การถวายผลไม้ที่มีเมล็ดแด่พระภิกษุ

 
เจริญในธรรม
วันที่  27 ก.พ. 2551
หมายเลข  7578
อ่าน  11,355

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

ขอเรียนถามท่านผู้รู้และจนท.มูลนิธิฯ

การถวายผลไม้ที่มีเมล็ดแด่พระภิกษุ ต้องมีวิธีการถวายอย่างไร มีตัวอย่างในพระไตรปิฎกไหมครับ พอดีวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ไปทำบุญที่วัด พระท่านจะกล่าว และเราก็กล่าวตอบครับ พร้อมกับเอาเล็บจิ้มทะลุเปลือกลงในเนื้อผลไม้ ก่อนถวาย พอดีท่านก็อธิบายครับ ผมก็พอเข้าใจคร่าวๆ อยากให้ท่านผู้รู้อธิบายให้กระจ่าง เพื่อเป็นความรู้แก่ท่านอื่นๆ ครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 ก.พ. 2551

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... สัมณกัปปะ ๕ อย่าง [จุลวรรค]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 27 ก.พ. 2551
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 27 ก.พ. 2551

ผมไม่รู้เรื่องพระวินัยเลย อยากทราบว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์อะไรครับ สำหรับพระภิกษุ พืชที่อาจจะงอกได้ไม่ควรแก่การบริโภคหรือครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 28 ก.พ. 2551

มีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคนั้น ซึ่งชาวบ้านเขาเชื่อถือว่าพืชมีชีวิต นักบวชไม่ควรทำลาย อนึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุโลมตามชาวโลกเพื่อความอยู่ผาสุกของพระสงฆ์ และถ้าพืชเหล่านั้นผ่านการทำวินัยกรรม (ทำกัปปิยะ) แล้วก็ฉันได้ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี [มหาวิภังค์]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 28 ก.พ. 2551

ภิกษุที่ประพฤติตามพระวินัย ทำให้กาย วาจา งาม และอยู่กันอย่างผาสุกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 28 ก.พ. 2551
ขอบคุณครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 29 ก.พ. 2551

ผมสงสัยอีกว่า มีเหตุเกิด จึงเกิดสิกขาบท ในหัวข้อนี้ อาบัติเป็นปาจิตตีย์ หากตายในสงฆ์ ก็ต้องไปเกิดในอบายภูมิ ก็เลยเห็นว่า ต้องมีเหตุที่ยังไม่เกิดอีกมาก หรือเหตุเกิดหลังพุทธกาล แต่ไม่มีพระพุทธองค์มาบัญญัติ ซึ่งหมายความว่า ภิกษุอาจล่วงสิ่งอื่น ที่ไม่ได้อยู่ในพระวินัยหรือเปล่า? และก็ต้องไปสู่อบายใช่หรือไม่ครับ?

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 29 ก.พ. 2551

ในสมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์บัญญัติมหาปเทส คือข้ออ้างใหญ่ไว้แล้ว คือสิ่งใด ที่มิได้บัญญัติไว้ว่าควรหรือไม่ควร พระวินัยธร สามารถเทียบเคียงได้ อนึ่งผู้ที่บวชเพื่ออุทิศแด่พระศาสนา ย่อมไม่เห็นแก่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ยิ่งไปกว่าพระธรรมและพระวินัย ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต ถ้าพระภิกษุขืนทำ คงต้องอาบัติทุกกฏ เพราะทำไม่ดี และอาบัตินั้น ย่อมห้ามสวรรค์และมรรคผลด้วยเช่นกัน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