Thai-Hindi 28 Oct 23

 
prinwut
วันที่  28 ต.ค. 2566
หมายเลข  46877
อ่าน  517

Thai-Hindi 28 Oct 23


- (คุณอาช่าบอกว่า ที่เราได้ยินมาเกี่ยวกับสิ่งที่มีจริงในชีวิตเรา หลังจากฟังแล้วก็อยากจะศึกษาเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น) เพื่อต้องการรู้เท่านั้นหรือ (เข้าใจว่า ถ้าเข้าใจ เมื่อใหร่ที่ความเข้าใจเจริญ เราก็ค่อยๆ ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูก) เพื่อจะรู้ว่า ความจริงไม่รู้ว่ามีกิเลสมากแค่ไหนใช่ไหม (เป็นอย่างนั้น)

- เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของการเข้าใจถูกถึงที่สุดคืออะไร (เป้าหมายคือ ดับกิเลสให้หมดสิ้น)

- ถ้าไม่รู้ว่ามีกิเลส อะไรเป็นกิเลส จะดับกิเลสได้ไหม (ไม่ได้) ชีวิตประจำวันมีกิเลสมากไหม (เยอะมากจนพูดได้ว่าตลอดเวลา)

- ถ้าไม่ฟังพระธรรม มีโอกาสที่กิเลสในชีวิตประจำวันจะน้อยลงไหม (ไม่มีโอกาส) เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันควรมีกิเลสน้อยลงบ้างใช่ไหม (ใช่) ถ้ากิเลสในชีวิตประจำวันไม่น้อยลงเลย สามารถที่จะดับกิเลสได้ไหม (ไม่)

- ทุกคนมีกิเลสมากๆ ใช่ไหม (ใช่) ถ้าไม่เข้าใจธรรมเลย สามารถที่จะให้กิเลสน้อยลงได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นทุกคนมีกิเลสมาก สมควรที่จะเข้าใจธรรมทุกคนไหม (สมควร)

- ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงเพื่อใคร (เพื่อที่ให้ทุกคนที่มีกิเลสอยู่ให้รู้ ให้ฟัง ให้ศึกษา) เพราะฉะนั้น ทุกคนสมควรที่จะได้ฟังธรรมไหม (ถูกต้อง)

- ฟังธรรมเพื่อประพฤติปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงใช่ไหม (ใช่) ถ้าฟังแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม สมควรฟังไหม (ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่สมควรเรียกว่าเป็นผู้ฟัง) และถ้าเป็นผู้ที่กล่าวธรรมยิ่งสมควรที่จะต้องประพฤติตามใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้นควรที่จะกล่าวธรรมเพื่อทุกคนจะได้ฟังใช่ไหม ไม่เว้น (ใช่) ถ้าคิดจะไม่ให้คนโน้นคนนี้ได้ฟังธรรม ผิดหรือถูก (ผิด) เพราะฉะนั้นที่จะไม่ให้ใครได้ฟังธรรม ไม่ให้เขามาฟังธรรม ผิดหรือถูก (ผิด)

- ต้องตรง ถ้าไม่ตรงจะไม่เข้าใจธรรม ธรรมจะไม่มีประโยชน์สำหรับคนไม่ตรง ถูกไหม (ถูก)

- เพราะฉะนั้นคนที่กล่าวธรรมเพื่อที่จะให้คนอื่นเข้าใจธรรม ต้องประพฤติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ถ้าไม่ประพฤติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สมควรจะเป็นผู้แสดงธรรมไหม (ไม่)

- กิเลสอยู่ที่ไหน (อยู่ในตัวเรา) ใครสามารถจะเอากิเลสนั้นออกได้ (มีแต่ความเข้าใจของตัวเองที่ทำให้กิเลสน้อยลงได้) เพราะฉะนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะให้ทุกคนได้ฟังธรรมใช่ไหม (ใช่)

