...อาบัติมีได้ในจิตทั้ง 4 ชาติ

 
pornpaon
วันที่  9 มิ.ย. 2551
หมายเลข  8854
อ่าน  1,571

สืบเนื่องจากการสนทนาพระวินัยเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ คุณประภาสได้ร่วมสนทนาและได้กล่าวว่า อาบัติมีได้ในจิตทั้ง ๔ ชาติ คงเพราะดิฉันเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรกจึงเกิดความสงสัย อ.ประเชิญได้ตอบคำถามแล้ว ขณะนั้นเข้าใจ แต่เมื่อคิดเรื่องนี้อีกในภายหลังเกิดลืมรายละเอียด จึงขอความกรุณาช่วยอธิบายและยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายเพิ่มเติมในที่นี้อีกครั้งค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

ในพระวินัยปิฎกและอรรถกถา ท่านอธิบายขณะจิตที่เป็นสมุฏฐาน ทำให้เป็นอาบัติว่ามีจิตหลายชาติ ถ้าพระต้องอาบัติด้วยอกุศลจิตไม่ต้องสงสัย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดโกหก เป็นต้น ขณะที่จิตเป็นกุศลแสดงธรรมแก่ผู้หญิงเกินกว่าพระวินัยบัญญัติก็ต้องอาบัติด้วยกุศล พระอรหันต์ท่านไม่ทราบสิกขาบท ท่านพูดให้พ่อแม่ที่เลิกกันแล้วให้มาอยู่ร่วมกันอีกก็ต้องอาบัติด้วยกิริยาจิต และขณะที่กำลังหลับสนิทอยู่ในที่พักมีผู้หญิงเข้ามานอนในที่มุงที่บังเดียวกัน เป็นอาบัติ ขณะนั้นจิตเป็นชาติวิบาก ขอยกข้อความบางตอนที่อธิบายสมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติ ดังนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๔๐

อนึ่ง สิกขาบทที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี.จริงอยู่ จิตที่ทำให้เกิดอาบัติมี ๓๒ ดวงเท่านั้น คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรกิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิต ๒ โดยกุศลและกิริยา. ในจิตเหล่านั้น สิกขาบทใด ต้องด้วยกุศลจิต สิกขาบทนั้นเป็นกุศล สิกขาบทใดต้องด้วยจิตนอกนี้ สิกขาบทนั้น เป็นฝ่ายนอกจากนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

๑. ถ้าพระต้องอาบัติด้วยอกุศลจิตไม่ต้องสงสัย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดโกหก เป็นต้น
๒. ขณะที่จิตเป็นกุศลแสดงธรรมแก่ผู้หญิงเกินกว่าพระวินัยบัญญัติ ก็ต้องอาบัติด้วยกุศล
๓. พระอรหันต์ท่านไม่ทราบสิกขาบท ท่านพูดให้พ่อแม่ที่เลิกกันแล้ว ให้มาอยู่ร่วมกันอีก ก็ต้องอาบัติด้วยกิริยาจิต
๔. ขณะที่กำลังหลับสนิทอยู่ในที่พัก มีผู้หญิงเข้ามานอนในที่มุงที่บังเดียวกัน เป็นอาบัติ ขณะนั้นจิตเป็นชาติวิบาก

ขอบพระคุณมากค่ะ ข้อ ๑-๓ อ่านแล้วเข้าใจค่ะ แต่ข้อ ๔ นี้ ที่ว่าเป็นวิบาก เพราะเป็นเรื่องที่ถึงอย่างไรก็ต้องเกิดตามเหตุปัจจัยอย่างนั้นใช่มั้ยคะ คือมีเหตุที่ได้กระทำไว้แล้ว ต้องเกิดต้องได้รับผลนั้น แต่ท่านหลับสนิทนี่คะ เลยงงค่ะว่า ทำไมเป็นอาบัติด้วยจิตชาติวิบาก คือ เข้าใจไปว่าขณะท่านหลับสนิทเป็นภวังคจิตเกิดดับเพื่อยังคงภพชาติอัตภาพนั้นไว้ไงคะ ดิฉันคงสับสนอะไรอยู่ กรุณาขยายความเพิ่มเติมอีกสักหน่อยได้มั้ยคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

ขณะหลับสนิท เป็นภวังคจิต เป็นจิตชาติวิบาก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

อ้อ ค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ คุณ pornchai.s พอถามเสร็จก็คิดได้ว่า ต้องเป็นจิตชาติวิบากอยู่แล้ว แต่แล้วก็ลังเลอีก

