจว่าอกุศลธรรมนั้นดีที่จะต้องใช้คำที่รุนแรงกับผู้ที่ประกอบอกุศลกรรม เพราะว่าไม่มีความจำเป็นเลยที่จิตจะหวั่นไหวไปอย่างนั้น เพราะจิตที่หวั่นไหวไปนั้น เป็นอกุศลแล้ว พราะฉะนั้น ถ้าอบรมเจริญปัญญา สามารถที่จะรู้ลักษณะของความคงที่ของจิต ที่ไม่หวั่นไหวด้วยความรักความชัง ก็ย่อมเจริญกุศลที่เป็นอุเบกขาบารมีได้มากขึ้น

พยายามทำใจอยู่ว่า อย่าโกรธ เกลียด "คนฆ่างู"

พยายามทำใจอยู่ว่า อย่าโกรธ เกลียด "คนที่กำลังทำชั่ว"

ทำได้บ้างแล้ว ดีใจจัง (อีกแล้ว)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 27 พ.ย. 2551

สาธุ

วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง) น่าสนใจนะครับ ถ้าเอามาลงให้ครบ เป็น 1 กระทู้ คงเป็นประโยชน์มาก ขออนุโมทนาครับ

ขอเชิญอ่านกระทู้

10636 วัญจกธรรม ๓๘ ประการ โดย บ้านธัมมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ย. 2551

ให้เมตตาและสงสารคนที่กำลังทำอกุศลกรรมบถ เช่นการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ค่ะ และที่สำคัญการอบรมปัญญา ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าอะไรกำลังปรากฏ เช่น จิตเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ก็รู้ว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่งปรากฏแล้วดับไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 28 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 28 พ.ย. 2551

ทุกวันนี้ถูกธรรมหลอกลวงอยู่เกือบทั้งวัน จึงต้องค่อยๆ อบรมความความรู้ ความเข้าใจถูกต้องต่อๆ ไปค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 29 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 30 พ.ย. 2551

เป็นผู้หนึ่งที่มักโดนวัญจกธรรมหลอกลวงอยู่บ่อยๆ ด้วยเช่นกัน

ขออนุโมทนาคุณสารธรรม

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 1 ธ.ค. 2551

ปุถุชนส่วนใหญ่ถ้าเห็นแล้วรู้ว่าไม่ใช่งู ก็มักจะไม่กลัวเพราะไม่ห่วงว่า ตัวเองจะเป็นอันตรายถ้าเห็นแล้วรู้ว่าเป็นงู หรือสงสัยว่าเป็นงูก็มักจะกลัวเพราะห่วงว่า ตัวเองจะเป็นอันตรายเมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้ตามการสะสมค่ะเหตุเพราะยังมีตัวเอง และรักตัวเอง ห่วงตัวเองที่สุดทุกชีวิตรักตัวเองที่สุด ไม่ว่าจะงู หรือคนถ้ามีปัจจัยให้สติเกิด ระลึกรู้ความจริงข้อนี้ ว่าไม่มีชีวิตไหนที่อยากจะถูกเบียดเบียนก็จะผ่อนหนักเป็นเบาได้...แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถ้าสติไม่เกิดค่ะการเบียดเบียนชีวิตกันจึงไม่มีวันจบสิ้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khan
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนา กับทุกท่าน ที่มีความศรัทธา ในพระธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 13 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