Thai-Hindi 25 March 2023

 
prinwut
วันที่  1 เม.ย. 2566
หมายเลข  45757
อ่าน  422

Thai-Hindi 25 March 2023


- (คราวที่แล้วคุยกันเรื่องสันตีรณและภวังค์ที่เกิดก่อนปัญจทวาราวัชชนะและสนทนากับคุณมานิชซึ่งถามว่า เป็นเพราะอะไรทั้งๆ ที่ฟังธรรมแล้วยังมีอกุศลมากขนาดนี้ และสงสัยว่า ถ้าอกุศลมากขนาดนี้ความเข้าใจจะเจริญต่อไปได้อย่างไร)

- ก่อนนี้เขาเคยเห็นอกุศลไหม (ไม่รู้เลย) เพราะฉะนั้นเขาเริ่มเข้าใจถูกต้องใช่ไหมว่า อกุศลมาก

- ถ้าไม่รู้ว่ามีอกุศลมากจะละอกุศลไหม เพราะฉะนั้นมีอกุศลมากอย่างนี้ ฟังธรรมนิดเดียวอกุศลจะหมดไหม

- (ไม่คิดว่าจะหมดเร็วแต่รู้ว่า นี่เป็นหนทาง) เพราะฉะนั้นทุกคนรู้ว่า ฟังธรรมเท่านี้ทำให้อกุศลหมดไม่ได้เพียงเท่าที่เข้าใจว่า มีอกุศลมาก

- อะไรละอกุศลได้ (ต้องเข้าใจพระธรรม) เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งทำให้รู้ความจริง

- ถ้าฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เข้าใจจะละอกุศลได้ไหม (ไม่ได้)

- คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกซึ้งไหม (ลึกซึ้ง ฟังมาหลายวันแล้วยังไม่เข้าใจ)

- หลายวันพอไหม (ไม่พอ) หลายวัน หลายเดือน หลายปี หลายชาติ พอไหม (เท่าไหร่ก็ไม่พอ)

- เพราะฉะนั้นอดทนที่จะเข้าใจคำของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เองให้เข้าใจถูกต้องหรือเปล่า

- ไม่รู้อะไรเลยมานานมากตั้งแต่เกิดและก่อนเกิดทุกๆ ชาติและก็มีความรู้ขึ้น ดีที่สุดในชีวิตในสังสารวัฏฏ์หรือเปล่า

- เพราะฉะนั้นเริ่มเป็นคนตรงต่อความจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ทรงแสดงพระธรรม ปรินิพพานที่นี่ (อินเดีย) ทุกคำของพระองค์จากที่นี่ทั้งนั้น แล้วพระธรรมก็หายไปจากประเทศอินเดียซึ่งเป็นที่ๆ พระองค์ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน

- กึ่งพุทธกาลแล้ว พุทธกาลคือ ๕๐๐๐ ปี เพราะฉะนั้นกึ่งพุทธกาลที่นี่มีโอกาสได้ฟังคำที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ๒๕๐๐ กว่าปี ต้องรู้ค่าอย่างยิ่งที่จะดำรงรักษาสิ่งที่พระองค์ได้ทรงแสดงให้สืบต่อไปอีกนานเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนที่จะอันตรธาน

- ต้องศึกษาโดยความเคารพในความลึกซึ้งของธรรมจริงๆ มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะดำรงความลึกซึ้งของธรรมไว้ได้

- คนเดียวไม่สามารถที่จะดำรงพระศาสนาไว้ได้ แต่พระศาสนาจะดำรงได้ต่อเมื่อมีคนที่เข้าใจคำของพระองค์สืบต่อไปเรื่อยๆ จะน้อยหรือจะมากก็ยังมี

- แต่ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ มิฉะนั้นแล้วถ้าเข้าใจผิดแม้ว่าศึกษามากก็ทำลายคำสอนของพระองค์

- ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตายแน่ แต่ไม่มีอะไรที่จากโลกนี้ไปแล้วเป็นประโยชน์เลยถ้าไม่เข้าใจความจริง เพราะฉะนั้นก่อนจะตายต้องเห็นประโยชน์ของการที่จะได้เข้าใจพระธรรมเพื่อที่ต่อไปมีโอกาสจะได้ฟังอีกเข้าใจอีกและมีโอกาสที่สามารถที่จะละคลายอกุศลจนกระทั่งดับกิเลสได้

- ทุกคนมีกิเลสมาก สะสมกิเลสมามาก และจะสะสมกิเลสต่อไปอีกมากถ้าไม่มีการเข้าใจความจริงของธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้

- เขาอยากจะมีกิเลสต่อไปอีกมากๆ เหมือนเดิมไหม (ไม่อยาก) เพราะฉะนั้น หนทางเดียว มีความเข้าใจถูกในความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้

- สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ไม่มีใครทำให้เกิดแต่เกิดแล้วมีอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตเพราะมีสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น

- ต้องเข้าใจความจริงว่า สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ต้องมี “สภาพรู้” จึงมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ซึ่งเราใช้คำว่า“จิต”

- “สภาพรู้” ไม่ใช่มีแต่จิตที่เห็น ได้ยิน คิดนึกเดี๋ยวนี้แต่มีสภาพรู้ที่เป็นลักษณะต่างๆ เป็น“เจตสิก” ซึ่งเราได้เรียนมาแล้ว

- แต่ถ้าความเข้าใจไม่มั่นคงก็ลืมเสมอ คิดว่า จิต เจตสิกและสภาพธรรม “เป็นเรา” และ “เป็นของเรา”

- เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้แต่ละ ๑ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องว่า สิ่งนั้นเกิดแล้วดับไม่เหลือเลย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น

- เดี๋ยวนี้มี “จิต” ไหม เดี๋ยวนี้มี “เจตสิก” ไหม เดี๋ยวนี้มี “รูป” ไหม รู้จักจิต เจตสิก รูป หรือยัง (เริ่มรู้จัก) พอหรือยัง (ยังไม่พอ) รู้ได้อย่างไรยังไม่พอ (เพราะเพิ่งเริ่มเข้าใจแต่ยังไม่รู้ตัวจริง) เพราะยังเข้าใจว่า จิตเจตสิกรูป “เป็นเรา” และยัง “เป็นของเรา” อยู่

- ถ้ามีความเข้าใจจิตจะเข้าใจว่า จิตเป็นเราไหม ถ้าเข้าใจเจตสิกจะเข้าใจว่า เจตสิกเป็นเราไหม ถ้าไม่เข้าใจรูปจะเข้าใจว่า รูปเป็นเรา เป็นของเราหรือเปล่า

- เพราะฉะนั้นต้องรู้จักทุกอย่างที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ละเอียดและชัดเจนจึงจะค่อยๆ ละความเป็นเราและเป็นของเราได้ นี่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วก็ทรงรู้ว่า คนอื่นรู้ไม่ได้ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดง เพราะฉะนั้นจึงทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา

- ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว “สันตีรณ” คืออะไร (เป็นจิต) จิตประเภทไหน (วิบากจิต) สันตีรณที่เป็นวิบากมีกี่ดวง (มี ๒ คือสันตีรณกุศลวิบากกับสันตีรณอกุศลวิบาก)

- ลืมอะไรหรือเปล่า (จำได้แค่นี้)

- อเหตุกวิบากจิต คือ จิตที่เป็นผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ ทั้งหมดมีเท่าไหร่ (ไม่รู้คำตอบ)

- ทบทวนจะได้ไม่ลืม ผลของกรรมมีไหม (มี) กุศลกรรมอกุศลกรรมเป็นเหตุเพราะฉะนั้นอกุศลกรรมทำให้เกิดอกุศลวิบาก กุศลกรรมทำให้เกิดกุศลวิบาก ถูกต้องไหม