- ธรรมละเอียดลึกซึ่งไหม เข้าใจแม้คำเดียวของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้งทันทีได้ไหม เพราะฉะนั้นขณะนี้เรากำลังพูดถึงหนทางที่ทุกคนจะค่อยเข้าใจให้ถูกต้องว่า กำลังเป็นหนทางที่ค่อยๆ ละกิเลสใช่ไหม ถ้าไม่เข้าใจความละเอียดลึกซึ้งจริงๆ ละกิเลสไม่ได้

- ทุกคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส เพื่อให้เข้าใจกิเลสที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่เข้าใจกิเลสที่มีเดี๋ยวนี้จะละกิเลสได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นฟังธรรมทั้งหมดเพื่อรู้จักกิเลสที่มีเดี๋ยวนี้และเพื่อให้กิเลสที่มีเดี๋ยวนี้ค่อยๆ ลดลงเพราะฉะนั้นประมาทการฟังแต่ละคำไม่ได้เลย

- เดี๋ยวนี้เรากำลังพูดถึงอะไร (กำลังพูดถึงธรรม) ไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่เรียกว่า “ธรรม” ไม่ใช่คำ แต่เดี๋ยวนี้เรากำลังพูดถึงอะไร (ไม่เข้าใจคำถาม)

- ถ้าตอบว่า “ธรรม” จะไม่เข้าใจอะไรเลยแต่ไม่ต้องใช้คำว่าธรรม แต่คิด เรากำลังพูดถึงอะไร ไม่ใช่ตอบว่า “ธรรม” (จากที่กล่าวมา เรากำลังพูดถึงกิเลส)

- เพราะฉะนั้นต้องไตร่ตรองอีก เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้ที่ละเอียดในการที่จะเข้าใจความลึกซึ้ง (เพราะฉะนั้นเราต้องพิจารณาไตร่ตรองที่ท่านอาจารย์ถามและพยายามเข้าใจ) เพราะฉะนั้นถามใหม่ให้คิด เรากำลังพูดถึงอะไร (เราพูดถึงกิเลส)

- นี่เป็นการฝึกหัดอบรมให้เป็นผู้ที่ละเอียดให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นคิดอีกทีจากคำถามที่ว่า เรากำลังพูดถึงอะไร (ยังตอบนัยเดิมว่า เราฟังธรรมเพื่ออะไร)

- แสดงว่า ความละเอียดของการฟังคำถามยังไม่พอ หรือว่าฟังคำถามนี้ก่อนจะได้ฟังธรรมไม่สามารถเข้าใจได้ เมื่อฟังธรรมแล้วการที่จะรู้ละเอียดจะต้องเพิ่มมากกว่านี้แม้จะเป็นคำถามธรรมดา

- เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะพูดอะไรที่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อรู้สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นทั้งหมดทุกคำไม่ว่าจะเป็นคำอะไร เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ใช่ไหม ถูกไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมเลย ไม่ใช่ฟังเฉยๆ อยู่ในตำราเล่มนั้นเล่มนี้ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้แต่ทั้งหมดที่ฟังเพื่อไตร่ตรองให้รู้จริงๆ ให้เข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้เท่านั้น มิฉะนั้นทุกคำที่ได้ฟังไม่มีประโยชน์เพราะไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ได้

- เพราะฉะนั้นความจริงเดี๋ยวนี้คืออะไร (เสียง) เสียงเป็นอะไร (เป็นสิ่งที่ได้ยินรู้และเป็นรูป)

- เพราะฉะนั้นขณะนี้มีคนไหม มีคุณอาช่าไหม (ไม่) แต่เสียงมีจริงๆ ใช่ไหม ไม่ใช่คุณสุคิน ไม่ใช่คุณอาช่า ไม่ใช่ดิฉัน แล้วเสียงเป็นอะไร (เป็นสิ่งที่มีจริงตอนนี้)

- เพราะฉะนั้นทั้งวันคุณอาช่าเข้าใจความจริงของเสียงหรือเปล่า (เมื่อไหร่ระลึกถึงสิ่งที่เคยได้ยินมาพิจารณา ตอนนั้นก็เข้าใจ) ขอโทษๆ นั่นไม่ใช่การตอบคำถาม ถามว่าอะไร (ถามว่าเข้าใจเสียงในชีวิตประจำวันไหม)

