Thai-Hindi 30 Sep 23

 
prinwut
วันที่  30 ก.ย. 2566
หมายเลข  46622
อ่าน  747

Thai-Hindi 30 Sep 23


- (คราวที่แล้วคุยเรื่องอเหตุกจิต คราวนี้คุณอ่าช่าบอกว่า อยากจะฟังเรื่อง ชวนะ) อยากเลยนะ อเหตุกจิต คืออะไร (จิตที่ไม่มีเหตุเกิดด้วย)

- เหตุมีกี่เหตุ (๖ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) แล้วทำไมจิตเหล่านี้ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (เป็นวิบากจิตและกิริยา)

- นั่นไม่เป็นคำตอบว่าทำไมอเหตุกจิตทั้งหมดไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (ไม่ทราบ) เพราะเป็นจิตที่กรรมทำให้เกิดขึ้นไม่ว่ากุศลกรรมหรืออกุศลกรรม กรรมทำให้จิตต่างๆ ๑๘ ดวงนี้เกิดขึ้น โดยที่ว่าเป็นกรรมทั้งหมด ๑๕ ดวงอีก ๓ ดวงไม่ใช่

- นี่คือความละเอียดของธรรมซึ่งใครก็ไม่รู้ได้นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะจิตเกิดต่อสืบต่อเกิดดับเร็วมาก เกิดแล้วไม่ว่าจะเกิดที่ไหน ภพภูมิไหน กรรมก็ทำให้จิตที่เป็นผลของกรรมเกิดขึ้น

- กรรมทำให้เกิดแล้วไม่พอเลยเพราะเพียงแค่ขณะเดียว เพราะฉะนั้นก็มีชีวิตต่อไปเพื่อรับผลของกรรมที่ได้ทำแล้ว

- เราเรียนเรื่องผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเลยเพราะกรรมทำให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องรู้ว่า ตลอดชีวิตอะไรบ้างที่เป็นผลของกรรม มิฉะนั้นก็บอกไม่ได้ว่า อะไรเป็นผลของกรรมอะไรไม่ใช่ผลของกรรม

- เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฟังความจริงว่า ไม่ใช่เราแต่เป็นผลของกรรม รู้ว่าเดี๋ยวนี้และตลอดชีวิตต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ผลของกรรมมีอะไรบ้างนอกจากนี้แล้วไม่ใช่ผลของกรรม

- เพราะฉะนั้นต้องมั่นคง กรรมทำให้เกิดแต่ยังไม่มีผลทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นจะต้องรับผลคือ เกิดแล้วต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้เป็นผลของกรรม

- ฟังเพื่อเข้าใจว่า เห็นเกิดขึ้น เห็นเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นเราเห็นทั้งวันแต่เรารู้ไหมว่า เห็นที่กำลังเห็นนี้เป็นผลของกรรมที่ต้องเห็น เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่เพื่ออะไรเลยแต่เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีที่ไม่เคยรู้และเข้าใจผิดว่าเป็นเรา

- เดี๋ยวนี้มั่นใจหรือยัง ไม่ว่าจะเห็นอะไร ได้ยินอะไร ได้กลิ่นอะไร ลิ้มรสอะไร ถูกต้องกระทบสัมผัสอะไร ไม่ใช่เราแต่เป็นผลของกรรมที่ถึงเวลาก็ต้องเกิดโดยมีกรรมเป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น

- ถ้าใครตีเจ็บ เป็นผลของกรรมหรือเปล่า (เป็นผลของกรรม) เพราะฉะนั้นกรรมที่เป็นอกุศลคือกรรมของคนที่ตี แต่ขณะที่ความรู้สึกเจ็บเกิดขึ้นขณะนั้นเป็นผลของกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว

- กำลังเจ็บไม่ชอบใช่ไหม (ไม่ชอบ) กำลังเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ไม่ชอบใช่ไหม (ใช่) ไม่ชอบเป็นผลของกรรมหรือเปล่า (ทีแรกตอบว่าไม่ชอบเป็นผลของกรรมแต่ถามใหม่ตอบว่าเป็นจิตที่มีเหตุ)

