Thai-Hindi 18 Aug 2023

 
prinwut
วันที่  19 ส.ค. 2566
หมายเลข  46404
อ่าน  555

Thai-Hindi 18 Aug 2023


- วันนี้มีอะไรจะถามบ้างไหม (ไม่มีคำถามอะไร)

- ถ้าอย่างนั้นขณะนี้มีจิตอะไร (เห็น) ก่อนเห็นเป็นจิตอะไร (อาวัชชนะ) ก่อนเห็นเป็นอาวัชชนจิตทางไหน (จักขุทวาร)

- ถ้าตาบอดจะมีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม (ถ้าตาบอดไม่มีจักขุทวาราวัชชนจิตแต่มีอาวัชชนจิตทางอื่น)

- เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตมีกี่ดวง (มี ๕) บอกว่ามี ๑ แต่รู้ได้ ๕ ทวารได้ไหม (ใช่) นี่แสดงถึงความเข้าใจว่า “ชื่อ” เรียกอะไรก็ได้แต่จิตนี้เกิดขึ้นต้องทำกิจนี้ก่อนเห็น ก่อนได้ยินก่อนได้กลิ่น ก่อนลิ้มรส ก่อนรู้สิ่งกระทบสัมผัส

- จักขุวิญญาณจิตดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อ) สัมปฏิจฉันนจิตไม่เกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เหตุผลหลายอย่าง เช่น อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย และกรรมยังให้ผลเป็นวิบากต่อและยังมีปัจจัยอื่น) เก่งมาก ถูกต้อง

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้สัมปฏิจฉันนะปรากฏหรือเปล่า (ไม่ปรากฏ) เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เห็นปรากฏเป็น “นิมิตของเห็น” แต่ไม่ใช่นิมิตของปัญจทวาราวัชชนะกับสัมปฏิจฉันนะใช่ไหม (ใช่)

- สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (มี ๑) สัมปฏิจฉันนะมี ๑ หรือ (ถ้าถามถึงหลังจักขุวิญญาณดับแล้วมีสัมปฏิจฉันนะ ๑ แต่ถ้าถามว่ามีทั้งหมด ๒ เป็นผลของกุศลหรืออกุศล เพราะฉะนั้น…ท่านอาจารย์ถามว่าหลังจักขุวิญญาณดับไปแล้วมีสัมปฏิจฉันนะกี่ดวง)

- ไม่ใช่ค่ะ สัมปฏิจฉันนะต้องเกิดต่อ ดิฉันถามว่า สัมปฏิจฉันนะไม่เกิดได้ไหม เขาตอบว่าไม่เกิดไม่ได้ เพราะว่ามีปัจจัยหลายอย่าง และถามว่า สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (ถ้านัยของจักขุวิญญาณเป็นผลของกุศลหรืออกุศลสัมปฏิจฉันนะก็มี ๒) ทำไมเป็นนัย (จากคำถาม) จากคำถามอย่างไรก็ตามถ้าถามว่าสัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวงจะต้องตอบว่าอย่างไร ไม่ใช่นัยนี้หรือนัยนั้นแต่ถามว่า “สัมปฏิจฉันนะ” มีกี่ดวง (ยังตอบแบบเดิมว่ามี ๑ แต่ถ้าเป็นกุศลหรืออกุศลก็ต้องมี ๒) ​ อกุศลสัมปฏิจฉันนะจะเป็นกุศลสัมปฏิจฉันนะได้ไหม ถามว่า สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (ยังตอบว่า ๑)

- สัมปฏิจฉันนกุศลวิบากจะเป็นสัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (๒) ต้องไม่ลืมไม่ว่าจะถามอย่างไรต้องฟังคำถาม ตอบให้ตรงคำถาม

- ปัญจทวาราวัชชนจิตมีกี่ดวง (มี ๑) ทำไมไม่มี ๒ (เพราะว่าเป็นกิริยาจิต) หมายความว่าอย่างไรกิริยาจิต (เพราะว่าเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ เป็นกุศลวิบากไม่ได้ เป็นอกุศลวิบากไม่ได้) เพราะอะไร (ไม่ทราบ) เพราะเพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทวาร “เพียงรู้ว่า” ไม่ใช่ไม่รู้ เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบทวารไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีเป็นผลของกุศลกรรมหรืออารมณ์ที่ไม่ดีที่เป็นผลของอกุศลกรรมที่เป็นวิบากที่จะต้องเกิดขึ้น แต่ปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ทั้งที่ดีและไม่ดี

