การฟังธรรมะและพิจารณาตนเอง

 
Pararawee
วันที่  24 ส.ค. 2551
หมายเลข  9654
อ่าน  1,202

เมื่อได้ฟังธรรมะแล้วในระยะหนึ่ง แล้วบุคคลนั้นก็ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ อยู่เพราะไม่มีอำนาจบังคับบัญชาให้ไม่เกิดได้ แต่ประโยชน์ที่ได้ฟังพระธรรม คือ ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่เราใช่หรือไม่คะ? คำถามที่สอง คือถ้าศึกษาธรรมะแล้วไม่ได้เป็นคนดีขึ้น นั่นหมายถึงการศึกษาธรรมนี้ล้มเหลวใช่หรือเปล่าคะ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ถูกครับ กิเลสทั้งหลายต้องดับด้วยปัญญาขั้นโลกุตระ เพียงการฟังยังดับอะไรไม่ได้เพราะยังละไม่ได้ เมื่อมีเหตุมีปัจจัยโลภะ เป็นต้น ก็ย่อมเกิดขึ้น ผู้ที่ศึกษาพระธรรมย่อมเข้าใจโลภะ โทสะ โมหะ และสภาพธรรมอื่นๆ โดยความเป็นธรรมะมากยิ่งขึ้นส่วนคำถามที่สองนั้นต้องพิจารณาว่า ศึกษาแค่ไหน ศึกษาอย่างไร และเข้าใจธรรมะจริงๆ หรือยัง ที่ว่าเป็นคนดีขึ้นนั้น ถามว่าดีขึ้นแค่ไหน ดีอย่างไร จะให้ดับกิเลสทั้งหมดเลยหรือ เพียงแค่เข้าใจธรรมะมากขึ้นเรียกว่าดีหรือยัง?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ส่วนใหญ่ผู้ศึกษาธรรมะก็อยากเป็นคนดีขึ้น (จากเดิม) แต่ก็ทราบว่าการศึกษาธรรมที่หวังลาภ ยศ สรรเสริญ ก็เหมือนจับงูพิษข้างหาง (ศึกษาธรรมะแล้วนิสัยแย่ลงก็มี) และคนที่จับงูพิษที่หางแล้วก็อาจจะไม่รู้ตัวก็ได้ จะมีคำแนะนำว่าควรศึกษาและพิจารณาอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
choonj
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาคุณ Pararawee การเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะไม่ใช่เรา ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ทุกอย่างที่เป็นธรรมะนั้นเกิดขึ้นแล้วดับไปหาสาระไม่ได้ ไม่ควรยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา และต้องแบ่งแยกหรือปฏิบัติให้ถูกว่าขณะนี้เป็นทางธรรม ขณะนี้เป็นทางโลก จึงจะได้ประโยชน์ของการเข้าใจ ส่วนคำถามที่สองนั้น เมื่อยังไม่ดีขึ้นก็อย่าด่วนเข้าใจว่าล้มเหลว เพราะปัญญานั้นโตช้า ต้องใช้เวลานานในการฟังธรรม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 25 ส.ค. 2551

การศึกษาพระธรรม ก็เพื่อความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ว่าธรรมะเป็นธรรมะ (ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด) อย่างไร

การรู้ว่าสิ่งใด (ธรรมะใด) ดีหรือไม่ดี (กุศลหรืออกุศล) เป็นกิจของปัญญา ผู้ที่ไม่มี ปัญญานั้นอาจเชื่อว่าความไม่ดีเป็นความดีก็เป็นได้

ผู้มีปัญญาขั้นทาน และขั้นศีล ก็อาจรู้ได้ว่าสิ่งใดที่ดีหรือไม่ดี ในขณะที่สิ่งนั้นยังไม่เกิดขึ้นหรือผ่านไปแล้ว แต่ผู้ที่ศึกษาพระธรรมอันนำไปสู่ปัญญาขั้นภาวนานั้น ย่อมรู้ได้ว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดีใน "ขณะ" ที่สิ่งนั้นกำลังปรากฎ

ดังนั้น จึงไม่ควรเสียใจกับสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และไม่ควรห่วงกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง หากมีความรู้ตัวว่าดีหรือไม่ในขณะนี้ได้ ก็ย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่าการศีกษาที่ผ่านมา ไม่ไร้ผลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เอได้ฟังธรรมะแล้วในระยะหนึ่งแล้วบุคคลนั้นก็ยังมีโลภะโทสะโมหะอยู่ เพราะไม่มีอำนาจบังคับบัญชาให้ไม่เกิดได้ แต่ประโยชน์ที่ได้ฟังพระธรรมคือ ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นว่าทุกอย่างเป็นธรรมะไม่ใช่เรา ใช่หรือไม่คะ?