- เพราะฉะนั้นเริ่มจำมั่นคง ขณะที่มีสิ่งใดกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่ใช่กรรมแต่เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นทั้งวันเริ่มรู้จักสิ่งที่มีตลอดชีวิตแต่ไม่เคยรู้จักมาก่อนว่า อะไรเป็นผลของกรรม อะไรไม่ใช่ผลของกรรม เป็นผลของกรรมของใคร

- ถามว่า ขณะที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้กลิ่น ฯลฯ เป็นผลของกรรมของใคร (เป็นผลของกรรมของตนเอง) ไม่ใช่กรรมของใครแต่เป็นผลของกรรม กรรมเป็นธรรม เพราะฉะนั้นฟังเพื่อให้รู้ว่า ไม่มีเรา สิ่งที่เคยเป็นเราก็คือธรรมแต่ละอย่างๆ

- ค่อยๆ รู้ว่า ไม่มีเรา กรรมมีทั้งที่เป็นกรรมที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นถ้ารู้ว่า กรรมดีก็ให้ผลที่ดี กรรมไม่ดีก็ให้ผลที่ไม่ดี ปัญญาที่รู้อย่างนี้ก็ละการที่จะทำอกุศลกรรม แต่ไม่ใช่เราเป็นปัญญาที่มีความเห็นที่ถูกต้อง

- วิบากซึ่งเป็นผลของกรรม ใครเปลี่ยนแปลงได้ไหม (ไม่ได้) เราเพิ่งเรียนผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ คำนี้ทำให้เราไตร่ตรองไหมว่า ผลของกรรมที่เป็นวิบากที่ประกอบด้วยเหตุจะมีไหม (ควรจะรู้) ไม่ใช่ ถามว่า กรรมทำให้เกิดผลของกรรมซึ่งเป็นวิบากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุแล้วกรรมทำให้เกิดวิบากซึ่งเป็นผลของกรรมที่ประกอบด้วยเหตุมีไหม (มี)

- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราพูดถึงผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็ต้องมั่นคงว่า ผลของกรรมที่ประกอบด้วยเหตุเรายังไม่ได้กล่าวถึง เพราะฉะนั้นธรรมละเอียดลึกซึ้งมากมายตามเหตุตามปัจจัย แต่ว่าเราต้องเริ่มเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่เรากำลังฟัง

- ถ้าเข้าใจเรื่องผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ต่อไปก็จะเข้าใจเรื่องผลของกรรมที่ประกอบด้วยเหตุและจิตอื่นๆ

- จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ (๑๘) เป็นอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร (มีจิตที่เป็นวิบากก็มีกิริยาก็มี) เท่าไหร่ (วิบาก ๑๕ กิริยา ๓) วิบาก ๑๕ ต่างกันอย่างไร (อเหตุกวิบากจิตทุกดวงต่างกันโดยกิจ โดยอารมณ์ โดยปัจจัยต่างๆ แยกเป็นกลุ่มคือ มี ๗ ที่เป็นผลของอกุศลกรรมและ มี๘ ที่เป็นผลของกุศลกรรม) ดีมาก เข้าใจให้มั่นคงไม่เปลี่ยน

- เพราะฉะนั้นจิตอื่นนอกจากนี้มีเหตุเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า (มีกิริยาจิต ๓ ที่ไม่มีเหตุ) คำถามว่านอกจากจิต ๑๘​ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยเหตุแล้ว จิตอื่นมีเหตุเกิดร่วมด้วยไหม (ไม่มี)

