Thai-Hindi 07 March 2023

 
prinwut
วันที่  7 มี.ค. 2566
หมายเลข  45647
อ่าน  494

Thai-Hindi 07 March 2023


- ถ้าไม่ศึกษาด้วยความเคารพคิดว่าฟังแล้วจะต้องไปทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น นั่นคือไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- คนที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ไม่รู้ว่ากำลังพูดถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ก็เพียงแต่จำ เพราะฉะนั้นเขาพูดตามคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ไม่มีโอกาสจะเข้าใจสิ่งที่พระองค์กำลังตรัสในขณะนี้ที่ให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ

- ถ้าฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วคิดว่า จะต้องทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นผิดหรือถูก (ไม่ถูก) เพราะอะไร (เพราะทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครทำอะไรได้)

- เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาคิดว่าจะทำยังไม่เกิดใช่ไหมเพราะ “คิดว่าจะทำ” ถ้าคิดว่าจะทำไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีขณะนี้เพราะสิ่งนั้นเกิดแล้วไม่มีใครทำเพราะ “เกิดแล้ว”

- สิ่งที่เกิดแล้วมีแล้วเดี๋ยวนี้ยังมีอยู่หรือเปล่า ไปไหน (ดับไปแล้วไม่กลับมา) อย่าลืม เพียงเกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์

- เข้าใจเท่านี้พอไหม (ไม่พอ) เพราะอะไร (เพราะความลึกซึ้งของธรรม ต้องเจริญความเข้าใจมากกว่านี้) แล้วยังไงเพราะอะไรอีก (เพราะความไม่รู้มีมาก) ฟังเท่านี้แค่นี้พอไหมเพราะอะไรอีก (เพราะหลงลืมตลอด) นั่นสิคะไม่พอเพราะอะไร มีเหตุผลมากมายที่จะต้องรู้ (นึกไม่ออก)

- เพียงได้ยินว่า “ธรรมลึกซึ้ง” แต่ยังไม่ได้เข้าใจความลึกซึ้งของธรรมเพราะยังไกลจากความจริงที่เพราะสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงไม่ได้บอกว่าอะไรนอกจากธรรมต้องเป็นสิ่งที่มีจริง แต่เดี๋ยวนี้ “เป็นเรา” ที่ฟังธรรม คิดเรื่องธรรม จำทุกคำว่าเป็นธรรมแต่ยังไม่รู้จักธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นความลึกซึ้งของธรรมอยู่ที่ทุกคำที่ต้องเข้าใจเพราะกำลังมีจริงๆ

- เดี๋ยวนี้มีคุณอ่าช่า มีคุณอาคิ่ล มีคุณสุคิน มีโต๊ะ มีเก้าอี้ มีอะไรบ้างไหม (ไม่มี) แน่ใจนะ (จริงๆ แล้วคำตอบลึกซึ้งมาก) เพราะฉะนั้นฟังเท่าไหร่ยังไม่พอเพราะยัง “ไม่รู้จัก” ธรรมเดี๋ยวนี้จริงๆ

- เพราะฉะนั้นเป็นเราทั้งหมดที่เคยยึดถือว่า เป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามที่เคยยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เริ่มได้ฟังเรื่องของสิ่งที่เรายึดถือ ได้ยินคำว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่เราแต่เป็นธรรม

- ถ้าธรรมยังรวมกันก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่จะไม่ใช่สิ่งนั้นที่เคยยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็เมื่อเข้าใจความจริงของแต่ละหนึ่งธรรมที่สามารถจะรู้ได้

- เพราะฉะนั้นต้องตรงอย่างยิ่งต่อความเป็นจริง ตรงต่อทุกคำที่พูด คนที่พูดว่า “ไม่มีเรามีแต่ธรรม” เป็นคนตรงแค่ไหน คนอื่นตอบไม่ได้ใช่ไหมนอกจากตัวเอง นี่คือความจริง นี่คือความตรง แต่ถ้าไม่ฟังไม่รู้ว่าเป็นคนตรงแค่ไหน

- คุณอาช่ารู้จักธรรมหรือยัง (ยังไม่รู้จัก) ได้ยินชื่อได้ยินเรื่องราวใช่ไหม และชื่อและเรื่องราวของสิ่งนั้นอยู่ไหน มีจริงหรือเปล่า (มีจริง) เป็นชือของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้แต่ละชื่อใช่ไหมไม่ใช่เพียงชื่อแต่เป็นที่ให้รู้ว่าความจริงนั้นของแต่ละชื่อคืออะไร