- กุศลวิบากกับอกุศลวิบาก กรรมอะไรให้ผลทำให้วิบากจิตเกิดมากกว่ากัน (อกุศลให้ผลมากกว่า) ผิดแล้ว (มธุตอบแทนว่าเป็นกุศลที่จะมีผลเพราะกุศลเป็นสิ่งที่ดีต้องมีผลมากกว่า)

- เพราะฉะนั้นที่เรา “คิดเอง” ยังไม่ละเอียด แต่ต้องตรงตั้งแต่ต้น อกุศลกรรมไม่ว่าจะร้ายแรงสักเท่าไหร่ เวลาให้ผลสามารถที่จะทำให้ “อกุศลวิบาก” จิตที่เป็นผลของอกุศลเกิดขึ้นแต่ไม่ประกอบด้วยเหตุเลย

- (อาช่าบอกว่าจำไม่ได้) นี่สำคัญที่สุด “ฟังเพื่อเข้าใจ” ถ้าเข้าใจแล้วไม่ลืมหมายความว่าความเข้าใจไม่มั่นคงไม่พอจึงลืม

- ถ้าฟังธรรมเพียงจำ ลืมแน่นอนแต่ถ้าฟังแล้วเข้าใจความเข้าใจไม่หายไปไหนยังเข้าใจอยู่เพราะฉะนั้นฟังใหม่ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจนมั่นคงในทุกคำ

- อกุศลกรรมมากมายสักเท่าไหร่ จะคิดที่จะฆ่าหรือทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำพระภิษุให้แตกกัน ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพี่ฆ่าน้อง ทำสงคราม ขโมยลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งหมดแรงเท่าไหร่สามารถให้ผลเพียง “ทำให้ตกลงต่ำ” จะขึ้นมาสู่สิ่งที่ดีที่สูงไม่ได้เลย

- เพราะฉะนั้นอกุศลกรรมเป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบากกี่ประเภท (เท่าที่จำได้…) ขอโทษค่ะถามอะไรต้องตอบอย่างนั้น ถามว่า อกุศลกรรมทำให้เกิดอกุศลวิบากกี่ดวงกี่ประเภทคำถามคืออย่างนี้

- นี่เป็นเบื้องต้นที่จะไปสู่ความลึกซึ้ง เราจะผ่านไปเลย ข้ามไปเลยแค่จำจำนวนเท่านั้นหรือแล้วจะลึกซึ้งได้อย่างไร (๑ประเภท) อะไร (อกุศลวิบาก) อกุศลวิบากเป็นจิตหรือเปล่า

- ฟังคำถามอีกครั้งหนึ่ง อกุศลกรรมทำให้เกิดจิตซึ่งเป็นผลของกรรมนั้นที่จะต้องรู้อารมณ์ที่ไม่ดีจึงเป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นผลของอกุศลกรรมไม่ว่าจะแรงสักเท่าไหร่ก็ตามได้กระทำแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดผลคือ จิตกี่ดวง (๘)

- อะไรบ้าง ๘ (ปฏิสนธิ ภวังค์…) ไม่ได้ถามถึงหน้าที่เลย ฟังคำถามดีๆ จะได้เข้าใจ จะได้มั่นคง

- อกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดผลคือ อกุศลวิบากกี่ดวง (๑ ดวง) อะไร ๑ จิตที่เป็นอกุศลวิบากคือ จิตอะไร (เป็นอกุศลวิบาก)

- อกุศลวิบากบอกมาว่า จิตอะไรเป็นอกุศลวิบาก (เช่นเห็นตอนนี้) เห็นกี่ดวง (มี ๒ ดวงเป็นผลของกุศลกับอกุศล)