ขอบพระคุณที่ช่วยให้ความเข้าใจเพิ่มเติมนะคะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 10 มิ.ย. 2551

ขอยกข้อความบางตอนที่อธิบายสมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติ ดังนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๔๐
อนึ่ง สิกขาบทที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี. จริงอยู่ จิตที่ทำให้เกิดอาบัติมา ๓๒ ดวงเท่านั้น คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศลจิต ๑๒ กามาวจรกิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิต ๒ โดยกุศลและกิริยา. ในจิตเหล่านั้น สิกขาบทใด ต้องด้วยกุศลจิต สิกขาบทนั้นเป็นกุศล สิกขาบทใดต้องด้วยจิตนอกนี้ สิกขาบทนั้น เป็นฝ่ายนอกจากนี้...

จากข้อความนี้ อ่านหลายหน นับหลายเที่ยว ไม่เห็นจิตชาติวิบากเลยน่ะค่ะ พอมีคำอธิบายเพิ่มเติมที่ชัดเจนหรือข้อความใดที่เสริมเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ได้อีกบ้างมั้ยคะ ขอความกรุณาอธิบายเพิ่มเติมค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Apologize
วันที่ 10 มิ.ย. 2551
อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prakaimuk.k
วันที่ 11 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาทุกๆ ท่านค่ะ เป็นความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้ง ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
study
วันที่ 11 มิ.ย. 2551

ตอบความเห็นที่ ๗

จิตชาติวิบากไม่เป็นสมุฎฐานให้ต้องอาบัติ แต่มิได้หมายความว่า ขณะที่หลับสนิท จะไม่มีอาบัติ เพราะสิกขาบทบางประเภทแม้ไม่มีเจตนา หรือไม่มีรู้ก็เป็นอาบัติ ภาษาพระวินัยใช้คำว่า อจิตตกะ ครับ และขอยกตัวอย่างจากอรรถกถาพระวินัยดังนี้
บรรดาเพศหญิงและเพศชายนั้น ถ้าภิกษุสองรูป ทำการสาธยายหรือสนทนาธรรมด้วยกัน จำวัดหลับไปในเรือนหลังเดียวกัน เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นอาบัติเพราะนอนร่วมกัน แม้แก่เธอทั้งสอง

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 11 มิ.ย. 2551

ขอเสริมหน่อยค่ะ ตัวอย่างเช่น ถ้าภิกษุเข้าห้องนอน ไม่ปิดประตูให้เรียบร้อย แล้วหลับสนิท ไม่รู้ว่ามีผู้หญิงเข้ามานอนด้วยในหลังคาเดียวกัน ถึงไม่มีอะไรกัน ก็ต้องอาบัติค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pornpaon
วันที่ 11 มิ.ย. 2551

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับความชัดเจน

ขออนุโมทนาคุณ study และคุณ wannee.s ค่ะ

และขออนุโมทนาในผู้เจริญกุศลทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เมตตา
วันที่ 11 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกๆ ท่านและคุณ Study ค่ะ จิตชาติวิปากไม่เป็นสมุฎฐให้ต้องอาบัติ แต่ก็ชื่อว่าอาบัติมีสี่ชาติ ได้ความรู้จากกระทู้นี้มากเลย ค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
nok_ruuh
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

ในอธิกรณสมถะมี ๗ กล่าวถึงเรื่องการไม่ปรับอาบัติใดๆ กับพระอรหันต์ไว้ดังนี้ ความที่สงฆ์สวดประกาศแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติ เรียกว่า สติวินัย มีวัดหนึ่งจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคี กุฏิสองชั้นภิกษุจำวัตรอยู่ในห้องชั้นบน พวกอุบาสิกาที่ไปจากกรุงเทพฯ นอนอยู่ในห้องโถงชั้นล่าง ภิกษุต้องถูกปรับอาบัติตามข้อคิดเห็นว่านอนใต้หลังคาเดียวกันหรือเปล่าจ๊ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
เมตตา
วันที่ 13 มิ.ย. 2551

ดิฉันเคยศึกษาพระวินัยบ้างเล็กน้อย ถ้าภิกษุจำวัดอยู่ใต้หลังคาเดียวกันกับอุบาสิกา แม้คนละชั้นกัน ก็ต้องถูกปรับอาบัติค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
pornpaon
วันที่ 14 มิ.ย. 2551

ขออนุโมทนาท่านที่ให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