- ใครไม่มีจิตนี้ (ถ้ามีชีวิตก็ต้องมีจิตนี้ ไม่มีใครที่ไม่มีจิตนี้) เพราะฉะนั้น ต่อไปก็ต้องทราบว่าในโลกที่มีรูปธรรมต้องมีจิตนี้ แต่ในโลกที่ไม่มีรูปเลย อรูปพรหม ไม่มีจิตนี้แน่นอน

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลกทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นหลายโลกและแต่ละ ๑ ก็เป็นโลก เพราะฉะนั้น เราเรียนเพื่อให้รู้ในคุณที่ไม่สิ้นสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เราทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะมั่นคง

- ขอพูดเรื่องความต่างของจิตที่เป็นอเหตุกะนิดหน่อยไม่มากแต่ให้รู้ถึงความละเอียดลึกซึ้งของธรรม จิตอะไรมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด (ปัญจวิญญาณ) เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตมีเจตสิกเท่าไหร่ ไม่ใช่ถามจำนวนแต่ถามเพื่อเทียบกับจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ (ตามที่เข้าใจน่าจะเท่ากัน)

- ถ้าอย่างนั้นทำไมพูดว่า จิต ๑๐ ดวงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุดถ้ามีเจตสิกเท่ากัน (ตอนนั้นไม่ได้คิดถึงปัญจทวาราวัชชนจิตแต่พอถามแล้วคิดว่า น่าจะเท่ากัน) ถ้า “น่าจะ” แล้วจะมีคำว่า จิต ๑๐ ดวงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุดได้อย่างไร “จิต ๑๐ ดวง” หมายความว่าอะไร (ไม่เคยได้ยินเรื่องจิต ๑๐ ดวง) แต่เราเคยพูดแต่ไม่ได้บอกชื่อเจตสิกใช่ไหม

- เขาอาจจะไม่ทันฟังหรือดิฉันอาจจะพูดไม่บ่อยก็ได้ แต่ ณ บัดนี้ให้ทราบว่า จิตทั้งหมดมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่า ๑ ดวงแน่นอนแต่ว่าจำนวนน้อยที่สุดที่จิตจะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ๗​ ดวง เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ทุกคำที่ได้ฟัง เข้าใจขึ้นได้ที่จะค่อยๆ รู้ความต่างกัน แสดงให้เห็นว่า แต่ละ ๑ จะเป็นเราหรือเป็นอะไรไม่ได้เลย

- เราฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อรู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ลึกซึ้งและทำให้เราสามารถเริ่มเข้าใจความจริงตามลำดับขั้น เพื่อเป็นความเข้าใจที่มั่นคงเป็นพื้นฐานเพื่อรู้ในความละเอียดของแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมแต่ละ ๑ ถ้าไม่พูดอย่างนี้จะเริ่มเห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม (ก็ไม่รู้)

- กว่าจะเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยว่า ไม่มีเรา จนกว่าจะหมดความเห็นผิดว่า “เป็นเรา” ในทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏ

- ปัญจทวาราวัชชนจิตมีเจตสิกเกิดมากกว่าหรือน้อยกว่าจักขุวิญญาณ (ต้องมากกว่า) เพราะอะไร (เพราะจิต ๑๐ ดวงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ๗ ดวง จิตอื่นๆ จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่ากับหรือน้อยกว่าจิต ๑๐ ดวงไม่ได้ต้องมากกว่า) และเพราะเหตุว่า จักขุวิญญาณสามารถเกิดได้ทวารเดียว แสดงให้เห็นว่า สั้นแสนสั้นที่สุดคือ จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ

- สัมปฏิจฉันนะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ (มากกว่า ๗) สัมปฏิจฉันนกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่ากันไหม (ไม่เท่ากัน) เดี๋ยวก่อนฟังดีๆ กุศลวิบากอกุศลวิบากไม่ใช่กุศลกรรมและอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนกุศลวิบาก สัมปฏิจฉันนอกุศลวิบากมีเจตสิกเท่ากันไหม (ไม่น่าจะต่างกัน)

- นี่เป็นความคิดว่า “ไม่น่า” แต่ความจริงต้องไม่ต่างกัน เหมือนกับกรรมที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์เบียดเบียนทำทุจริตกรรม ทำพระบาทของพระพุทธเจ้าให้ห้อ ฯลฯ ให้ผลเป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณเท่ากันหมดไม่ว่ากรรมเล็กหรือกรรมน้อย แต่เวลาให้ผลๆ คือ เพียงทำให้จิตนี้เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ

- สัมปฏิจฉันนะที่โลกมนุษย์กับสัมปฏิจฉันนะที่เทวโลกต่างกันหรือเหมือนกัน (เหมือนกัน) มีเจตสิกประกอบเท่ากันไหม (เท่ากัน) สัมปฏิจฉันนะในเทวโลกมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวงได้ไหม (ไม่ได้) ถูกต้องนี่เป็นสิ่งที่เราจะต้องพิจารณาหัดคิดไตร่ตรองละเอียดขึ้นๆ และก็จะเข้าใจในเหตุและผลเพิ่มขึ้น

- อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) เราพูดถึงอเหตุกวิบากจิตทั้งหมดกี่ดวงแล้ว (ตอนนี้พูดถึง๑๒) เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เราจะพูดถึงสันตีรณะที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ ๓ จิตนี้เป็นจิตสุดท้ายของการให้ผลของกรรม เพราะฉะนั้น ๓ จิตนี้เป็นจิตที่เป็นผลของกรรม อย่าลืม ที่ไม่เกิดกับเหตุ ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย หมายความว่า เราพูดถึงอเหตุกะที่เป็นวิบาก เพราะฉะนั้นจิต ๓ ดวงนี้เป็นอเหตุกะ ๓ ดวงสุดท้าย

- จักขุวิญญาณมีกี่ดวง (มี ๒) รวมทั้งโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณเป็น ๑๐ และอะไรอีก ๒ ที่เป็นวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ (สัมปฏิจฉันนะ ๒ สันตีรณะ ๓)

- เพราะฉะนั้น สันตีรณะพิเศษกว่าวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมดใช่ไหม (ใช่ มีอะไรต่างกัน) ต่างกันตรงไหน (ต่างกันที่ถ้าเป็นผลของอกุศลมี ๑ ถ้าเป็นผลของกุศลมี ๒)

- แสดงว่า ผลของกรรมที่ดีให้ผลอย่างอ่อนไม่ประกอบด้วยเหตุ แต่ถึงอย่างนั้นฐานะที่กุศลเกิดยากกว่าอกุศล เพราะฉะนั้น เวลาให้ผลกุศลวิบากแม้ไม่ประกอบด้วยเหตุก็ยังมีมากกว่าในขณะที่เป็นสันตีรณจิตซึ่งเป็นวิบากสุดท้ายของอเหตุกจิต

- เพราะฉะนั้นวิบากอื่นๆ ที่เป็นกุศลวิบากมี ๑ แต่สันตีรณะมีกุศลวิบาก ๒ อกุศลวิบาก ๑เพราะฉะนั้น กรรมให้ผลรู้อารมณ์ที่น่าพอใจเป็นผลของกุศลกรรม รู้อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเป็นผลของอกุศลกรรม

- สันตีรณะที่เป็นอเหตุกะมี ๓ เป็นอกุศลวิบาก ๑ เป็นกุศลวิบาก ๒ ต่างกันที่ ๑ ดวงเป็นสันตีรณะที่เกิดกับอุเบกขาเวทนา อีก ๑ ดวงเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา

- เท่าที่เราพอจะเข้าใจได้เราก็รู้ว่า อารมณ์ที่ดีหลากหลายมาก บางอย่างดีมาก บางอย่างก็ดีพอสมควรไม่เท่ากัน แม้ว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีมากจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น สัมปฏิจฉันนะเพียงเกิดขึ้นรับ สันตีรณะเกิดขึ้นรู้มากกว่าในอารมณ์นั้นจึงเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาในอารมณ์ที่ดียิ่ง

- อุเบกขาสันตีรณะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีที่น่าพอใจต่อจากสัมปฏิจฉันนะ แต่เมื่ออารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีมากถึงวาระที่สัมปฏิจฉันนะจะรู้ในอารมณ์มากกว่าสัมปฏิจฉันนะขณะนั้นสันตีรณะจึงรู้อารมณ์นั้นด้วยโสมนัสเวทนา

- ไม่มีใครรู้ได้ว่า ขณะนี้จักขุวิญญาณรู้อารมณ์ที่ดีหรือดีมาก หรือว่าสัมปฏิจฉันนะรับอารมณ์ที่ดีต่อ หรือว่า สันตีรณะรับรู้อารมณ์ที่ดีมากด้วยโสมนัสเวทนา ไม่สามารถจะรู้ได้เลยเพราะสั้นมากและเป็นเพียง ๑ ขณะจิต