- เพราะฉะนั้นเห็นที่เป็นอกุศลวิบากมีกี่ดวง (๑ ดวง) เพราะฉะนั้นอกุศลกรรมให้ผลเป็นจิตที่เห็นสิ่งที่ไม่ดีเท่านั้นคือ เห็น ๑ ดวงเท่านั้นหรือ (ถ้าคุณสุคินจะลองถามอีกแบบหนึ่งให้ท่านอาจารย์พิจารณา…)

- ขอโทษค่ะคุณสุคิน เราไม่ต้องแนะนำอะไรเขาเลยเพราะเขายังไม่เข้าใจเลยว่า อกุศลกรรมทำให้เกิดอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นให้เขาแน่ใจให้เขามั่นใจว่า เขาตอบถูกหรือผิด ลืมหรือเปล่าและเข้าใจอะไร นี่เป็นสิ่งที่เราทบทวน ไม่ใช่ว่า เราพูดไป ๑๐ ปีแล้วไม่รู้ว่าคนฟังฟังได้แค่ไหน เพราะทุกครั้งที่เราจะเท้าความไปถึงอะไรเพื่อให้เขามีความเข้าใจที่มั่นคง ไม่ใช่ไปจำหนังสือ จำชื่อแล้วถามเรา แต่ต้องให้เขารู้ว่า คำที่เขาพูดคืออะไร หมายความว่าอะไรให้มั่นคงจริงๆ เพราะฉะนั้นไม่พูดอะไรเลย ไม่อธิบายอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะเรากำลังจะลงไปลึกแต่ถ้าไปที่อื่น ไม่ลึก

- เพราะฉะนั้นถามเขาว่า อกุศลกรรมที่ทำมาให้ผลเป็นจิตใช่ไหม จิตประเภทไหนถ้าเป็นวิบาก วิบากอะไรบ้าง มีเท่าไหร่ (เป็นอกุศลวิบาก)

- อกุศลกรรมดับแล้วเป็นปัจจัยให้อกุศลวิบากจิตเกิดขึ้น อะไรเป็นอกุศลวิบากคือผลของกรรม

- อกุศลวิบากเป็นผลของอกุศลกรรมเพราะฉะนั้นอกุศลวิบาก ฟังดีๆ ตรงคำถาม อกุศลวิบากคืออะไร ได้แก่อะไร อะไรเป็นอกุศลวิบาก (เป็นจิต) เป็นจิตเท่านั้นหรือ (เจตสิกที่เกิดกับจิตด้วย)

- รูปเป็นวิบากได้ไหม (ไม่เป็นวิบากแต่เป็นผลของกรรม) ถูกต้อง เพราะฉะนั้นวิบากที่เป็นเจตสิกเป็นผลของกรรม กรรมทำให้วิบากเจตสิกเกิดพร้อมจิตที่เป็นวิบาก แต่รูปที่เกิดจากกรรมไม่ใช่วิบากเพราะรูปไม่สามารถรู้อะไรได้ไม่ใช่สภาพรู้

- รูปเป็นผลของกรรมใช่ไหม (เป็นผล) ไม่ใช่ รูปที่เป็นผลของกรรมก็มี รูปที่เป็นผลของจิตก็มีรูปที่เป็นผลของอุตุความเย็นความร้อนก็มี รูปที่เกิดเพราะเป็นผลของอาหารก็มี เพราะฉะนั้นรูปที่เกิดจากกรรมเป็น “กัมมช” “ชะ” แปลว่า เกิด รูปที่เกิดจากกรรม “กัมมชรูป” “จิตชรูป” “อุตุชรูป” “อาหารชรูป” เพราะฉะนั้น รูปที่เกิดจากกรรมคือ กัมมชรูปเท่านั้น (คุณสุคินถามผิดไปว่า รูปเมื่อกี้นี้เป็นผลของกรรมหรือเปล่า)

- พูดถึงรูปทั่วไป ไม่ได้บอกว่ารูปเมื่อกี้นี้ เพราะฉะนั้นต้องฟังคำถามดีมากให้ละเอียดให้ตรงไม่อย่างนั้นความเข้าใจจะสับสนหมดปนกันหมด ต้องถามทีละอย่างๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 1 เม.ย. 2566