- ไม่ใช่ ไม่ได้ถามอย่างนั้น ถามว่า วันหนึ่งๆ คุณอาช่าเข้าใจเสียงอย่างที่พูดไหม (ส่วนใหญ่แม้ไม่มีความเข้าใจ แต่ก็มีบ้าง) มีบ้างเมื่อไหร่ (กำหนดไม่ได้)

- อันนั้นความคิด แต่ถามถึงความจริง จริงๆ เลยวันนี้มีความเข้าใจเสียงที่พูดมาแล้วหรือยังเดี๋ยวนี้ (เข้าใจว่า ความเข้าใจเป็นขั้นคิด ไม่ได้เข้าใจลึกซึ้ง ยังไม่เป็นขั้นที่รู้ลักษณะโดยตรง)

- ทีแรกไม่ได้ตอบอย่างนี้ใช่ไหม (ใช่) กว่าจะรู้ว่า ไม่ได้ตอบตรงคำถาม ถ้าไม่ถามซ้ำๆ จะรู้ไหมว่า ไม่ละเอียด ไม่ได้ฟังคำถามและไม่เข้าใจความจริงที่ถาม

- ประโยชน์ในสังสารวัฏฏ์จริงๆ ไม่ใช่อยากจะรู้คำนั้นคำนี้ รู้แล้วจิต วิถีจิต ฯลฯ ไม่ใช่เลย แต่ประโยชน์จริงๆ คือเห็นความลึกซึ้งว่า “ไม่มีเรา” แน่นอน ต้องไม่ลืมคำนี้ ไม่ว่าจะได้ยินคำอะไร แต่ยังเป็นเรา

- เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จริงๆ ในแต่ละ ๑ ซึ่งไม่ใช่เรา ต้องมีความอดทน ต้องรู้ว่าลึกซึ้ง กว่าจะรู้อย่างนี้พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีนานเท่าไหร่ แล้วเราง่ายๆ อย่างนี้หรือ

- ถ้าไม่รู้ว่าธรรมลึกซึ้ง ไม่มีวันรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะว่าอะไร (ถ้าประมาทก็ไม่สามารถเข้าใจได้) เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ไม่ต้องสนใจใครทั้งสิ้น เพราะกิเลสของแต่ละคนเป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะต้องละ

- ประโยชน์อะไรที่จะคิดเรื่องกิเลสของคนอื่น ขณะที่กำลังคิดเรื่องของคนอื่น ขณะนั้นเป็นอะไร (ตอนนั้นเป็นกิเลสเราเอง) ตอนนั้นรู้หรือเปล่า (ไม่รู้) เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้รู้ความจริงใช่ไหม (ใช่)

- ต้องไม่ลืมความลึกซึ้งอย่างยิ่งของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นฟังธรรมทำไม (อย่างแรกคือต้องเข้าใจว่า ธรรมคืออะไร หลังจากฟังก็เข้าใจตามที่ได้ฟังมาเรื่อยๆ คือเห็น ได้ยิน เสียง รส คิด ฯลฯ ศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจทั้งหมดนี้และรู้ว่า เรามีกิเลสแค่ไหน ศึกษาไปเพื่อที่จะรู้ว่าให้กิเลสเราลดลง และแม้ว่าเราคิดอย่างนี้ว่า เราเรียนอย่างนี้เข้าใจว่ามีกิเลสแต่สำคัญคือเข้าใจว่า ไม่ใช่เราแต่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นบางทีคิดถึงคนอื่นแต่ลืมว่าเป็นธรรม ไม่ได้เป็นของใคร เกิดเพราะเหตุปัจจัย นั่นคือจุดประสงค์ของการฟังธรรม)

- เดี๋ยวนี้รู้เดี๋ยวนี้ไหม (ไม่รู้) เพราะฉะนั้นเป็นคนตรงที่จะรู้ว่า ประโยชน์สูงสุดคือ ในสังสารวัฏทั้งหมดไม่ใช่ให้ไปทำอะไรเลยแต่ค่อยๆ เข้าใจความจริงทีละเล็กทีละน้อย