- จิตทุกขณะๆ ทั้งหมดที่ไม่ใช่จิต ๑๘ ดวงนี้ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยได้ไหม (ไม่มี) ต้องมีเหตุเกิดร่วมด้วยใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้นลองพูดถึง “เห็น” เดี๋ยวนี้ว่า จิตไหนเป็นอเหตุกะ ขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้จิตไหนไม่เป็นอเหตุกะ (๑ ปัญจทวาราวัชชนะ ๒ เห็น ๓ สัมปฏิจฉันนะ ๔ สันตีรณะ ๕ โวฏฐัพพนะ) ต่อจากนั้นวิบากจิตจะเกิดอีกได้ไหม (หลังจากนั้นเกิดไม่ได้) เพราะฉะนั้นหลังจากนั้นแล้วต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุ จิตที่เกิดต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุจะเป็นกุศลเหตุหรืออกุศลเหตุแล้วแต่ปัจจัย

- เวลาที่จิตนั้นมีอกุศลเหตุเกิดร่วมด้วย โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต จิตนั้นทำกิจเห็นหรือเปล่า (ไม่) แล้วรู้อารมณ์อะไร (อารมณ์เดียวกันกับที่เห็นรู้) อกุศลจิตทำสันตีรณกิจได้ไหม (ไม่ได้) ทำโวฏฐัพพนกิจได้ไหม (ไม่ได้) แล้วจะไม่มีจิตเกิดต่อจากโวฏฐัพพนะได้ไหมถ้าอารมณ์นั้นยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อไม่ใช่อเหตุกะต้องมีเหตุเกิดร่วมด้วยและจะทำกิจหนึ่งกิจใดของอเหตุกจิตไม่ได้เลย

- เพราะฉะนั้นหลังจากที่อเหตุกจิตทำกิจหมดแล้วและกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกจิตสุดท้ายคือ โวฏฐัพพนจิตดับแล้ว จิตที่เกิดต่อไม่ต้องทำกิจเหล่านั้นเลยแต่รู้อารมณ์เดียวกันด้วยความชอบหรือไม่ชอบ เป็นกุศลหรืออกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด

- อารมณ์ที่อเหตุกจิตรู้ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นเมื่อโวฏฐัพพนจิตดับแล้วยังมีอารมณ์ที่เหลืออยู่ที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อมีเหตุประกอบ ถ้าเป็นความยินดีพอใจก็ยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏที่ต่อจากอเหตุกจิตที่ทำหน้าที่แล้วโดยรวดเร็วมากถึง ๗ ขณะเพราะรูปยังไม่ดับ

- เพราะฉะนั้นจิตอื่นไม่ได้ปรากฏเลยในชีวิตประจำวัน มีจิตเห็นและจิตที่ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่เห็นเป็นกุศลหรืออกุศลต่อกันทันทีโดยจิตอื่นที่มีไม่ได้ปรากฏเลย เพราะเหตุว่า จิตนั้นไม่ต้องทำกิจเห็นและกิจอื่นเลย ทำกิจพอใจเป็นอกุศลหรือกุศล ๗ ขณะจึงปรากฏ รู้ว่ากำลังชอบหรือกำลังเป็นกุศล

- จิตแต่ละขณะสั้นมาก เพราะฉะนั้นแม้ว่า โลภมูลจิตเกิดหรือโทสมูลจิตเกิดก็ตาม ทีละ ๑ ขณะเร็วมาก แม้ว่าจะมีถึง ๗ ขณะที่จะต้องรู้อารมณ์เดียวนั้น

- เดี๋ยวนี้เห็นอะไรบ้าง (เห็นสี) จริงหรือ? (เห็นหลายอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือที่อยู่ตรงหน้า) แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่กระทบตาจริงๆ ละเอียด สั้น เร็ว ไม่ปรากฏแต่หลายๆ วาระเกิดดับสืบต่อจนปรากฏทีละ ๑ อย่างเป็น “นิมิต” ของสิ่งนั้น เป็นกลีบดอกไม้ ๑ ดอก เป็นใบไม้จนกระทั่งรวมกันทั้งหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะดอกไม้ที่ปรากฏ ทุกอย่างที่ปรากฏเหมือนทันทีที่ลืมตา แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วของการเกิดดับของจิตมากมายมหาศาล

- เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างไหม (เริ่มรู้จัก) ถ้าไม่ฟังเลยจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม (ไม่) เพราะฉะนั้นฟังพระธรรมเพื่ออะไร (เพื่อเข้าใจธรรม) เห็นความต่างกันมากไหมระหว่างความไม่รู้อะไรเลยกับการเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีในชีวิตทั้งหมดทีละเล็กทีละน้อย (ต่างกันมาก)

- เพราะฉะนั้น “คุณ” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากกว่าที่เราเพิ่งจะเริ่มรู้จักแค่ไหน (เป็นเช่นนั้นจริง) เพราะฉะนั้นความเข้าใจนี้มีไม่ได้เลยสักนิดเดียวถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วไตร่ตรองจนเข้าใจว่า ความจริงคืออะไร

- การรู้ความจริง การเข้าใจถูก เป็นจิตเห็นหรือเปล่า (ไม่เป็น) เป็นสัมปฏิจฉันนจิตหรือเปล่า (ไม่) เป็นโวฏฐัพพนจิตหรือเปล่า (ไม่) เพราะฉะนั้นเป็นจิตอะไร (เป็นกุศล) ทำกิจอะไร (นึกไม่ออก) ทำ “ชวนกิจ” เพราะไม่ต้องทำกิจอื่นเลย ทำอย่างเดียวคือ เป็นกุศลจิตรู้ในสิ่งที่ปรากฏตลอด ๗ ขณะ

- เพราะฉะนั้นจิตก่อนเห็นก่อนวิถีจิตทั้งหมด จิตที่รู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตทำกิจอะไร (ทำกิจภวังค์) ก่อนจิตภวังค์มีจิตอะไรเกิด (ก่อนภวังค์ก็คงจะมีวิถีอื่น) ก่อนภวังค์แรกของชาตินี้มีจิตไหม (มีปฏิสนธิ) เพราะฉะนั้นกิจที่ ๑ ปฏิสนธิ ทุกชาติที่มีจิตต้องมีจิต ๑ จิตแรกทำปฏิสนธิกิจเป็นผลของกรรม

- ที่รู้ว่าเป็นคนต่างๆ กันเพราะกรรมที่ทำให้จิตแรกทำปฏิสนธิต่างๆ กันตามกรรม ขณะเกิดเป็นสัตว์ เป็นคน เป็นนก เป็นปู เป็นปลา เป็นเทวดา ฯลฯ ต้องมีปฏิสนธิจิตทำปฏิสนธิกิจ เพราะฉะนั้นกิจนี้เกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน พอจุติจิตของชาติก่อนดับจิตที่เกิดต่อเป็นอะไร (จุติจิตดับปฏิสนธิจิตเกิดทันที)

- มีใครรู้ไหมว่า ปฏิสนธิจิตจะเป็นอะไร (ไม่มีใครรู้) เมื่อจุติจิตของคุณอาช่าเกิดแล้วดับจิตอะไรเกิดต่อ (ปฏิสนธิ) เป็นผลของกรรมอะไร (ไม่สามารถรู้ได้) ถูกต้อง เพราะว่า กรรมมีมากในแสนโกฏิกัปป์ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นประมาทไม่ได้เลยเพราะถ้าเป็นอกุศลกรรมต้องให้ผลปฏิสนธิเป็นเดรัจฉานหรือทำให้เกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นอบายภูมิ

- ทุกกรรมที่ทำแล้ว ไม่ว่ากุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ไม่มีใครรู้ว่าจะให้ผลเมื่อไหร่ ความเข้าใจทำให้เห็นโทษของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่อเข้าใจเพื่อรู้ความจริงว่า ไม่ใช่เราเลยทั้งหมดไม่ว่าเกิดตายกี่ครั้งก็เป็นธรรม