- ลองพูดสักชื่อสิคะ (เห็น) เห็น รู้จักเห็นหรือยัง (ยัง) นี่ถูกต้อง มีเห็นไม่เคยรู้จักเห็นแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ หมายความว่า รู้จักเห็น “ถึงที่สุด” ว่าไม่ใช่ใครทั้งสิ้น ไม่ใช่ “อาช่าเห็น” แต่เห็นเป็นเห็น

- เพราะฉะนั้นที่พูดว่า “เห็นไม่ใช่อาช่า” จริงแค่ไหน (บางครั้งที่ถามก็ตอบไปโดยไม่เข้าใจบางครั้งก็เข้าใจ) แต่รู้จักเห็นหรือยัง (ยังไม่รู้จัก) ตรงแค่ไหนที่พูดอย่างนี้ (ตรงเท่านี้สรุปว่าเราไม่รู้อะไรเลย) เพราะฉะนั้นพูดถึงเห็น “ตรง” ที่ว่า พูดว่าเห็นมีจริงๆ และ “ตรง” ต่อคำที่ได้ฟังว่า เห็นไม่ใช่เราเพราะฉะนั้นตรงต่อความเป็นจริงขั้นฟังเป็นสัจจบารมี เป็นปริยัตติ

- เริ่มตรงต่อความเข้าใจว่า เห็นเกิดขึ้นเห็นเท่านั้นทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะสามารถ “รู้จักเห็น” จริงๆ ว่าเป็นเห็นเท่านั้น อีกนานไหมกว่าจะรู้จักเห็น ไม่ใช่เพียงจำคำและจำเรื่องของเห็นเท่านั้น (อีกนานมาก) เมื่อไหร่รู้มั้ย (ไม่ทราบ)

- นั่นแหละคือ “สัจจบารมี” ไม่เปลี่ยนแต่รู้ว่ายังไม่รู้จักเพราะฉะนั้นต้องมี “วิริยะ” ความเพียรและก็มี “ขันติ” ความอดทนและก็มีความมั่นคง “อธิษฐาน” ที่จะ จากเห็นเดี๋ยวนี้ที่ยังไม่รู้จักเห็นจนกว่าเห็นจะปรากฏตามความเป็นจริงทีละ ๑ เห็น ไม่ใช่ว่า ๑ ขณะแต่ลักษณะที่เห็นเป็นอย่างหนึ่ง

- ถ้าไม่มีความเข้าใจในความลึกซึ้ง ไม่มีความละเอียด ไม่มีความมั่นคง จะถึงการรู้แจ้งเห็นที่ปรากฏเพียงลักษณะของเห็นเท่านั้นได้ไหม

- ทุกคนรู้คำ รู้ชื่อบารมี เรียกได้แต่เข้าใจไหมว่า อะไรเป็นบารมี เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เป็นบารมีหรือเปล่า (เป็น)

- เพราะฉะนั้นบารมีไม่ใช่ชื่อสำหรับจำแต่บารมีเป็นความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพธรรม เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้จักธรรมไม่รู้ว่า จะต้องมีความเข้าใจขึ้นจนกว่าจะถึงการประจักษ์แจ้งก็จะไม่สามารถรู้ความจริง

- เพราะฉะนั้นการสนทนาทุกครั้งเป็นการสนทนาเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ

- ขณะนี้เป็นบารมีอะไรบ้าง (รู้ว่าต้องมีอธิษฐาน) ไม่ใช่ชื่อแต่หมายความว่ามั่นคงที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรมที่สามารถเข้าใจได้จนกว่าจะรู้จักธรรมและเข้าใจธรรม

- เพราะฉะนั้นนอกจากนี้อะไรเป็นบารมีอีก เห็นไหมอยู่เดี๋ยวนี้ตรงนี้แต่ต้องเข้าใจ (ความเข้าใจ ความอดทน) ๒ แล้วใช่ไหม เดี๋ยวนี้เองกำลังมีบารมีอะไรบ้าง ๒ แล้ว

- ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงก็ไม่มีใครรู้ใช่ไหม มีสัจจบารมีไหม ตรงต่อความเป็นจริง (มี)