- ถามคุณอาช่าว่า เดี๋ยวนี้ความจริงอยู่ไหน (อยู่ ณ ปัจจุบัน) อะไร (เห็น) รู้หรือยัง (ยังไม่รู้) เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะรู้ความจริงของเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ขณะอื่นใช่ไหม รู้ยังไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะนี้กำลังปลูกฝังความเข้าใจที่ลึกซึ้งเพื่อที่จะรู้สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ใช่ไหม (ใช่)

- ถ้ารู้ความจริงต้องรู้สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จริงๆ อย่างนี้อีกนานไหม นี่คือหนทางเดียวใช่ไหมที่จะรู้สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ได้ (ใช่) อีกนานเท่าไหร่ (รู้แค่ว่าใช้เวลามาก) มากเท่าไหร่ (มากกว่าที่เราคิด)

- คนที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ได้เคยพบได้เคยฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ หรือเปล่า (ต้องเป็นอย่างนั้น) เพราะฉะนั้นหนทางนี้หนทางเดียวใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้น ความเข้าใจนี้รู้ว่า ถ้าทั้งวันมีแต่อกุศลยิ่งเพิ่มความยาก จึงเห็นประโยชน์ของการที่จะทำสิ่งที่ดีในชีวิตที่สั้นมากที่สามารถจะทำได้ เพื่อเป็นบารมีที่จะค่อยๆ ลดอกุศลและสามารถที่จะมีเวลาสำหรับการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น

- (คุณมานิชถามว่า ที่คนในสมัยพระพุทธองค์พระองค์นี้ตรัสรู้เพราะได้เคยฟังธรรมมาแล้วจากพระพุทธองค์องค์ก่อนๆ เรารู้ได้อย่างไรว่าเป็นอย่างนั้น)

- เดี๋ยวนี้กำลังฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ เข้าใจแค่ไหน (เข้าใจน้อยมาก แต่อยากรู้ว่า ชาตินี้เข้าใจเพิ่มขึ้นแค่ไหนและเป็นความเข้าใจขั้นไหน อันนี้ใครจะรู้ เรารู้ไหมหรือเขารู้เอง)

- เดี๋ยวนี้คุณมานิชรู้ไหมว่า ใครรู้แค่ไหน (ไม่สามารถรู้ได้) สำหรับตัวเขาเอง รู้ได้ไหม (รู้ได้) เขารู้แค่ไหน (ไม่สามารถตอบได้) ถูกต้องไหม (ถูกต้อง) ถูกต้องที่สุดเหมือนกำลังจับด้ามมีด เขารู้ไหมว่าเมื่อไหร่ด้ามมีดจะสึกทุกครั้งที่เขาจับ ด้ามมีดที่ปัญญาจะต้องค่อยๆ จับจนกว่าจะมั่นคง จนกว่าจะค่อยๆ เอากิเลสออก ด้ามมีดนั้นยิ่งใหญ่กว่าสากลจักรวาลทั้งหมดในแสนโกฏิกัปป์ยิ่งกว่านั้นที่ผ่านมา

- (คุณมานิชเห็นด้วยเรื่องการจับด้ามมีดและคิดว่า การคลุกคลีกับคนอื่นทำให้กิเลสเพิ่มมากขึ้นกว่าการที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น) อยู่คนเดียวแต่ไม่รู้อะไรเลยจะสามารถถึงวันที่จะรู้ไหม (ถ้าอยู่คนเดียวแล้วไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่มีวันน้อยลงมีแต่ไม่รู้เพิ่มขึ้น)

- ปัญญาต้องรู้ตรงไม่ว่าจะอยู่คนเดียวหรืออยู่กับใคร เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด (คุณมานิชไม่เข้าใจที่ตัวเองพูดแต่รู้สึกดี) เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจมากกว่านี้ เห็นไหม

- กว่าจะรู้จักธรรมจริงๆ ทุกอย่างประมาทไม่ได้เลยว่า ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะเข้าใจผิดได้ ถ้าเขาเข้าใจจริงๆ เขาจะเริ่มรู้ ไม่ใช่เป็นเพียงไปจำว่าอะไรเป็นบารมี เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ที่เขาตอบว่ากำลังเป็นบารมีเขาหมายความถึงอะไร (หมายถึงตอนนั้นมีความเข้าใจอยู่) เป็นบารมีหรือเปล่าที่เข้าใจถูกต้อง (เป็นบารมี)

