ต้องรู้จักมาร จึงจะพ้นจากมารได้

 
nattawan
วันที่  28 มี.ค. 2567
หมายเลข  47659
อ่าน  154

มาร คือ ทำให้ตาย เป็นข้าศึก ธรรมที่ขัดขวางคุณความดี ประกอบสัตว์ไว้ในสังสารวัฏ

**ต้องรู้จักมาร จึงจะพ้นจากมารได้**

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายทรงชนะมารทุกประการ ดับกิเลสได้หมดสิ้น ไม่เป็นไปในอำนาจของมาร ไม่ต้องเดินไปในทางของมาร

ขณะนี้มีมารไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nattawan
วันที่ 28 มี.ค. 2567

ไม่อยากจะพาไปไหน แต่ว่าให้ฟังจนกระทั่งสามารถไม่สนใจสิ่งอื่น และมีสิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้าจริงๆ ไม่ห่างเหินจากสิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 28 มี.ค. 2567

ซึ่งข้อความในอรรถกถา อธิบายว่า บทว่า มุตตจาโค อธิบายว่า มีการสละโดยไม่ข้องใจ คือ ไม่กังวลใจไม่เดือดร้อนใจในการสละ บทว่า ปยตปาณี ความว่า มีมืออันล้างแล้ว
ข้อความในอรรถกถาอธิบายว่า ผู้ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็จัดว่า ยังมีมือเปื้อนอยู่นั่นแล
เวลานี้มืดเปื้อนหรือเปล่า
แต่คนที่มีศรัทธาชื่อว่า มีมืออันล้างสะอาดแล้วทีเดียว เพราะเป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในในทาน
ความสะอาดของใจ ของศรัทธาซึ่งเหมือนมือ ซึ่งถือไว้ซึ่งกุศล ไม่ปล่อยกุศล
นี่ก็จะเห็นได้ว่า เวลาปกติเราล้างมือกันอยู่เสมอ เพราะเห็นว่ามือสกปรก แต่ขณะนั้นก็ควรคิดที่จะล้างความตระหนี่ของจิตใจด้วย เมื่อได้ทราบความหมายของคำว่า “มีมืออันล้างไว้” เพราะถึงแม้ว่าจะล้างมือสักเท่าไร แต่ยังเป็นผู้ตระหนี่อยู่ ถึงแม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็จัดว่า ยังมีมือเปื้อนอยู่นั่นแล

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nattawan
วันที่ 28 มี.ค. 2567

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำกรรมใดไว้ ก็จะเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นตามควรแก่กรรมที่ได้ทำไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่มีผู้อื่นเป็นเจ้ากรรมที่จะบันดาลหรือจะทำให้เรามีความสุขหรือมีความทุกข์ได้ แต่สัตว์ทั้งหลายจะมีความสุข ความทุกข์ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้สรรเสริญ หรือ นินทา เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ประสบกับความเดือดร้อนทางกาย ต่างๆ ก็เพราะกรรมของตน บุคคลอื่นไม่สามารถจะบังคับบัญชา
เป็นผู้ที่เหนือกรรมได้ ที่สำคัญ คำว่าเจ้ากรรมนายเวรไม่มีในพระ
ไตรปิฎกเพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้น จึงไม่มีใครเป็นเจ้ากรรมของใคร เพราะทั้งหมด มีเหตุมีผล มีเหตุมีปัจจัย, คนหนึ่งทำกรรมดี แต่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้ได้ดีมีสุข จะได้รับวิบากที่เป็นกุศลวิบาก หรือ คนหนึ่งทำกรรมชั่ว แต่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลของ
กรรมชั่ว นั้น ย่อมไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามคำสอน แต่ละบุคคลล้วนแต่มีกรรมเป็นของตนทั้งนั้น จะทำกรรมแทนกันไม่ได้ จะทำกรรมดีแทนคนอื่นที่เขาไม่สามารถจะทำได้ ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าผู้นั้นอนุโมทนาก็เป็นความดีของเขาในขณะที่กุศลจิตเกิด แต่จะทำกรรมแทนกันนั้น ย่อมไม่ได้
ถ้าได้ศึกษาพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด ก็จะทำให้เข้าใจถูก เห็นถูกยิ่งขึ้น เข้าใจในเหตุในผลยิ่งขึ้น โดยสรุปแล้ว คือไม่มีเจ้ากรรมนายเวร เพราะสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 28 มี.ค. 2567

ข้อความโดยสรุป
อาชานียสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณสมบัติของม้าอาชาไนยซึ่งควรจะเป็นม้าต้นของพระราชา เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของพระภิกษุในพระธรรมวินัยซึ่งควรของคำนับ ผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรของทำบุญ ผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
คุณสมบัติของม้าอาชาไนย
๑.มีสีงาม
๒.กำลังดี
๓.มีฝีเท้า
คุณสมบัติของพระภิกษุ
๑. มีวรรณะงาม คือ สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
๒. เข้มแข็ง คือ มีความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อเจริญกุศลธรรม เข้มแข็ง บากบั่นไม่คง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๓.มีเชาว์ คือ รู้อริยสัจจธรรม ตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 2 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