- เพราะฉะนั้นไม่ใช่ตัวหนังสือไม่ใช่คำแต่เป็นสภาพธรรมจริงๆ ซึ่งเคยเป็นเราทั้งหมดแต่ความจริงเป็นแต่ละ ๑ ของธรรม เป็นสัจจบารมีความเป็นผู้ตรงต่อความเป็นจริง ปัญญารู้ความจริงจึงต้องตรงตามปัญญาที่รู้ความจริง

- ขณะนี้กำลัง “เพียร” ไหม (วิริยะก็มี) ธรรมดาตามปกติทุกวันมีวิริยะไหม (มี) กำลังรับประทานอาหารมีวิริยะไหม (ถ้ามีความเข้าใจตอนนั้น)

- ไม่ใช่ ไม่ได้ถามเรื่องอะไร ต้องฟังคำถามดีๆ กำลังรับประทานอาหารมีวิริยะไหม (มี) ถ้าไม่มีรับประทานอาหารได้ไหม (ไม่ได้) ใส่รองเท้ามีวิริยะไหม ไม่พูดถึงบารมีกำลังพูดถึงตัวธรรม

- เพราะฉะนั้นให้รู้จักธรรมก่อนเพราะเขาได้ยินแต่ชื่อวิริยะ ได้ยินแต่ชื่อขันติ ได้ยินแต่ชื่อต่างๆ แต่เรากำลังให้เขาเข้าใจก่อนว่าคืออะไร

- เดินมีวิริยะไหม (มี) เพราะฉะนั้นต้องรู้จักวิริยะก่อนแล้วจะรู้ว่าขณะไหนวิริยะเป็นบารมี ขณะไหนวิริยะไม่ใช่บารมี

- กำลังแปลหนังสือธรรมมีวิริยะไหม (มี) เป็นวิริยะบารมีหรือเปล่า (เป็น)

- คุณสุคินกำลังพูด คุณอาคิ่ลคุณอาช่ากำลังฟัง มีวิริยะไหม (มี) เป็นวิริยะบารมีหรือเปล่า (เป็น) ทำไมเป็นวิริยะบารมี (เพราะไปทางที่ถูกทางที่เข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น)

- เพราะเหตุว่า ทุกอย่างทำเพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีซึ่งต้องอาศัยวิริยะความเพียรนานมากกว่าจะเข้าใจความลึกซึ้งของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้

- ก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระองค์ทรงมีบารมีไหม (มี) ก่อนที่คนฟังคำของพระพุทธเจ้าจะรู้ความจริงตามที่พระองค์ทรงแสดงต้องมีบารมีไหม

- “เบื่อ” เป็นบารมีไหม กำลังเบื่อเป็นบารมีไหม (เป็น) กำลังเบื่อมีบารมีหรือเปล่า ถามว่ากำลังเบื่อเป็นบารมีหรือเปล่า ต้องตรงคำถามจริงๆ ฟังดีๆ (ไม่เป็น) กำลังเบื่อมีวิริยะไหม (มี)

- ถ้าไม่ฟังจะรู้ไหม เห็นไหมนี่คือการที่ต้องฟัง ต้องไตร่ตรอง และการที่เราเข้าใจสิ่งนี้แหละคือชีวิตประจำวันจริงๆ คือ การเข้าใจธรรม

- จะค่อยๆ เริ่มรู้จักธรรมก็เมื่อรู้จักสิ่งที่กำลังมีทุกขณะในชีวิตประจำวัน ถ้าค่อยๆ เข้าใจคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงสิ่งที่มีจริงก็จะค่อยๆ รู้ว่า ขณะนั้นในชีวิตประจำวันตามปกติเป็นธรรมอะไรบ้าง

- กว่าจะรู้ความจริงของทุกอย่างที่เราคิดว่าเป็นกระทะ หม้อ เป็นเตาไฟ เป็นคน เป็นหมอ เป็นโรงพยาบาล ถ้าไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้มีอะไรแต่รู้ว่าธรรมที่กล่าวถึงในหนังสือเรื่องต่างๆ แล้วก็ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรมนั้นๆ จะมีประโยชน์ไหม

- ต้องรู้ประโยชน์จริงๆ ของการเข้าใจพระธรรม เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ขอเชิญสนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้

- (นี่แหละเรามาเพื่อเข้าใจจริงๆ ถูกต้องตามคำของพระพุทธองค์) ถูกต้อง ยากลึกซึ้งที่คนจะรู้ประโยชน์ที่แท้จริงของการฟังพระธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 7 มี.ค. 2566