- อยากทราบนิดนึงว่าคิดออกไหมว่า บารมีอะไร (คุณมานิชคิดไม่ออก) เพราะฉะนั้น ลองคิดอีกทีเดี๋ยวนี้เป็นบารมีหรือเปล่า ให้เขาค่อยๆ คิดอีกๆ เป็นการฝึกหัดให้ละเอียดที่จะเข้าใจความละเอียดของธรรมซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญาที่สามารถจะเข้าใจความลึกซึ้งได้ เราช่วยเขาให้เขาคิดให้เขาหัดให้เขาอบรม

- (ขออาจารย์ถามใหม่) ถามว่าเดี๋ยวนี้เป็นบารมีหรือเปล่า ซ้ำไปซ้ำมาให้เขาคิดจนกระทั่งเป็นบารมีจริงๆ (บารมีก็ต้องมีไม่อย่างนั้นคงไม่อยู่นั่งฟังตอนนี้) ไม่ใช่ นั่นคิด ฟังคำถาม ที่กำลังพูดเรื่องธรรมเข้าใจไหมว่าอะไรเป็นธรรม (เข้าใจว่ากำลังศึกษาธรรมอยู่)

- เข้าใจคำว่า ธรรม หรือ รู้จักธรรม (ถ้าตั้งคำถามแบบนี้แล้ว เห็นเลยว่าต่างกันมากว่า รู้ความหมายของคำว่าธรรมหรือรู้จักธรรมนั้นต่างกันมาก แต่พูดได้ว่าที่ฟังอยู่ฟังเพื่อที่จะรู้จักคำจนไปถึงตัวจริงของธรรม)

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีอะไร (มีธรรมคือเห็น) มีธรรม เปลี่ยนได้ไหม (ไม่ได้) ธรรมคือเห็น เป็นใครหรือเป็นอะไร (ไม่ได้เป็นบุคคลแต่เห็นก็คือเห็น) หมายความว่าอะไร ไม่ได้เป็นบุคคลแต่เห็นก็คือเห็น (เป็นสิ่งที่มีจริง เห็นเป็นเห็น) จะเปลี่ยนความคิดนี้ไหม (ไม่เปลี่ยน) มั่นคงไหม (ความจริงเปลี่ยนไม่ได้แต่ความเข้าใจไม่ได้มีมาก) ไม่ได้ถามเรื่องความเข้าใจ แต่ถามว่าจริงหรือเปล่า (จริง) เปลี่ยนไหม (เราอยู่หรือไม่อยู่ เห็นก็เป็นเห็นไม่มีใครเปลี่ยนได้) หมายความว่าอะไรว่าเราอยู่หรือไม่อยู่ ขอโทษนะคะ มีเราไหม อะไรเป็นเรา (เข้าใจว่าไม่มีเรา หลุดปากไป)

- เพราะฉะนั้น ไม่มีเราใช่ไหม (ไม่มี) ความเข้าใจว่า “ไม่มีเรา เปลี่ยนธรรมสิ่งที่มีจริงให้เป็นอื่นไม่ได้” เป็นบารมีหรือเปล่า (เป็นบารมี) บารมีอะไร คุณมานิชไม่รู้จักชื่อไม่เป็นไร แต่การที่เข้าใจมั่นคงไม่เปลี่ยนเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องเป็น “ปัญญาบารมี”


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 28 ต.ค. 2566

- ความเข้าใจถูกเป็นปัญญา แล้วทำไมเป็นบารมี (เป็นอะไรที่พาไปสู่การเข้าใจความจริง) การเข้าใจที่จะนำไปสู่ความจริง ความจริงที่บารมีจะนำไปสู่คืออะไร (เข้าใจสิ่งที่มีจริง ณ ขณะที่ปรากฏ) สิ่งที่มีจริง ณ ขณะที่ปรากฏเป็นอย่างไร (เช่น เห็น เข้าใจเห็นชัดเจน) ว่า? (คุณมานิชเข้าใจว่า เห็นเป็นเห็น ไม่มีใครเปลี่ยนได้ ไม่มีใครที่บังคับบัญชาได้ เห็นมีแต่เห็นไม่มีเรา)

- เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจอย่างนี้มิใช่หรือ คนอื่นจะตอบไหม (คุณอาช่าตอบว่า ตอนนี้ก็เข้าใจอย่างนี้แล้วเป็นบารมีอย่างไร (เป็นบารมีเพราะนำไปสู่ความเข้าใจระดับที่สูงขึ้น)

- ถ้าไม่มีความเข้าใจเดี๋ยวนี้จะถึงไหม (ไม่ถึง) เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่า จะถึงไหนจึงตอบว่าไม่ถึง (ก็ต้องเข้าใจ) ถึงไหนและเดี๋ยวนี้เป็นบารมีไหม ถ้าไม่มีเลยจะถึงไหม (ถึงจุดที่ดับกิเลสทั้งหมด) จุดไหนจะดับกิเลส (เป็นพระอรหันต์) ยังไม่เป็นพระโสดาบันจะเป็นพระอรหันต์ได้มั้ย (ตอบแล้วว่าดับกิเลสหลายอย่างเริ่มจากความเห็นผิดจนดับหมดสิ้น)

- ถามเขาว่า ดิฉันถามว่าอะไร (ถามว่าจุดที่จะไปถึงคือจุดอะไร) เพราะฉะนั้นตอบอีกทีๆ ละหนึ่งจุด (๔ อริยมรรค และ ๔ อริยผล)

- อริยมรรครู้อะไรหรือเปล่า (ไม่รู้คำตอบ) เพราะฉะนั้นพูดคำที่ไม่รู้จักใช่มั้ย (เป็นอย่างนั้น)

- เพราะฉะนั้นนี่เป็นความละเอียด ไม่ใช่คุณอาช่าคนเดียว ทั้งโลกเป็นอย่างนี้ ได้ยินคำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ได้ยินแค่ชื่อแต่ไม่รู้ว่าตรัสว่าอะไรและแต่ละคำของพระองค์มาจากการที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีจนรู้ความจริงเพราะฉะนั้นประมาทสักคำไม่ได้

- เพราะฉะนั้น ประมาทคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เลยว่า ลึกซึ้ง ได้ยินคำที่พระองค์ตรัส เข้าใจความหมายรู้ว่าหมายถึงอะไร เป็นความเข้าใจระดับหนึ่งยังไม่พอเลย จะต้องคิดถึงสิ่งที่ได้ฟังแล้วฟังอีกจนกระทั่งสามารถเข้าใจขึ้นๆ

- ถ้าไม่เห็นความลึกซึ้งของธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แต่ละอย่างจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม (ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ก็ไม่สามารถรู้ว่า พระพุทธองค์เป็นใคร)

- (อาคิ่ลฟังคุณมานิชเรื่องบารมี รู้ว่ามีบารมีอะไรบ้าง แต่จะขอท่านอาจารย์ช่วยเกื้อกูลความหมายของบารมี) ดีมากค่ะ ตัวจริงๆ ไม่ใช่ชื่อใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้นเริ่มพูดถึงสิ่งที่ได้ฟังบ่อยๆ เพื่อที่จะเข้าใจขึ้นอีกๆ เดี๋ยวนี้มีอะไร (คุณอาคิ่ลเพิ่มเติมว่า ขณะที่เข้าใจเป็นบารมีไหม นี่คือสิ่งที่ท่านอาจารย์กำลังจะให้เข้าใจอย่างนั้น)

- ดีมาก ก่อนฟังธรรม รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่มีจริงที่ไม่ใช่อะไรเลยทั้งสิ้นแต่มีจริงๆ (ไม่รู้) แล้วใครรู้ความจริงนี้ (พระพุทธองค์) ทำไมพระองค์ตรัสให้คนอื่นฟัง (เพื่อพวกเรา) ให้ไตร่ตรองให้คิดว่าจริงไหม ใช่ไหม (ใช่) ถ้าพระองค์ไม่ตรัสรู้ ก็รู้ว่ามีคุณอาช่าคุณอาคิ่ลแต่ไม่รู้ว่าคุณอาช่าคุณอาคิ่ลคืออะไร

