กว่าจะไม่ใช่เรา


        ผู้ฟัง เวลาศึกษา เราจะต้องเข้าใจคำต่างๆ ให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม โดยที่เราอย่าไปสนใจคำ จนกระทั่งปิดบังลักษณะของสภาพธรรม คือ ถ้าเราไปสนใจคำมาก เช่น จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ทำให้เราไม่รู้ลักษณะ มันจะเป็นอุปสรรค ที่เรียกว่า บัญญัติปิดบังสภาพปรมัตถ์หรือเปล่าคะ

        สุ. ถ้ารู้ว่ามีเจตสิกมี ๑ ถูกไหมคะ

        ผู้ฟัง ไม่ถูกค่ะ

        สุ.

        ผู้ฟัง ไม่ถูกค่ะ

        สุ. ๑๐

        ผู้ฟัง ก็ต้อง ๕๒ ค่ะ

        สุ. ค่ะ นี่ก็คือเข้าใจ ให้เราเข้าใจให้ถูกต้องว่า สภาพธรรมที่เป็นเจตสิกไม่ใช่จิต และมีหลากหลายต่างประเภท เป็น ๕๒ ประเภท เพื่อจะได้ไม่ว่าประเภทไหนเกิดขึ้น ก็ไม่ใช่เรา กว่าจะไม่ใช่เรา ก็แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงตรัสรู้ความจริง แล้วเรารู้แค่ไหน อย่างลักษณะ ๔ ลักขณาทิจตุกะ มี สภาพของธรรมแต่ละอย่าง ก็จะกล่าวได้ถึงลักษณะเป็นต้น คือ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไร และกิจหน้าที่การงานของสภาพธรรมนั้นคืออะไร และอาการที่ปรากฏ ปรากฏอย่างไร และเหตุใกล้ที่จะให้เกิดสภาพธรรมนั้นคืออะไร และเราน่ะหรือสามารถที่จะรู้ ๔ อย่างนี้ได้ เราอาจจะสามารถรู้ได้ ๑ ลักขณะของสิ่งที่ปรากฏ อย่างเสียง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง กล่าวว่าเสียงมีจริง เพราะปรากฏ เมื่อไร และเมื่อปรากฏแล้ว จะเป็นอื่นที่ไม่ใช่เสียงได้ไหม

        เพราะฉะนั้นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างก็ต่างกันไป และก็ทรงแสดงความละเอียด ซึ่งปัญญาของผู้เริ่มก็จะรู้ได้ว่า สามารถจะเข้าใจเพียง ๑ ใน ๔ หรือจะเข้าใจได้ทั้ง ๔ หรือสามารถจะประจักษ์แจ้งได้ทั้ง ๔

        นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งก็จะรู้ปัญญาของแต่ละบุคคลตามความเป็นจริง ไม่หลอก ไม่สับสน

        ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะมีหลายระดับ คือบ่อยครั้งมากที่อาจารย์บอกว่า อย่าไปจำชื่อ ก็รู้สึกว่าต้องสนใจชื่อ เพราะเวลาเราสื่อสารกัน เราก็ต้องใช้ชื่อ

        สุ. ค่ะ ฟังแล้วต้องการจำชื่อ หรือเข้าใจถูกต้อง

        ผู้ฟัง ต้องไม่จำชื่อ และเข้าใจให้ถูกต้อง

        สุ. จำชื่ออะไร ควรเข้าใจชื่อนั้น หรือว่าจำไว้เฉยๆ

        ผู้ฟัง ต้องเข้าใจค่ะ จริงๆ เมื่อเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้องจำด้วยซ้ำไป ก็จะรู้ไปเอง แต่ถ้าตั้งใจจำ ท่อง ก็จะเป็นท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง

        สุ. ถ้าเข้าใจแล้ว กล่าวถึงเมื่อไร ความเข้าใจอันนั้นหายไปหรือเปล่าคะ อย่างจิตเป็นธาตุ เป็นธรรมที่มีจริง มองไม่เห็น แต่เป็นธาตุที่สามารถจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏในขณะนั้น จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้าไม่มีจิต ลักษณะนั้นๆ ก็จะปรากฏความต่างหลากหลายไม่ได้ ถ้าจิตไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ และจะไปเปลี่ยนให้จิตเป็นอย่างอื่น ต้องไปนั่งท่องอะไรหรือเปล่า

        ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นอาจารย์ก็เน้นว่าให้เข้าใจ ต้องฟังให้เข้าใจ เพียงจำแล้วไม่เข้าใจ จะมีประโยชน์อะไรคะ แล้วก็ลืม

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 314


    หมายเลข 12317
    24 ม.ค. 2567