ประโยชน์ของพระธรรมที่เป็นพระธรรมที่ถูกต้องนั้น คือเพื่อความเข้าใจและปัญญาที่เจริญขึ้น เมื่อปัญญาเจริญขึ้นปัญญานั้นเองทำหน้าที่ละความไม่รู้ รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่ายังเป็นผู้ที่หนาด้วยกิเลสและรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นบังคับบัญชาไมได้ แม้ขั้นการฟังนี่คือประโยชน์ของพระธรรมคือ เมื่อเข้าใจย่อมได้รับประโยชน์ตามระดับความเข้าใจว่าเป็นขั้นการฟังหรือขั้นรู้ลักษณะจริงๆ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2551

คำถามที่สองคือถ้าศึกษาธรรมะแล้วไม่ได้เป็นคนดีขึ้นนั่นหมายถึงการศึกษาธรรมนี้ ล้มเหลวใช่หรือเปล่าคะ?

ควรเข้าใจความเป็นจริงว่าการศึกษาธรรม เพื่ออบรมปัญญานั้น ปัญญาก็ต้องเป็นไปตามลำดับเริ่มจากปัญญาขั้นการฟังเข้าใจว่าธรรมคืออะไร ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ รู้ว่าธรรมใดเป็นฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดี รู้ขั้นการฟังว่าธรรมใดควรเจริญและไม่ควรเจริญ แต่ต้องเป็นผู้ตรงว่าปัญญาขั้นการฟังทำอะไรกิเลสไม่ได้เพียงแต่ละความไม่รู้ขั้นการฟังเท่านั้น แต่กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตเป็นอนุสัยกิเลสนั้นจะต้องละด้วยปัญญาขั้นโลกุตตรมรรค ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงมาก ดังนั้น เมื่อเป็นปัญญาขั้นการฟังก็ไม่สามารถทำอะไรกิเลสได้ เมื่อมีเหตุปัจจัย ก็ย่อมล่วงออกมาทางกายวาจา

ดังนั้น การอบรมปัญญาจึงไม่ใช่การไม่ให้กิเลสเกิด เป็นไปไม่ได้ แต่ค่อยๆ เข้าใจว่าเป็นธรรม เพราะกิเลสที่จะต้องละอันดับแรกคือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน จึงเป็นผู้ตรงว่ายังไม่ดีเพราะมีกิเลสมาก ดังนั้น จึงมีคำว่าดีเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ หากไม่อบรมปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานอันเป็นหนทางดับกิเลสเพราะก็ยังเป็นเราที่ดี แต่ถ้าเข้าใจถูกแม้ความไม่ดีทีเกิดขึ้นก็รู้ว่าเป็นธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 25 ส.ค. 2551

หากมีความเข้าใจถูกแล้วก็ไม่ละเลยในการเจริญกุศลทุกประการและเห็นโทษของกิเลสแม้มีประมาณน้อย แม้รู้ว่าจะบังคับบัญชาไม่ได้ก็ตามครับ จับด้ามมีดมองไม่เห็นรอยสึก ปัญญาเกิดขึ้นน้อยมากจึงยังเห็นว่าไม่ได้เป็นคนดีขึ้นเพราะกิเลสยังมีอยู่มากครับ แต่ถ้าศึกษาธรรมแล้วเข้าใจผิดเข้าใจหนทางการอบรมปัญญาผิด ประมาทในกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ศึกษาเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญเพื่อได้ ไม่ใช่เพื่อละ นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมและเป็นความล้มเหลวในการศึกษาพระธรรม