- เพราะฉะนั้นอาช่าคืออะไร อาคิ่ลคืออะไร สุจินต์คืออะไร ต้นไม้คืออะไร (เป็นสมมติ) ไม่รู้จักคำว่า สมมติ ถามคุณอาคิ่ลว่า ถามว่าอะไร (เป็นบัญญัติ) ดิฉันไม่รู้จักคำว่าบัญญัติแต่รู้ความจริงได้โดยไม่ใช้คำว่าบัญญัติ (รู้แต่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง)

- ไม่รู้ว่าไม่จริง ก็นี่อาช่า นี่อาคิ่ล มิใช่หรือ (เพราะรู้ว่าที่เห็นไม่ใช่เห็นสุคินแต่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินก็ได้ยินแต่เสียง ไม่ได้เห็นสุคิน ไม่ได้ยินเสียงสุคิน)

- เพราะฉะนั้นไม่มีสุคิน ไม่มีอาช่า ไม่มีอาคิ่ล แล้วมีอะไร (มีธรรมต่างๆ กัน) รู้หรือยังว่าเป็นธรรมไม่ใช่อาคิ่ล (รู้นิดๆ หน่อยๆ) จะรู้มากกว่านี้ได้ไหม (ได้) วิธีไหน ทำอะไร อยู่ดีๆ จะรู้ขึ้นได้อย่างไร (ฟัง สนทนา พิจารณาแล้วค่อยๆ มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น) เป็นความมั่นคงไหมว่า ไม่มีอาช่า ไม่มีใครแต่มีเห็น มีได้ยินเป็นต้น

- (คุณอาคิ่ลตอบว่า พูดได้ว่าไม่มั่นคงแต่มั่นคงระดับหนึ่ง จาก ๐ ถึง ๑๐ พูดได้ว่า ๑ คือระดับความมั่นคง ตอนที่ฟังสนทนาก็จำได้ พอออกไปแล้วมักจะลืมว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแต่กลายเป็นว่าเห็นบุคคลเห็นสิ่งต่างๆ) เพราะฉะนั้นอะไรจริง (เห็นจริง ได้ยินจริง ได้กลิ่นจริง ลิ้มรสจริง รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสจริงเวลานี้)

- มั่นคงไหมว่าจริงไม่เปลี่ยน (ระดับนี้มั่นคง) สามารถที่จะรู้ความจริงกว่านี้ได้ไหม (ได้) นี่เป็นบารมีหรือเปล่า (เป็นบารมี) เพราะฉะนั้นเข้าใจคำว่า “บารมี” หรือยัง (เข้าใจ)

- ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกไม่รู้ความจริงจะเป็นบารมีได้ไหม เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นอย่างนี้แต่ยังไม่ปรากฏว่าเป็นอย่างนี้ แต่รู้ว่าสามารถจะรู้ได้และควรจะรู้ เป็นบารมีหรือเปล่า (เป็น) ต้องอดทนไหมที่กว่าจะรู้ความจริงอีกนานมากแต่ก็รู้ได้ (ต้องอดทน)

- เพราะฉะนั้น ความอดทนเป็นบารมีหรือเปล่า (เป็น) เป็นบารมีอะไร (ขันติบารมี) แต่ถ้าคุณอาคิ่ลมีความอดทนที่จะหาเงินทองเป็นบารมีหรือเปล่า (ไม่เป็น) แต่ถ้าคุณอาคิ่ลมีความอดทนที่เห็นประโยชน์สูงสุดในสังสารวัฏซึ่งถ้าไม่มีใครเข้าใจเลย เขาไม่สามารถรู้ความจริงได้ ขณะนั้นเป็นบารมีหรือเปล่าที่พยายามทุกทาง อดทนทุกอย่างที่จะเข้าใจขึ้นเพื่อที่จะให้คนอื่นเข้าใจถูกด้วยไม่ใช่เพื่อคุณอาคิ่ลคนเดียว ขณะนั้นเป็นบารมีหรือเปล่า (เป็นบารมี)