- กระดาษเกิดจากอะไร (อาช่านึกขึ้นได้ว่าไม่ใช่เกิดจากกรรม แต่ยกตัวอย่างอุตุกับอาหารด้วย) อาหารต้องเป็นคำๆ ที่กลืนกินเข้าไปเท่านั้นที่ทำให้เกิดรูปที่เกิดจากอาหารได้

- กระดาษอยู่ข้างนอกไม่ได้กลืนกินเข้าไป ไม่ทำให้เกิดรูป (เพราะฉะนั้นเหตุของกระดาษคืออุตุ) เข้าใจแล้วไม่ลืมใช่ไหม เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรมจึงจะค่อยๆ รู้ว่า ไม่ใช่เราสักอย่าง

- ตาเป็นธรรมอะไร (เป็นรูป) เกิดจากอะไร (เกิดจากกรรม) เพราะฉะนั้นทุกคนเริ่มเข้าใจกรรมทำให้เกิดจิตเจตสิกและรูป แต่รูปไม่ใช่ “วิบาก”

- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ฟังดีๆ อกุศลกรรมทำให้เกิดจิตที่เป็นวิบากกี่ดวง (ตอบว่า ๘ ดวง) ๘ดวงอะไรบ้าง (ปฏิสนธิ..) ไม่ใช่ นั่นเป็น “หน้าที่” ของจิต แต่ไม่ใช่ตัวจิตที่เป็นประเภทๆ ว่าจิตนี้เป็นชาติอะไร แต่นั่นเป็นกิจของจิต

- เพราะฉะนั้นมี ๒ อย่าง “ชาติ” จิตนั้นเป็นชาติอะไร เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นวิบากหรือเป็นกิริยา เปลี่ยนไม่ได้ต้องเป็นอย่างนี้ จะเอาอย่างอื่นมาตอบไม่ได้ แต่พอพูดถึง “กิจของจิต” มี ๑๔ กิจ และจิตกี่ดวง กี่ประเภท ทำกิจอะไรได้บ้าง จะมาตอบว่าเป็นปฏิสนธิจิตได้อย่างไร เขาต้องบอกมาว่า อกุศลชาติทำให้เกิดวิบากชาติเท่าไหร่กี่ดวง ถามถึงเรื่อง“ชาติ” ต้องอยู่ที่อกุศลจิต กุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต เท่านั้นถ้าถามถึงเรื่องชาติ ไม่ได้พูดถึงเรื่องกิจเลยสักกิจเดียว

- เพราะฉะนั้นฟังคำถามดีๆ อกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด “อกุศลวิบากจิต” กี่ดวง (เห็น สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ) ขอโทษ ถามถึงจิตไม่ได้ถามถึงกิจ (ไม่ทราบ)

- เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า เรามีชื่อสำหรับเรียก “จิต” ตามลักษณะของจิตนั้นหลายชื่อมากแต่ว่า ความจริงก็คือเป็นจิต เราไม่สามารถที่จะให้ใครรู้ได้ว่า จิตมากๆ ต่างกันตรงไหน เพราะฉะนั้นเราใช่คำบางทีเรียก “จิต” นั้นโดย “กิจหน้าที่” ที่เขาทำ

- เพราะฉะนั้นเราจึงมี “ชื่อของจิต” ที่แสดงว่าเป็นจิตนั้น เพราะว่าเอา “หน้าที่” นั้นขึ้นมาให้รู้ว่า จิตนั้นไม่ได้ทำหน้าที่อื่น