- ยกตัวอย่างสำหรับผู้ที่ละเอียดเห็นความลึกซึ้งของพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทำให้คนฟังได้เข้าใจแม้สิ่งที่กำลังมีซึ่งไม่เคยเข้าใจมาก่อน ถ้าไม่เห็นความลึกซึ้งไม่เห็นประโยชน์ที่จะเข้าใจความลึกซึ้งจะไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

- ตัวอย่าง เมื่อกี้นี้ขอเชิญสนทนาธรรมอะไรก็ได้ ทุกคนได้ยินคำว่า “อะไรก็ได้” ไม่สงสัยเลยใช่ไหมอะไรก็ได้

- อะ-ไร-ก็-ได้ จริงไหม (จริง) ถ้าอย่างนั้นความจริงของ “อะ-ไร-ก็-ได้” คืออะไร (อะไรที่เกิดแล้วปรากฏ)

- เห็นไหมต้องฟังดีๆ จึงจะเข้าใจคำถาม เพราะฉะนั้นแม้คำถามก็ไม่เข้าใจแล้วคำตอบจะตรงกับคำถามไหม (ขอทวนคำถาม)

- เมื่อกี้นี้เราพูดกัน “ขอเชิญสนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้” เราพูดอย่างนี้ใช่ไหม (เข้าใจว่าในเมื่อทุกอย่างเป็นธรรม..)

- ยังค่ะ ไม่ได้ฟังคำถาม เราตอบอย่างนี้ไม่ได้ ถามว่า เมื่อกี้นี้เราพูดว่า “ขอเชิญสนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้” ทุกคนฟังแล้วเข้าใจใช่ไหม

- อย่าลืม ธรรมดา ตรง ถามเมื่อกี้นี้เราพูดว่า “ขอเชิญสนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้” ทุกคนเข้าใจประโยคนี้ที่พูดใช่ไหม จะตอบว่าอะไร

- เห็นไหมฟังคำถามอีกครั้งหนึ่ง “ขอเชิญสนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้” เข้าใจใช่ไหมฟังคำถามอย่างนี้ (เข้าใจแล้ว) เข้าใจแล้ว จริงใช่ไหม (จริง)

- เพราะฉะนั้นความจริงของ “อะไรก็ได้” คืออะไร ถามถึงตัวธรรมไม่ใช่ถามถึงเรื่องราวของธรรม (คือเห็น) “อะ” เป็นเห็นหรือ ทีละคำฟังดีๆ

- อะไรก็ได้จริงใช่ไหม เข้าใจใช่ไหมเพราะฉะนั้นความจริงของ “อะไรก็ได้” คืออะไร ความจริงไม่ใช่เรื่องแต่ความจริงลักษณะที่แท้จริงต้องมีเพราะเมื่อกี้บอกว่าจริง ก็ต้องมีสิ่งที่มีจริง

- เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงในขณะที่ “อะไรก็ได้” คืออะไร (เขาจะตอบเหมือนเดิม) ลองบอกเขา พูดอีกครั้งให้เขาเข้าใจคำถาม (อะไรก็ได้หมายถึงสิ่งที่มีจริง)

มีจริงๆ “อะ” จริง “ไร” จริง “ก็” จริง “ได้” จริง เพราะฉะนั้นความจริงของ “อะ” ความจริงของ “ไร” ความจริงของ “ก็” ความจริงของ “ได้” คืออะไร (“อะ” หมายถึงว่า…)

- ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ไม่ใช่ความหมายเพราะทุกคนรู้ความหมาย พอพูดแล้วทุกคนก็เข้าใจ (อาช่าพยายามอธิบายว่า..) ก็ไม่ถูกหมายความว่า เขาจะอธิบายเรื่องราวมันถูกหรือ ในเมื่อเราไม่ได้ถามเรื่องราวเพราะทุกคนได้ฟังแล้วเข้าใจเลย จะต้องมาอธิบายเรื่องราวอะไรอีกแต่ความจริงใช่ไหม“อะ” จริงไหม แล้วความจริงของ “อะ” คืออะไร “ไร” มีจริงใช่ไหม ขณะนั้นความจริงของ “ไร” คืออะไร

- (อาช่าตอบว่า สิ่งที่มีจริงก็คือความจริง ๑) และเขาเรียนความจริงใช่ไหม ไม่ใช่พูดแต่ “ความจริงๆ ๆ ” พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความจริง ทุกอย่างจริง นี่จริงนั่นจริง พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้นเท่านั้นหรือแต่ทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงคืออะไร

นี่เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่เคยรู้มาก่อน แต่จากการตรัสรู้ ไม่มีอะไรที่ไม่ได้ตรัสรู้ความจริงนั้นถึงที่สุดโดยประการทั้งปวงซึ่งสามารถค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- หมายความว่า เขายังไม่รู้จักธรรม เห็นไหมฟังเรื่องธรรมแต่ความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรม เขาคิดว่าเข้าใจแล้วแม้ฟังรู้เรื่องทั้งหมด ฟังมานาน แต่ “อะ” จริงใช่ไหมแล้วความจริงของ “อะ” คืออะไร อันนี้คุณสุคินเข้าใจแล้วใช่ไหม เข้าใจที่จะแปลใช่ไหม (เข้าใจคำถามที่จะแปล)

- บอกเขาเลยที่พูดมาเรียนมาทั้งหมดแม้แต่ตรงนี้ความลึกซึ้งยังไม่รู้ ให้เขาเข้าใจความลึกซึ้งอย่างยิ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังเท่าไหร่ คิดเท่าไหร่ คิดว่าเข้าใจเท่าไหร่ แต่ยังไม่รู้จักธรรม

- (ตรงนี้คุณราเยสเข้าใจว่าตอนที่เราใช้คำว่า “อะ” เราหมายถึง เราคิดถึง..) นั่นสิคะ แต่เขายังไม่รู้จักธรรม เขาไม่รู้ว่าขณะ “อะ” คืออะไร (ตรงนั้นเข้าใจ) เพราะฉะนั้นดิฉันมีจุดประสงค์ให้เห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งมีตำราบอก ศึกษามาก เข้าใจเรื่องราวแต่ไม่รู้จักธรรม ให้เขาเห็นความลึกซึ้งก่อนมิฉะนั้นจะไม่รู้จักธรรมเลย

- (แต่ตรงนี้จะเป็นเรื่องการที่เราหลงอย่างที่เราหลงประจำอยู่แล้ว) แต่ก็ยังรู้ว่าหลง (แต่ยังมองไม่เห็นว่า แสดงความลึกซึ้งมากขึ้นโดยการที่เราจะมาชี้กันถึงคำว่า “อะ” คืออะไร)

- เพราะไม่เห็นความลึกซึ้ง เรียนมาตั้งมากแต่ไม่เห็นความลึกซึ้งของแม้อย่างนี้ แสดงความลึกซึ้ง“ระดับไหน” ของธรรมให้เขาสามารถที่จะรู้ได้ว่าจึงต้องมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แต่ตัวธรรมทั้งหมดเลยยังไม่รู้จัก

- (คุณสุคินสรุปว่า ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้เราก็จะรู้ว่าเมื่อไหร่เราฟังว่า เรารู้ว่าความเข้าใจของเราแค่ไหนและความเข้าใจสิ่งที่เราพูดถึงนี้ความจริงของสิ่งนั้นลึกซึ้งแค่ไหน เราต้องรู้ทุกครั้งที่เราฟังธรรมสนทนาธรรมว่า ที่เราพูดพูดเหมือนเข้าใจแต่ความจริงไกลแค่ไหน)

- ถูกต้อง ลึกซึ้งอย่างยิ่งเพราะเพียงเท่านี้ เขาเริ่มจะเห็นความลึกซึ้ง เขาเรียนชื่อ เรียนอะไรมามากมายแต่ถามอย่างนี้แล้วไหนหล่ะความรู้ทั้งหมดที่ฟังมา เพราะฉะนั้นฟังนะคะ “อะ” เสียงใช่ไหม แล้วก็“ได้ยิน” เสียงนั้นใช่ไหม (ใช่)

- เห็นไหมเท่านี้ เรียนมาเรื่องเสียง เรื่องได้ยิน เรื่องอะไรต่างๆ พอถึงเวลาความจริง อยู่ไหนความรู้เพราะฉะนั้นความรู้แต่ก่อนนี้เพียงจำ

- ไม่คุ้นเคยกับลักษณะของธรรมเลยทุกวันที่มีเสียงปรากฏ แต่เรียนเรื่องเสียงกับได้ยิน แต่ว่าตัวจริงจริงๆ เดี๋ยวนี้เองก็เป็นอย่างนั้นแต่ไม่ใช่คำว่า “อะ” แต่เป็นคำอื่นๆ ก็เป็นเสียง แต่ว่าจำว่าเสียงก็ได้ยินแต่ลักษณะที่ได้ยินยังไม่คุ้นเคยไม่ปรากฏเลย เพียงแต่ได้ยินชื่อใช่ไหม