- เป็นบารมีอะไร (เมตตา) ถูกต้อง แต่ถ้าชีวิตประจำวันคุณอาคิ่ลไม่มีเมตตาจะทำให้กิเลสลดลงและเมตตาเพิ่มขึ้นหรือเปล่า (ถ้าวันๆ ไม่มีเมตตาต่อใครก็เจริญเมตตาบารมีไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันเป็นบารมีเมื่อไหร่ (เข้าใจว่า ถ้าไม่มีปัญญา บารมีอื่นๆ ก็ไม่เกิดขึ้น) แต่ไม่ใช่บารมีอื่นๆ โดยคำพูด เดี๋ยวนี้และขณะใดเราต้องรู้ว่าเป็นบารมีอะไรเพราะอะไร ไม่ใช่จบแล้วเป็นบารมีหมด

- (มานิชตอบว่า วันๆ ก็ต้องมีบารมีเกิดขึ้นบ้าง) เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่เป็นบารมี ขณะไหนเป็นบารมีในชีวิตประจำวัน (อาคิ่ลตอบว่า ถ้าถามอย่างนั้นมันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ อะไรก็ได้) เมื่อไหร่ก็ได้ อะไรก็ได้ ก็ไม่รู้ใช่มั้ย (เราไม่สามารถรู้ได้)

- ทำไมจะรู้ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นจะมีประโยชน์อะไรที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วรู้ไม่ได้ (คุณมานิชตอบว่า เมื่อไหร่มีความเข้าใจตอนนั้นเป็นบารมี) แล้ววันนี้เดี๋ยวนี้เป็นบารมีหรือเปล่า (เป็น) พอไหม (ไม่พอ เป็นแค่เริ่มต้น)

- เพราะฉะนั้น ต้องตรงตามความเป็นจริงว่า ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประโยชน์สูงสุดในความลึกซึ้งที่จะให้เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่จำคำแล้วเมื่อนั่นเมื่อนี่แต่ว่าไม่รู้จริงๆ ว่าขณะนั้นเป็นอะไร

- ความจริงเป็นอย่างนี้หรือเปล่า เป็นบารมีหรือเปล่า (ตอนที่เข้าใจก็เป็นบารมี) เดี๋ยวนี้ที่รู้ว่าสิ่งนี้เปลี่ยนไม่ได้ เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ ทำให้เกิดเข้าใจความลึกซึ้ง จริงไหม

- เริ่มเข้าใจพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามั่นคงขึ้นเป็นบารมีหรือเปล่า (เป็นบารมี) ถ้าเข้าใจพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบารมีอะไรบ้าง (เป็นปัญญาบารมี) เป็นทุกบารมีหรือเปล่าหรือบารมีเดียว (เมื่อเข้าใจคุณธรรมของพระองค์เมื่อไหร่ ตอนนั้นก็มีบารมีทั้งหมด) คราวหน้าตอบมาเลยว่าแต่ละบารมีคืออะไรเป็นได้อย่างไร

- สำหรับวันนี้ก็ยินดีในกุศล ในความอดทน ในความเริ่มเห็นพระคุณในการรู้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่นำสิ่งที่เป็นโทษมาให้เลย ถ้าใครประพฤติปฏิบัติตามจะมีแต่ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 28 ต.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณอาคิ่ล คุณอาช่า คุณมานิชและผู้ร่วมสนทนาธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณพี่สา อัญชิสา และยินดียิ่งในกุศลช่วยเหลือตรวจทาน

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นในกุศลทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 28 ต.ค. 2566

"ความเข้าใจนี้รู้ว่า ถ้าทั้งวันมีแต่อกุศลยิ่งเพิ่มความยาก จึงเห็นประโยชน์ของการที่จะทำสิ่งที่ดีในชีวิตที่สั้นมากที่สามารถจะทำได้ เพื่อเป็นบารมีที่จะค่อยๆ ลดอกุศลและสามารถที่จะมีเวลาสำหรับการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น"


กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ต.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 30 ต.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