- เกิดตาย เกิดตาย ทำกิจต่างๆ ไม่รู้จบ ดีไหม? (ไม่เป็นประโยชน์) ถ้ารู้จริงๆ ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรมต่างๆ ซึ่งเกิดแล้วดับและไม่กลับมาอีกเลย ควรไหมที่จะเป็นอย่างนั้นต่อๆ ไปอีกไม่รู้จบ (ถ้าเข้าใจอย่างนั้นจะไม่เห็นประโยชน์เลย)

- ตราบใดที่ไม่รู้ความจริงก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสและกิเลสก็เป็นเหตุให้เกิดกรรมและกรรมก็เป็นเหตุให้เกิดผลคือวิบากไม่รู้จบ

- พรุ่งนี้คุณอาช่าจะอยู่ในนรกได้ไหม? (เป็นไปได้) ไม่มีใครรู้เลยทั้งสิ้นว่า พรุ่งนี้จะอยู่ไหน วันนี้คุณอาช่าจะอยู่ในสวรรค์ได้ไหม? (ได้) เดี๋ยวนี้เองคุณอาช่าจะเป็นนกได้ไหม (เป็นไปได้) แต่ไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้นไม่ประมาทที่จะเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงเพื่อละเหตุที่จะต้องเกิดอีก

- เมื่อรู้ว่าไม่ใช่เราแต่เป็นธรรมเท่านั้นที่หลากหลายตามเหตุตามปัจจัย เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วรู้สึกอย่างไร (เวลาได้ยินอย่างนี้ก็เห็นพระคุณอย่างที่ไม่สามารถจินตนาการได้เลยเพราะสูงขนาดนั้นที่สามารถรู้ขนาดนี้แบบที่คิดไม่ได้เลยว่าขนาดไหน) พอเข้าใจธรรมบ้างรู้สึกปีติไหม (มีปีติ) เพราะว่าไม่เคยได้ยินได้ฟัง ไม่เคยได้รู้อย่างนี้มาก่อนเลยเพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจการเข้าใจมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น (โอกาสอย่างนี้ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับ)

- ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่า ฟังเท่านี้ยังไม่พอเพราะว่า เพิ่งเริ่มที่จะเข้าใจสิ่งที่มีแต่ยังไม่ประจักษ์แจ้งตรงความจริงแต่ละหนึ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางให้มีความเข้าใจขึ้นจนสามารถประจักษ์แจ้งได้

- ความจริงของธรรมที่เกิดแน่ๆ เพราะเกิดแล้วดับไปแน่ๆ เพียงเข้าใจยังไม่ถึงการประจักษ์แจ้งว่าไม่ใช่เรา จนกว่าจะถึงความจริงอย่างนั้น เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่ธรรมกำลังปรากฏเดี๋ยวนี้แต่ถ้าไม่รู้ความจริง ไม่ได้ฟังคำที่กล่าวถึงความจริง ไม่มีทางที่จะเห็นประโยชน์สูงสุดว่า เป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะกำลังมีแต่ไม่ใช่เพียงแค่จำและได้ฟังเพียงนิดหน่อยก็สามารถจะรู้ความจริงได้

- การรู้ความจริงเพราะลึกซึ้งและยากเพราะกำลังเป็นอย่างนี้แต่ไม่รู้ ทำให้เกิดความเพียร ความอดทนที่จะได้ฟังเพิ่มขึ้น ไตร่ตรองเพิ่มขึ้นเป็นบารมี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 30 ก.ย. 2566

- บารมี คือ ความดีทั้งหมดทุกอย่างที่จะทำให้ค่อยๆ ละความไม่ดีจนกระทั่งสามารถค่อยๆ รู้ความจริงที่ถูกความไม่รู้ปิดบังไว้ได้

- ขณะกำลังรู้ความจริงอย่างนี้ เห็นประโยชน์อย่างนี้ ขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล (ถ้าเข้าใจก็เป็นกุศล) ขณะที่เป็นกุศลเป็นอะไร (เป็นจิต) ขณะนั้นจิตกำลังรู้แจ้งคำที่ได้ยิน แต่ว่าสภาพที่เข้าใจถูกไม่ใช่จิตแต่เป็น “เจตสิก” นามธรรมที่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานถ้าไม่มีจิตอะไรๆ ก็ไม่มีทั้งหมด