- เคยรับดอกไม้ที่สวยมากไหม (เคย) ขณะนั้นหลังจากที่จักขุวิญญาณดับแล้วสัมปฏิจฉันนะดับแล้วอะไรเกิดต่อ (เกิดกับโสมนัสเวทนา) ขณะนั้นต้องเป็นโสมนัสสันตีรณกุศลวิบากที่รู้อารมณ์ที่ดีนั้น

- โสมนัสสันตีรณะเกิดได้กี่ทวาร อันนี้ยังไม่ได้เรียนจริงๆ แต่เท่าที่เขาทราบ (๕ ทวาร) เท่าที่เขาทราบแต่ยังมีพิเศษ เพราะว่าสันตีรณะมีถึง ๓ ดวง เพราะฉะนั้น เราจะค่อยๆ พูดถึงให้รู้ว่าต่างกัน ค่อยๆ ต่างกันทีละน้อย

- เพราะฉะนั้น สันตีรณะเกิดได้เท่าที่ทราบคือ ๕ ทวาร ทำกิจอะไร เพราะฉะนั้น เราพูดเท่าที่เรากล่าวถึงแล้ว สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจอย่าลืม ทำสันตีรณกิจกี่ทวารเท่าที่ทราบ (๕ ทวาร)

- เพราะฉะนั้น มีจิตไหนบ้างที่เป็นผลของกรรมที่ทำกิจปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกะ (สันตีรณะ) สันตีรณะมี ๓ ดวง ดวงไหนทำกิจปฏิสนธิ (อกุศลวิบากกับกุศลวิบาก)

- อกุศลวิบากสันตีรณะเกิดที่ไหน (อบายภูมิ) แสดงให้เห็นว่า จิตอื่นที่เป็นวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุไม่สามารถจะทำกิจปฏิสนธิได้เลย นอกจากสันตีรณอกุศลวิบากซึ่งเป็นจิตสุดท้ายของอเหตุกอกุศลวิบากเท่านั้นที่รู้อารมณ์มากกว่าปัญจทวาราวัชชนะ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ เพราะฉะนั้น จิตนี้สามารถที่จะให้ผลเพราะไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะเป็นอกุศลวิบากต้องจิตนี้ที่รู้อารมณ์มากกว่า สุดท้ายทำให้ปฏิสนธิในอบายภูมิเท่านั้น

- ขณะเกิดเป็นช้างขณะนั้นจิตอะไรทำกิจปฏิสนธิ (สันตีรณอกุศลวิบาก) และเกิดเป็นมดอะไรเป็นจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ (สันตีรณอกุศลวิบาก) เกิดเป็นเปรตปฏิสนธิเป็นอะไร (สันตีรณอกุศลวิบาก) เกิดในนรกทุกสิ่งที่มีชีวิตในนรกปฏิสนธิจิตเป็นอะไร (ที่นั่นทุกคนก็เกิดด้วยสันตีรณอกุศลวิบาก) และอกุศลวิบากจิตจะทำให้เกิดเป็นมนุษย์ได้ไหม (ไม่ได้) นี่เป็นอเหตุกอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก

- อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดในนรกได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นอุเบกขาสันตีรณอเหตุกกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิได้ไหม (ได้) ปฏิสนธิที่ไหน (เป็นมนุษย์แต่พิการ) เก่งมากไม่ลืม เพราะฉะนั้น ต้องจำละเอียดในเหตุผลด้วย เพราะเหตุว่า เป็นมนุษย์ก็จริงแต่เป็นผลของกุศลอย่างอ่อน เพราะฉะนั้น จิตที่ทำปฏิสนธิได้ก็คือ สันตีรณะ เพราะฉะนั้น สันตีรณกุศลวิบากทำให้เกิดเป็นมนุษย์แต่ทำให้เกิดในอบายไม่ได้แต่เป็นมนุษย์พิการ

- เมื่อเป็นกุศลแม้ว่าเป็นกุศลอย่างอ่อนให้ผล กุศลที่มีกำลังไม่ได้ให้ผล ไม่ถึงเวลาแต่ถึงเวลาของกุศลกรรมอย่างอ่อนทำให้เกิดในภูมิมนุษย์และภูมิต่ำของสุคติภูมิแต่ว่าไม่ปกติเป็นคนพิการบ้าใบ้บอดหนวกตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นผลของกุศลต้องไม่ไปเกิดในพรหมหรือในอบายภูมิ กุศลกรรมแม้อย่างอ่อนก็ไม่สามารถที่จะให้ผลไปเกิดในนรกหรืออบายภูมิได้เพราะฉะนั้นต้องให้ผลทำให้เกิดได้แต่เป็นผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิด

- ปฏิสนธิจิตของคุณอาช่าเป็นสันตีรณกุศลวิบากหรือเปล่า (ไม่) คุณอาคิ่ล (ไม่) เพราะฉะนั้นเป็นจิตอะไร (เป็นสันตีรณะไม่ได้แต่ต้องเป็นผลของกุศลกรรมที่มีเหตุ) ก็เก่งนะคะ คือ ถึงอย่างไรก็พยายามคิดออกมาจนได้

- เพราะฉะนั้นสันตีรณอกุศลวิบากมีกี่กิจ (๕ กิจ) อะไรบ้าง ตอนนี้เท่าที่ทราบมีกี่กิจ (ทบทวนแล้วมี ๔ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ และสันตีรณะ) ดีมาก เพราะฉะนั้นตอนนี้เราพูดเรื่องอเหตุกะที่เป็นวิบากพอสมควรแล้วใช่ไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 19 ส.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงกิริยาจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดได้กี่ทวาร (๕) ทำได้กี่กิจ (๑) สัมปฏิจฉันนะเกิดได้กี่ทวาร (๕) ​ ทำกิจได้กี่กิจ (๑) ​ อเหตุกจิตทั้งหมดจิตอะไรทำกิจได้มากกว่า ๑ กิจ (สันตีรณะ) นี่เป็นจิตที่สำคัญ เรามีเรื่องที่จะต้องกล่าวถึงสันตีรณจิตอีกต่อไปแต่ให้รู้ว่า อเหตุกะที่เป็นอกุศลวิบากต้องมีเพียง ๗ และสุดท้ายคือ สันตีรณจิตที่เป็นอกุศลวิบากอเหตุกะที่ทำปฏิสนธิได้ อันอื่นทำไม่ได้

- เราเรียนเรื่องจิตแต่ละ ๑ เพื่อไม่ปะปนกันว่าเป็นแต่ละ ๑ จริงๆ ขณะนี้เราจะเริ่มพูดถึง “เหตุกกิริยาจิต” ซึ่งมี ๓ ปัญจทวาราวัชชนจิตพูดแล้ว ก่อนเห็น ก่อนได้ยิน ฯลฯ ต้องมีจิตนี้ ถ้าไม่มีจิตนี้เกิดขึ้นก็จะไม่มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้นทั้ง ๕ ทวาร

- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราจะเริ่มพูดถึงจิตที่เป็นกิริยาจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ใครไม่มีปัญจทวาราวัชชนจิต (คุณมธุตอบว่าไม่มี) ในภูมิที่มี ๕ มีเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสจะต้องมีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนเพราะฉะนั้นจิตนี้ก็คือเกี่ยวข้องกับปัญจทวารเท่านั้น

- อย่าลืมเราไม่เรียกชื่อเฉยๆ แต่เรารู้ความหมายว่า จิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลชื่อ “กิริยาจิต” เพราะสามารถที่จะรู้อารมณ์ที่เป็นผลของกุศลและอกุศลได้แต่ว่าสำหรับจิตนี้คือ ปัญจทวาราวัชชนจิตต้องมีในขณะเห็น ได้ยิน เท่านั้น เพราะฉะนั้นอีก ๒ จิตซึ่งเป็นอเหตุกะไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยแล้วไม่ใช่วิบากแต่ว่าเป็นกิริยาจิตคืออะไร

- เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า เราจะไม่พูดถึงวิบากผลของกรรม เราจะไม่พูดถึงกุศลและอกุศลซึ่งเป็นเหตุแต่เราจะพูดถึงจิตอีกประเภท ๑ ซึ่งเป็นกิริยาจิตเพราะไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก แต่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนตามปัจจัย

- สำหรับกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมี ๓ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ กล่าวถึงแล้วและจิตของพระอรหันต์ที่ทำให้เกิดการยิ้มแย้มหสิตุปปาทจิต ๑ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็เพียงแต่รู้ว่า พระอรหันต์ยิ้มก็ไม่เหมือนยิ้มของปุถุชนเพราะการยิ้มก็มีหลายอย่าง เพราะฉะนั้น จิตนี้ก็ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์ซึ่งเรายังไม่พูดถึง

- เราจะพูดถึง “มโนทวาราวัชชนจิต” ซึ่งไม่ประกอบด้วยเหตุแต่เป็นกิริยาจิต เราใช้ชื่อเรียกจิตนี้ว่า“มโนทวาราวัชชนจิต” เพราะเป็นชื่อที่แสดงว่า เป็นอาวัชชนจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์เป็นวิถีจิตแรกทางใจจึงเป็น “มโน” ทางใจ “ทวาราวัชชนะ” จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ขณะแรกทางใจ

- เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์จะขาดมโนทวาราวัชชนจิตไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตนี้เป็น “วิถีจิต” เป็นจิตที่ต้องณเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ถ้าใช้ชื่อว่า “มโน” ก็หมายความว่า ทางใจ เพราะวันนึงๆ ไม่มีแต่เห็น ไม่มีแต่ได้ยิน แต่มีคิดนึกด้วย

- เพราะฉะนั้น ธรรมดาจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นเรามีชื่อเรียก “จักขุทวาร” "โสตทวาร” แสดงว่า จิตรู้อารมณ์ได้ทุกอย่างแต่แล้วแต่ปัจจัย ถ้าเป็นทางตามีสิ่งที่กระทบตาก็เป็นทางตาและทางหู จมูก ลิ้น กาย แต่ทางใจทันทีที่คิดนึกจะต้องมีจิตที่รู้อารมณ์ที่คิด

- จิตเป็นสภาพที่ไม่มีรูปร่างเลยแต่เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นแต่หลากหลายมากเป็นประเภทต่างๆ แสดงความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธาตุรู้ซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การที่จะรู้จักจิตนี้ ต้องเริ่มทีละเล็กทีละน้อย เพราะเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ปรากฏทุกทวาร ทุกอย่าง ทุกขณะ เพราะฉะนั้น เริ่มรู้จักจิตนี้ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะต้องมีจิตนี้เกิด

- เรียกชื่อนี้ก็จริง (มโนทวาราวัชชนจิต) แต่ความหมายของลักษณะของจิตนี้คือ สามารถรู้อารมณ์ได้ทั้ง ๖ ทาง เริ่มเห็นความละเอียดความลึกซึ้งของสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงซึ่งถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงคนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้เลย

- เริ่มต้นฟังเพื่อไม่ลืมทีละเล็กทีละน้อย มโนทวาราวัชชนจิต มีคำว่า “มโน” “ทวาร” “อาวัชชนะ” แต่ว่าจิตนี้สามารถรู้อารมณ์ได้ทั้ง ๖ ทาง ในสังสารวัฏฏ์สะสมกุศลกรรมอกุศลกรรมมากมาย แต่ถ้าจิตนี้ไม่เกิดขึ้นสิ่งที่สะสมมาไม่สามารถจะเกิดปรากฏในชีวิตประจำวันได้ คุณอาช่า คุณอาคิ่ล คุณมานิชและทุกคนสะสมกุศลอกุศลมามากเท่าไหร่ แต่จะเกิดไม่ได้เลยถ้าจิตนี้ไม่เกิดก่อน

- เพราะฉะนั้น เราจะลำดับการเกิดขึ้นของจิตนี้ตามทวารต่างๆ รูปเกิดดับเร็วมาก รูปๆ หนึ่งเกิด จะดับเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ​ขณะรูปจึงดับ ถ้ารูปที่เกิดไม่กระทบตาจะไม่เห็นสิ่งนั้นเลย

- ก่อนรูปกระทบตาขณะนั้นจิตเป็นอะไร (ภวังค์) เพราะฉะนั้นรูปกระทบภวังค์ก่อน ๑ ขณะ จิต ๑ ขณะดับรูปยังไม่ดับเพราะขณะต่อไปเริ่มที่จะเป็นภวังค์ไหวเพราะมีสิ่งกระทบ เพราะฉะนั้นกระทบเพียง ๑ ขณะจะรู้อารมณ์ไม่ได้เพราะจิตเกิดดับเร็วมาก

- (คุณมธุสงสัยเรื่องภวังค์ไหว ภวังคจลนะ) เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครสามารถรู้การกระทบและเพียงชื่อ ความรวดเร็วแค่ไหน เดี๋ยวนี้กี่ขณะของภวังค์ กี่ขณะของเห็น วาระต่างๆ ในสิ่งที่ปรากฏเป็นทุกสิ่งทุกอย่างหมด แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความละเอียดยิ่งอย่างรวดเร็วของจิตแสดงให้เห็นความเกิดดับอย่างรวดเร็วที่สุด เพียงแค่คิดว่ากระทบ กระทบภวังค์ถึง ๓ ขณะก่อนที่วิถีจิตจะเกิดรู้อารมณ์นั้น