- ไม่รู้ความจริงอย่างนี้มานานเท่าไหร่ (เป็นแบบนี้มาตลอด) นานเท่าไหร่ ประมาณเท่าไหร่ที่ใช้คำกันได้

- ไม่ใช่เพียงแค่ชาตินี้ ไม่ใช่เพียงแค่ขณะได้ยินคำสอนว่า “ไม่มีเรา” ขณะได้ยินกับเสียง เห็นไหมได้ยินมานานแล้วแต่พอถึงกาลที่จะรู้ความจริงยังไม่รู้เพราะเหตุว่า “จำเรื่อง” ทั้งๆ ที่เดี๋ยวนี้ธรรมทั้งหมดกำลังเผชิญหน้าแต่ไม่เคยรู้เลยแล้วจะละความไม่รู้และการเข้าใจว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างเดี๋ยวนี้และที่เคยเป็นอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่รู้ความลึกซึ้งอย่างยิ่ง

- ถ้าไม่รู้เรื่องของสิ่งที่มีจะเริ่มรู้จักสิ่งที่มีจริงๆ ได้ไหม ถ้าไม่เข้าใจว่า ธรรมลึกซึ้งจะรู้ความลึกซึ้งของธรรมได้ไหม จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม

- เริ่มเห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งจึง “ละ” การที่คิดว่าเราได้รู้จักธรรมแล้วหรือว่าเราได้เข้าใจธรรมแล้วเพราะเพียงฟังเรื่องราวของธรรม เริ่มต้นที่จะเข้าใจและรู้จักธรรมเดี๋ยวนี้

- ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้วก็เริ่มสนทนาธรรมเรื่องอะไรก็ได้ที่เป็นเรื่องที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มี

- (พอดีวันนี้ใกล้ถึงเวลา) ไม่เป็นไรตามสะดวกเพราะที่สำคัญที่สุดไม่ใช่รีบร้อนที่จะไปรู้อะไร แต่ความเข้าใจจริงๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่สุดเพราะเหตุว่า ถ้าเรามีความเข้าใจจริงๆ หรือเห็นความลึกซึ้งและเราสามารถเข้าใจได้เราก็หวังดีต่อคนอื่นเพราะคิดว่า เขาก็จะต้องเข้าใจได้เหมือนอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้คนทั้งหลายเข้าใจ

- (เพื่อความแน่ใจขอถามที่เมื่อกี้สรุปว่าถูกผิดแค่ไหน เพราะฉะนั้นจากการที่เราสนทนาวันนี้และเข้าใจความลึกซึ้งของธรรมว่า จุดประสงค์ของการฟังและสนทนาธรรม ที่เราฟังมาตลอดก็คือ เราฟังมาย้ำแล้วซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า จุดประสงค์ของการฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงตอนนี้ วันนี้เรามาเข้าใจตรงนี้มากขึ้นลึกซึ้งขึ้นเพราะฉะนั้นคำถามของท่านอาจารย์ตอนนั้นว่าเราเริ่มสนทนาธรรมจนเป็นเรื่องอะไรก็ได้ ตอนนี้มาเป็นเรื่องเข้าใจมากขึ้น ตอนนี้ถึงเราจะเริ่มจะใกล้ความจริงว่า สนทนาเรื่องอะไรก้ได้ต่อเมื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น)

- นี่เป็นการที่ว่าถ้าจะเข้าใจธรรมจริงๆ ต้องเข้าใจความลึกซึ้ง มิฉะนั้นไม่ได้ชื่อว่าศึกษาะรรมเลยเพราะไม่ได้ประโยชน์อะไร ขอบคุณคุณสุคินมาก ยินดีด้วยในกุศลของทุกคนนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 7 มี.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ยินดีในกุศลของคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Junya
วันที่ 7 มี.ค. 2566

กราบยินดีในกุศลวิริยะ และการเจริญกุศลทุกประการของคุณตู่ค่ะ เป็นแบบอย่างที่งดงามจริงๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Kalaya
วันที่ 7 มี.ค. 2566

กราบแทบเท้าท่านอาจารย์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 8 มี.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ ด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siraya
วันที่ 8 มี.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 11 มี.ค. 2566

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