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ปริศนา
วันที่ 25 ส.ค. 2551


เข้าใจพระธรรม ด้วยปัญญา จิรกาลภาวนา.
อนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Pararawee
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม เราไม่รู้จริงๆ เราว่าเป็นผู้ที่มีความเห็นผิด หลงผิดยึดถือธรรมะต่างๆ ว่าเป็นเรา ของเรา เป็นเขา ของเขา เช่น โลภก็เราโลภ ความโลภนั้นเป็นของเรา โกรธก็เขาโกรธ ความโกรธนั้นเป็นของเขา ฯลฯ แต่ความจริงแล้วทั้งหมดเพียงสภาพธรรมะที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นทำกิจแล้วก็ดับไป ไม่มีใครเลย แต่ว่าปัญญาขั้นฟังยังเป็นความเข้าใจขั้นเรื่องราวของธรรมะเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าถึงตัวจริงๆ จึงยังทำอะไรกับความเห็นผิดและกิเลสอื่นๆ ไม่ได้ เป็นเพียงการเริ่มต้นที่ยังต้องอาศัยการเจริญกุศลธรรมอื่นๆ คอยเกื้อกูลให้จิตใจอ่อนโยน อาจหาญ ร่าเริง ที่จะมีความเพียรในการสั่งสมปัญญาไปทีละน้อยๆ กว่าจะเจือจางความเห็นผิดมากมายมหาศาลที่เกิดเพราะมีความไม่รู้เป็นต้นเหตุมานานแสนนานนั้น ต้องอาศัยเวลาครับ ถ้าศึกษาธรรมะถูกต้อง ถูกทาง แม้ว่าตอนนี้ จะรู้ว่ายังไม่ดีขึ้น ก็ยังพอมีหวังที่จะดีได้ เพราะอกุศลไม่รู้ว่าอะไรทำให้เป็นคนดี อะไรทำให้เป็นคนไม่ดี แต่ปัญญาเท่านั้นที่รู้เหตุที่จะทำให้เป็นคนดี และรู้จักความไม่ดีของตนเองตามความเป็นจริง เพื่อการขัดเกลาอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อไป ถ้าไม่ใช่ปัญญาก็จะเป็นไปกับความลำเอียง จะเป็นผู้ที่หาเหตุเข้าข้างตัวเอง ไม่รับฟังเหตุผล จนอาจจะถึงขั้นหลอกตัวเองว่าเป็นคนที่ดีแล้ว ดีกว่าคนอื่นอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ทั้งๆ ที่ความจริงกิเลสก็ยังมีอยู่เต็ม เป็นต้นครับ ทุกคนก็ต้องเป็นไปตามการสะสม ถ้าเป็นปัญญาจะไม่หวั่นไหวกับความไม่ดีของผู้อื่น แต่จะพยายามแก้ตนเองครับ ถ้าพูดถึงความล้มเหลวจริงๆ ก็คือ การไม่เชื่อในคำสอนของพระผู้พระภาคอีกต่อไป ไม่มีศรัทธาที่จะฟังหรือศึกษาพระธรรมอีก ไม่มีการคบกัลยาณมิตรผู้คอยชี้แนะตักเตือน แต่หลงไหลไปกับการคบคนพาล จนหันไปนับถือศาสนาหรือลัทธิอื่นๆ ที่หลงเชื่อมงคลตื่นข่าวต่างๆ อย่างเหนียวแน่น สุดท้าย ก็กลายเป็นผู้มีมิจฉาทิฎฐิที่ดิ่งมาก จนแม้พระพุทธองค์เอง ก็ทรงดึงให้กลับมาสู่ผู้ที่มีความเห็นถูกอีกไม่ได้ เป็นต้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suwit02
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 25 ส.ค. 2551

1. ปัญญาขั้นฟังเพียงละความไม่รู้ ที่จะละกิเลสต้องเจริญอบรมมรรคมีองค์แปดค่ะ

2. การศึกษาธรรมะแล้วไม่น้อมประพฤติปฏิบัติตามคำสอน ก็ชื่อว่าโมฆบุรุษค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prakaimuk.k
วันที่ 26 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาในคำถามและทุกๆ คำตอบค่ะ....
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
natnicha
วันที่ 26 ส.ค. 2551

สิ่งที่สำคัญคือ รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงหรือไม่

ที่โลกวุ่นวายเพราะมีความเป็นเรา มีความเป็นเขา

เมื่อไม่รู้ว่าทุกขณะเป็นธรรมะ ก็เป็นเราทั้งหมด

การศึกษาธรรมะเพื่อละความเห็นผิด รู้ว่าทุกสิ่งเป็นธรรมะ ไม่ใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล แม้ความดีก็ไม่ใช่ของเรา บางคนไม่ได้ศึกษาพระธรรมก็เป็นคนดีได้ แต่ถ้าเขาไม่ได้ศึกษาพระธรรม เขาก็จะไม่รู้ว่าความดีก็ไม่ใช่ของเขาหรือของใคร แต่เกิดจากเหตุและปัจจัยเมื่อได้ศึกษาพระธรรมก็จะเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ เป็นไปตามเหตุและปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร การละอกุศลก็เป็นของยาก ไม่ใช่ศึกษาธรรมเพียงไม่นานก็จะสามารถละอกุศลได้เพราะสั่งสมอกุศลมานานมากกว่ามาก