- เพราะฉะนั้น เราพูดสั้นๆ ว่า “รูปกระทบภวังค์” แต่คำว่า กระทบภวังค์นี้คือกระทบภวังค์แรกที่ถูกกระทบและภวังค์ที่ ๒ ก็เริ่มไหวที่จะเปลี่ยนอารมณ์และภวังค์ที่ ๓ คือ สิ้นสุดของความเป็นภวังค์เพราะเริ่มรู้อารมณ์ เป็นจิตขณะแรกที่เป็นวิถีจิตเพราะรู้อารมณ์ที่กระทบทางทวาร

- เพราะฉะนั้น ต้องมีจิตเกิดก่อนเป็นภวังค์สุดท้าย เพราะภวังค์จะเป็นภวังค์ต่อไปอีกไม่ได้ เพราะอารมณ์กระทบ ภวังค์สุดท้ายดับแล้วจิตที่จะเกิดต่อเป็นจิตอื่นไม่ได้นอกจากจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายก็ต้องเป็นอาวัชชนจิตแล้วแต่ว่าจะเป็นทางไหน เป็นกิริยาจิต

- เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น รู้ไหมว่า ก่อนเห็นเป็นอาวัชชนจิต ก่อนอาวัชชนจิตเป็นภวังค์ ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้วจิตเห็นเกิดต่อ จิตเห็นดับแล้วสัมปฏิจฉันนะเกิดต่อ สัมปฏิจฉันนะดับแล้วสันตีรณะเกิดต่อ รูปดับหรือยัง (ยัง) ยังไม่ดับแต่จิตที่เป็นอเหตุกะดวงสุดท้ายคือสันตีรณะดับแล้ว

- เพราะฉะนั้น จิตต่อไปไม่ใช่ผลของกรรมเหมือนอย่างจิต ๑๐ ดวงนั้นและจิตอื่นๆ ที่เป็นอเหตุกะ แต่เป็นกิริยาจิตที่ทำกิจเปิดทางให้กุศลและอกุศลที่มีสะสมมา เมื่อสันตีรณะรู้อารมณ์นั้นมากกว่าจิตอื่นที่เป็นอเหตุกะและจิตต่อไปเปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิด เพราะฉะนั้นเหมือนกับว่า พอเห็นแล้วก็ชอบหรือไม่ชอบ แต่ต้องมีจิตที่เกิดก่อนที่เปิดทางให้ จิตนั้นก็คือทำ “โวฏฐัพพนกิจ” หมายความว่า เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดทางปัญจทวาร

- หมดทางที่กรรมให้ผลเมื่อสันตีรณจิตดับ แต่ว่ากุศลอกุศลที่สะสมมาสามารถที่จะพอใจหรือไม่พอใจในสิ่งที่จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะรู้ในสิ่งที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจที่ “เปิดทาง” ให้กุศลและอกุศลทำ “โวฏฐัพพนกิจ” ทางปัญจทวารทำกุศลและอกุศลเปิดทางให้กุศลและอกุศลที่สะสมมาเกิด

- จิตนี้อย่าลืมจิตนี้เป็นจิตเดียวที่เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่คิดก็คิดด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้นคิดไม่ใช่รู้อารมณ์ทาง ๕​ ทวารแต่คิดรู้ทางใจ แต่ถ้าจิตนี้ไม่เกิดไม่คิดไม่เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดทางใจ จิตนี้เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดได้ที่สะสมมามากพร้อมที่จะเกิดๆ ได้เมื่อจิตนี้เกิดแล้วดับไปไม่ว่าจะเป็นทาง ๕ ทวารหรือทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นจิตนี้ต้องเกิดก่อนกุศลและอกุศลทุกครั้งแต่สำหรับพระอรหันต์จิตนี้ต้องเกิดก่อนกิริยาจิตของพระอรหันต์

- (คุณอาช่าจำได้ว่า ชวนจิตเท่ากับคิด แล้วชวนจิตที่เกิดทางปัญจทวารจะเป็นคิดด้วยไหม) ยังไม่ต้องบอกอะไรเลย ถ้าถามมาอย่างนี้จะถามว่า คุณจะรู้จักชื่อจิตหรือคุณจะเข้าใจจิต (สำคัญที่เข้าใจ) เพราะฉะนั้น ยังไม่พูดชื่อแต่มีจิตแน่นอนและจิตเกิดขึ้นหลากหลายทำกิจต่างๆ ไม่มีใครเลยและให้รู้ว่า ไม่ใช่เรา

