การยึดถือด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิ


        ผู้ฟัง กราบเรียนถามอาจารย์วิชัยครับ เมื่อกี้บอกว่า ขณะที่ปรมัตถธรรมไม่ปรากฏ ทุกขณะเป็นตัวตนตลอด แม้กระทั่งเข้าใจธรรมด้วยหรือครับ

        อ.วิชัย พูดถึงขณะที่มีการยึดถือด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ขณะนั้นยึดถือด้วยความเป็นเรา ขณะที่ยึดถือตัณหา ชอบไหมครับถ้าเป็นของที่สวยงาม

        ผู้ฟัง ชอบครับ

        อ.วิชัย ขณะนั้นเป็นตัวเราที่ชอบ หรือความสำคัญตน แต่ในขณะที่ฟังก็ไม่ได้ยึดถือ ขณะที่ฟังเข้าใจ ก็ไม่ได้ยึดถือว่าเป็นตัวตน ต้องแยกขณะกัน ขณะที่ยึดถือด้วยตัณหา มานะ หรือทิฏฐิ

        ผู้ฟัง ขณะที่ฟังแล้วเข้าใจ ขณะนั้นไม่ได้ยึดถือว่าเป็นตัวตน

        อ.วิชัย แต่เพียงเข้าใจขั้นการฟัง ยังไม่ถึงขั้นที่สติจะระลึกรู้ในลักษณะของสภาพธรรม คือ เรื่องของสภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงๆ สิ่งที่ยึดถือ คือ เรื่องของสภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงๆ สิ่งที่ยึดถือ คือ ด้วยตัณหา ความติดข้องความพอใจที่ยังเป็นเราอยู่ มี ใช่ไหมครับ ขณะนี้ แต่ขณะที่เป็นกุศล ก็ไม่ได้ยึดถือว่าไม่มีตัณหานี่ครับ ไม่ได้เกิดขณะนั้น

        ผู้ฟัง แล้วยังเป็นตัวตนไหมครับ ทานนอกพระพุทธศาสนาอย่างนี้

        อ.วิชัย ขณะนั้นเป็นกุศล

        ผู้ฟัง แต่ยึดด้วยตัณหาหรือไม่

        อ.วิชัย ขณะนั้นไม่ได้ยึดถือว่าเป็นตัวตน ขณะเป็นกุศล แต่ก็ไม่ได้ละความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะเหตุว่าขณะที่เป็นกุศล ไม่มีความยึดถือ ไม่ได้เกิดในขณะนั้น เพราะการยึดถือด้วยตัณหา มานะ หรือทิฏฐิ ขณะใดที่ตัณหา มานะ ทิฏฐิเกิด ถ้ามีความติดข้องว่าเป็นเรา มีจริงใช่ไหมครับ ขณะที่ยังมีความยึดถือว่าเป็นเรา แต่ขณะที่เป็นกุศล ก็ไม่มีความยึดถือ ไม่มีความติดข้อง เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นกุศล แต่แม้ขณะนั้นก็ยังไม่ได้ละความยึดถือว่าเป็นตัวตน เพราะสติไม่ได้ระลึกรู้ในลักษณะของสภาพธรรม

        ผู้ฟัง แล้วขณะที่ฟังธรรมเข้าใจ ก็ไม่ใช่ยึดถือว่าเป็นตัวตนด้วย แต่บางขณะถ้าเกิดเข้าใจแล้ว ความเข้าใจเป็นของเรา

        อ.วิชัย เป็นคนละขณะกัน ต้องมีความละเอียดว่า ขณะใดเป็นความติดข้อง ความยินดี ความพอใจ ที่ยังเป็นเราอยู่ กับขณะที่เป็นกุศล เป็นความเข้าใจขั้นการฟัง ละได้แค่ขั้นการฟังเท่านั้น

        ผู้ฟัง เมื่อเช้าไม่แน่ใจว่า ฟังผิดหรือเปล่า มัจฉริยะเกิดกับอกุศลจิต เป็นโทสเจตสิกหรือครับ

        อ.วิชัย มัจฉริยะเป็นมัจฉริยเจตสิก เกิดพร้อมกับโทสะ

        ผู้ฟัง ตระหนี่นะครับ ไม่ให้ แต่เป็นโทสะ คือ โทสะมีลักษณะที่ผลักออกไป

        อ.วิชัย ชอบไหมครับ ที่จะให้คนมาขอ ที่ยังมีความตระหนี่ขณะนั้น พอใจหรือไม่พอใจ หรือว่าดีใจมากขณะนั้น

        ผู้ฟัง ก็ไม่ชอบครับ

        อ.วิชัย ครับ เกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา คือ เมื่อมีความตระหนี่ มีความไม่พอใจที่ของของเราจะเป็นของคนอื่น หรือเป็นสาธารณะแก่บุคคลอื่น ก็ต้องเกิดกับโทมนัสเวทนา เกิดกับโทสเจตสิก ขณะนั้นเป็นลักษณะของมัจฉริยะเป็นความตระหนี่

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 339


    หมายเลข 12434
    23 ม.ค. 2567