- ถ้าไม่มีจิตไม่มีอะไรปรากฏแน่นอนแต่ต้องไม่ลืมว่า จิตไม่ใช่เจตสิก เจตสิกก็รู้ จิตก็รู้แต่ว่า รู้อารมณ์เดียวกัน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ธรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่สภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ เกิดมารู้แจ้งเท่านั้นไม่ทำกิจอื่นเลย ส่วนสภาพธรรมอื่นๆ ทำกิจของจิตไม่ได้

- ขณะที่จิตเกิดขึ้นเข้าใจ ขณะนั้นจิตทำกิจอะไร (ทำกิจชวนะ) ถูกต้อง เพราะฉะนั้นนี่เป็นเหตุที่จะต้องรู้ว่า จิตที่ทำกิจอื่นเป็นอะไรชาติอะไร เพราะฉะนั้นจิตที่ไมใช่ผลของกรรมแต่เกิดขึ้นเมื่อถึงโอกาสถึงเวลาที่โวฏฐัพพนจิตดับไปทางปัญจทวาร หรือมโนทวาราวัชชนจิตดับไปทางใจ จิตนี้ที่เกิดต่อต้องทำชวนกิจ

- เวลาที่จิตโกรธเกิดขึ้นทำกิจอะไร (ชวนะ) เพราะฉะนั้นก็ไม่ยากเลยถ้ามีความเข้าใจละเอียดจริงๆ ถ้าไม่ละเอียดก็จะสับสน

- กำลังเห็น ถ้าโวฏฐัพพนจิตไม่เกิด กุศลจิตและอกุศลจิตเกิดได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นจิตอะไรต้องเกิดก่อนชวนะ? (โวฏฐัพพนะ) ถ้าไม่เห็นเลย ไม่ได้ยินเลยแต่คิดถึงจิตที่โกรธได้ไหม (เป็นไปได้) เพราะเหตุว่า วิบากจิตเท่านั้นทำกิจดับไปแล้ว กุศลจิตและอกุศลจิตเกิดไม่ได้ต้องมีจิตที่เกิดก่อนกระทำทางเกิดแล้วดับให้กุศลหรืออกุศลที่สะสมมาเกิดขึ้นเพราะพร้อมที่จะเกิดเมื่อถึงเวลา

- เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดก่อนชวนะจึงมีชื่อว่า “ชวนปฏิปาทกะ” เพราะฉะนั้นชวนะคือกุศลจิต อกุศลจิตและกิริยาจิตของพระอรหันต์ต้องเกิดต่อจากจิตนี้ซึ่งเป็นชวนปฏิปาทกะ ทุกครั้งที่จิตนี้ดับชวนะต้องเกิดอย่างอื่นเกิดไม่ได้จึงชื่อว่า “ชวนะ” “ปฏิ” แปลว่า เฉพาะ “ปาทกะ” เป็นบาท เป็นเบื้องต้นเกิดก่อนชวนจิต (ปาทกะคืออะไร) คือบาท เบื้องต้น ก่อน เป็นบาทที่จะให้ เป็นเบื้องต้นที่จะให้ เป็นเหตุที่จะให้ชวนะเกิดได้จึงเป็น “ชวนะ” “ปฏิ” คือเฉพาะ “ปาทะ” คือบาท หรือเบื้องต้น หรือก่อน

- ต้องมีจิตเกิดก่อนชวนะใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้นจิตนั้นแหละที่เกิดก่อนชวนะจึงชื่อว่า “ชวนปฏิปาทกมนสิการ”

- เวลาที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกด้วยกุศลจิต อกุศลจิตหรือวิบากจิต ถามว่าเวลาที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ฯลฯ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คิดนึกจิตที่คิดนึกขณะต่อไปเป็นกุศลหรืออกุศลได้ไหม หรือต้องเป็นกุศลหรืออกุศลสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ (เกิดได้ ถ้าไม่เห็น ไม่ได้ยิน กุศลอกุศลก็เกิดได้) เมื่อไหร่? (เช่นตอนที่คิดเรื่องนี้ เรื่องนั้น) แล้วกุศลจิตอกุศลจิตเกิดใช่ไหม (ใช่)