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
khampan.a
วันที่ 26 ส.ค. 2551

ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นความจริง ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตน จึงไม่มีใครทำอะไรให้เกิดขึ้นได้ ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของธรรม ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้งปกติในชีวิตประจำวัน ชีวิตที่ดำเนินไปอยู่นี้ เป็นธรรม ไม่พ้นไปจากสภาพธรรม ถึงแม้ว่าจะอยู่กับธรรม มีธรรมอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะไม่รู้ว่า "เป็นธรรม" การศึกษาพระธรรม ต้องอาศัยเวลาที่ยาวนานในการอบรมและมีความใส่ใจตั้งใจที่จะศึกษาอย่างแท้จริง แม้ว่าจะได้ฟังพระธรรมในวันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ชาตินี้ ดูเหมือนว่ากิเลสก็ยังมากอยู่ เต็มไปด้วยความติดข้องต้องการ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ ความโกรธ ความสำคัญตน เป็นต้น ซึ่งเป็นปกติของผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้งหมดได้อย่างเด็ดขาด กิเลสที่สั่งสมมาอย่างเนิ่นนาน (แม้แต่เฉพาะในชาตินี้ วันนี้ก็มากจนนับไม่ได้ คงไม่ต้องกล่าวถึงชาติก่อนๆ ที่แล้วๆ มาว่าจะมากสักแค่ไหน) ไม่มีอะไรที่จะดับได้ นอกจากปัญญาเท่านั้น จึงต้องศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ต่อไป ด้วยความไม่ท้อถอย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pornpaon
วันที่ 26 ส.ค. 2551

เหตุปัจจัยมีที่จะทำให้ธรรมะประเภทใดประเภทหนึ่งเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นนี่คือ ความเข้าใจ เป็นความเข้าใจที่เป็นเพียงขั้นการฟังแต่ก็ยังไม่มั่นคงค่ะ เพราะหลังจากนั้น ก็ยังคิดเป็นอกุศลอยู่เรื่อยๆ มีทั้งโกรธ ทั้งเสียใจ หรือไม่งั้นก็ดีใจเพลิดเพลินลุ่มหลงไปกับความคิดนึก กับสุขเวทนาต่างๆ น้อยค่ะ ที่จะระลึกได้ว่า เป็นเพียงสภาพธรรมะ ส่วนใหญ่ก็ เป็นเรานี่แหละค่ะ

เมื่อก่อนนี้ เป็นคนที่มักคิดเสมอว่า คนไปวัด ฝักไฝ่ในบุญทาน ท่านผู้ที่ศึกษาธรรมะทั้งหลาย ทุกท่านเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นคนดี จนเมื่อได้มาฟังธรรม มาศึกษาพระธรรมแล้วระยะหนึ่งจึงรู้ว่าคำว่า คนดี นี้มีความหมายลึก มีส่วนละเอียดมากมาย

เป็นคำที่เขียนง่ายแต่เป็นได้ยาก หากไม่ได้ฟังธรรมแล้ว ก็ยังนึกๆ ว่าตนเองนี้เป็นคนดีคนหนึ่งแต่ยิ่งฟังยิ่งศึกษา จึงรู้ว่า ตนเองนั้นยังห่างไกลจากคำว่า คนดีอีกมากจริงๆ แต่ไม่ท้อถอยค่ะ เพราะว่า ทุกอย่างก็เป็นธรรมะไม่ใช่เหรอคะ.ฟังธรรมต่อไป

ขออนุโมทนาคุณพาราระวี

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 27 ส.ค. 2551


อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 28 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
kaewin
วันที่ 30 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนา สาธุในกุศลจิต ของทุกๆ ๆ ท่านนะครับ กระผมเองก็เคยคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว แล้วทำไมๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ แต่จริงๆ ๆ แล้ว การทำดีที่สุด คือให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นของยากมากๆ ๆ ๆ เพราะในแต่ละวันสภาพธรรมะที่เกิด จากหลายๆ ๆ ปัจจัยทำให้เรา มืด บอด สุขบ้าง ทุกข์ บ้าง แต่เคราะห์ดี ที่ได้ ยินได้ฟังธรรมะ และได้ศึกษาสภาพธรรมะ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น การทำดีที่สุด ก็คือการทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งปวง หมดสิ้นจากกิเลสและอาสวะ คือ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาแล้ว คือพระอรหันต์ นั่นเองจ้า

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