- เพราะฉะนั้น ทางตาวิบากจิตสุดท้ายจะเป็นวิบากจิตต่อไปอีกไม่ได้เมื่อมีการรู้อารมณ์ที่กระทบตาที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น ไม่ลืม “วิบากจิตสุดท้าย” ในวิถีจิตที่เริ่มตั้งแต่ ปัญจทวาราวัชชนะ จักขุวิญญาณสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ต่อจากนั้นจะเป็นวิบากจิตอีกได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น ถึงเวลาที่จิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่ผลของกุศลและอกุศลที่เป็นวิบากเกิด แต่เป็นจิตที่ “เปิดทาง” เป็นกิริยาจิตเพราะไม่ใช่กุศล อกุศล วิบาก เพื่อที่จะให้การสะสมความพอใจ ไม่พอใจ ปัญญาและอื่นๆ ทุกอย่างที่สะสมมาที่จะเกิดรู้อารมณ์นั้น ไม่ใช่เกิดเฉยๆ เกิดรู้อารมณ์นั้น

- ถ้าไม่รู้จิตแต่ละ ๑ ปนกันหมดก็เป็นเราตลอดไป เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรียกชื่อจิตให้จำแต่ให้รู้ว่า วิบากหมดแล้วแต่อารมณ์ยังอยู่ การสะสมความชอบ ไม่ชอบ ฯลฯ ทุกอย่างที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดแต่เกิดทันทีไม่ได้ แต่ต้องมีจิต ๑ ที่ไม่ใช่วิบากไม่ใช่กุศลอกุศลเกิดแล้วเปิดทาง เกิดก่อนจึงเปิดทางกระทำทางให้กุศลและอกุศลพร้อมที่จะเกิดออกมาได้เกิด

- เห็นไหม เรียกชื่อเก่ง จำได้ เรียกได้ แต่ถ้าถามให้บอกเรื่องราวความเป็นจริงได้ไหม เพราะฉะนั้นจิตนี้จึงใช้ภาษาบาลีว่า “โวฏฺฐพฺพน” แปลว่าอะไร หมายความว่าอะไร (โวฏฐัพพนะต้องเกิดทำกิจอาวัชชนะเพราะถ้าไม่มีอาวัชชนะกุศลอกุศลเกิดไม่ได้)

- ขอโทษนะคะ อาวัชชนะหมายความว่า เกิดทางทวารนั้นเป็นขณะแรก แต่จิตนี้ไม่ได้เกิดทางทวารนี้เป็นขณะแรก ปัญจทวาราวัชชนะเกิดก่อนเพราะฉะนั้นจิตนี้ไม่ได้ทำหน้าที่อาวัชชนะเลย (คุณอาช่าเข้าใจแล้วว่าทำไมทำอาวัชชนกิจไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น ไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ต้องมีจิตที่เกิดก่อนกุศลและอกุศล กุศลอกุศลสะสมมามากมายในจิตออกไม่ได้ ถ้าไม่มีอะไรกระทบทำให้รู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นการรู้อารมณ์มีทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางซึ่งเรากำลังกล่าวถึงทางปัญจทวาร เพราะฉะนั้น ต้องทีละทาง

- เพราะฉะนั้น เปลี่ยนไม่ได้ความเข้าใจต้องมั่นคง จิตที่เกิดก่อนกุศลและอกุศลไม่ใช่กุศลและอกุศลกิเลสสะสมมามากมายจะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเป็นผลของกรรมก็ต้องเป็นผลของกรรมไม่ใช่กุศลและอกุศล ต้องละเอียดมากเพราะฉะนั้นคราวหน้า ได้ยินได้ฟังอะไรมาแล้วแต่เข้าใจแค่ไหน เราจะถาม

- ต้องไม่ลืม ไม่ใช่เพียงพูดหรือคิดว่า มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แต่ต้องรู้ว่า พึ่งเมื่อไหร่และพึ่งอะไร สำหรับวันนี้ถึงเวลาแล้ว ยินดีในกุศลของทุกคนที่ต้องละเอียดขึ้นและเป็นความเข้าใจไม่ใช่เพียงจำชื่อ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 19 ส.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณ กราบยินดีในกุศลท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณอัญชิสา (คุณสา) ในความอนุเคราะห์ตรวจทานข้อความ

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นและคณะอาจารย์ มศพ. ทุกท่านในกุศลทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 19 ส.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 20 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ กุลพิเนต เป็นอย่างยิ่ง สำหรับการถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ มาบันทึกไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่สนใจ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nattawan
วันที่ 21 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siraya
วันที่ 22 ส.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ก.ย. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