- เวลาที่คุณอาช่าคิดอะไรแล้วยิ้ม ขณะที่ยิ้ม จิตอะไร? (คุณอาช่า คุณมานิชตอบว่า บางทีก็เป็นกุศลบางทีก็เป็นอกุศล) จิตอะไรเกิดก่อน (ชวนปฏิปาทกะ) อย่าลืมนะคะ เก่งมาก เวลาที่คิดแล้วยิ้มหัวเราะ ดีใจ เข้าใจทั้งหมดที่เป็นกุศลอกุศลสำหรับคนธรรมดาและเป็นกิริยาสำหรับพระอรหันต์เกิดเองไม่ได้แต่ต้องมีจิตที่ต้องเกิดก่อนชื่อว่า "ชวนปฏิปาทกะ"

- ตอนนี้ฟังดีๆ จิตที่เกิดก่อนชวนะชื่อว่า ชวนปฏิปาทกะ มีจิตกี่ดวงที่ทำกิจนี้ที่เป็นชวนปฏิปาทกะ? (๑) ในสวรรค์มีไหม (มีได้) ในนรกมีไหม (ที่นรกก็เกิด) จิตอื่นเกิดก่อนชวนะได้ไหม (ก่อนชวนะต้องเป็นชวนปฏิปาทกะ) จิตเดียวหรือมีจิตอื่นด้วยที่ทำกิจนี้ได้ (มี ๑) เพราะฉะนั้นจิตนี้จิตเดียวทำ ๒ กิจ จิตนี้ถูกไหมมี ๒ กิจ? (ทำได้ ๒ กิจ) ๒ กิจเมื่อไหร่ต่างกันอย่างไร (๑ คือ โวฏฐัพพนะ อีก ๑ คือ มโนทวาราวัชชนะ) โวฏฐัพพนะทางทวารไหน? (ที่เกิดหลังจากปัญจวิญญาณทางปัญจทวาร) หลังจาก? (เกิดทางปัญจทวารหลังจากปัญจวิญญาณ) ไม่ได้ ต้องอะไร? (เกิดหลังสันตีรณะ)

- เพราะฉะนั้นจิตนี้ทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวารแต่ทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร ต่างกัน ๒ กิจ กิจหนึ่งทำทางปัญจทวารอีกกิจหนึ่งทำทางมโนทวาร แต่ไม่ว่าจะทางปัญจทวารหรือทางมโนทวารต้องเกิดก่อนชวนะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า “ชวนปฏิปาทกะ” ไม่ว่าจะเกิดทางทวารไหน

- เพราะฉะนั้นจิตนี้ทำกิจทาง ๒ ทวารโดยคร่าวๆ คือ ๑ ทางปัญจทวาร อีก ๑ ทางมโนทวาร ทำต่างกิจเพราะฉะนั้นจึงมี ๒ ชื่อ ถ้าเข้าใจแล้วคราวหน้าจะถามเรื่องนี้อีก จะถามเรื่องอเหตุกจิตและจิตที่ไม่ใช่อเหตุกะทั้งชาติ ทั้งกิจ ทั้งทวาร

- สำหรับวันนี้ก็คงจะหมดเวลา ขอบคุณคุณสุคินมากนะคะ ยินดีในกุศลที่ช่วยให้คนได้เข้าใจพระธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 30 ก.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพยิ่ง

กราบขอบพระคุณ กราบอนุโมทนาคุณสุคิน คุณอาช่าและผู้ร่วมสนทนาธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลของคุณอัญชิสา (พี่สา) ในความอนุเคาระห์ช่วยตรวจทาน

กราบขอบพระคุณและกราบยินดีในกุศลอาจารย์คำปั่นในความกรุณาทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 3 ต.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