- เพราะฉะนั้นลองคิดดีๆ ไม่ได้พูดถึง “กิจ” ยังไม่พูดถึง “กิจ” เลย พูดถึงกรรมให้เขาเข้าใจจริงๆ ว่า ทุกกรรม ทุกชาติ ทุกภพที่ได้กระทำแล้ว เมื่อเป็นอกุศลกรรมจะให้ผลเพียงทำให้เกิดวิบากจิตเท่าไหร่ เขาจะได้มีความมั่นคงมั่นใจว่าเป็นอื่นไม่ได้ (อกุศลวิบาก)

- อกุศลวิบากมีเท่าไหร่ (มีจิตและเจตสิก) ไม่ได้ถามอย่างนั้นเลย ฟังคำถามอีกครั้งหนึ่งอกุศลวิบากจิตมีกี่ดวง (ไม่ทราบคำตอบ) มี ๗ เปลี่ยนไม่ได้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ อกุศลกรรมทำแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดจิต ๗ ประเภทเท่านั้น

- เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่รู้ความจริง เราไม่สามารถที่จะละการยึดถือทุกสิ่งทุกอย่้างที่กำลังปรากฏขณะนี้ว่า เป็นเพียงธรรมแต่ละหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้จำมั่นคงด้วยความเข้าใจให้มั่นคงว่า อกุศลกรรมทำให้เกิดจิตที่เป็นผลเพียง ๗ ดวงก่อนเท่านั้น แล้วจะได้รู้ต่อไปว่า ๗ นั้นคืออะไร ทำกิจอะไร

- ทุกคนฟังดีๆ แล้วนะคะ เพราะฉะนั้นอกุศลกรรมทำให้เกิดผลคือ อกุศลวิบากจิต ๗ ดวงเท่านั้น มากไหม

- ดีใจไหมผลของกรรมมีเพียงแค่อกุศลจิต ๗ ดวงเท่านั้น (คุณมานิชตอบว่า ไม่เกี่ยวกับจะรู้สึกดีใจหรือไม่)

- ก็มีแค่ ๗ นิดเดียวไม่มากกว่าอย่างอื่นเลย กุศลวิบากให้ผลมากกว่านี้หลายเท่า แต่ว่าอกุศลกรรมทำแล้วให้ผลแค่ ๗ เอง ดีใจไหมที่ให้ผลแค่เพียง ๗ เองหรือไม่ดีใจ (ถ้าเทียบกันแล้วก็สบายใจหน่อย) ขอโทษนะคะ สบายใจไม่ได้เลยถ้ารู้ความจริง

- เพราะฉะนั้นเรายังไม่พูดปัญหานี้เขาจะได้คิดไตร่ตรองเอง เพราะฉะนั้นอกุศลกรรมทำให้เกิดผลเป็นจิตกี่ดวง (๗ ดวง)

- ลืมไม่ได้เลย เปลี่ยนไม่ได้เลย นี่เป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเพราะทรงตรัสรู้เพราะฉะนั้น ๗ ดวงอะไรบ้าง (เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสทางกาย สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ) ครบ ๗ แล้วใช่ไหม

- เพราะฉะนั้นเราเรียกชื่อ “จิต” ตามกิจหน้าที่ จิตที่ “เห็น” เราเรียกว่า “จักขุ” ตา “วิญญาณ” เป็นจิตที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาจึงชื่อว่า “จักขุวิญญาณ” เช่นเดียวกับ “โสตวิญญาณ” “ฆานวิญญาณ” “ชิวหาวิญญาณ” “กายวิญญาณ” แสดงว่า เรียกชื่อจิตเหล่านี้ตาม “กิจ”

- ไตร่ตรอง อกุศลวิบากทำอะไรไม่ได้นอกจากเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ไม่ดี ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ได้กลิ่นที่ไม่ดี ลิ้มรสที่ไม่ดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายที่เจ็บปวดไม่ดีแล้วก็ดับ ต่อจากนั้นมี “อกุศลวิบาก” เกิดต่อคืออะไร อีก ๒ ดวง คืออะไร (สัมปฏิจฉันนะกับสันตีรณะ)

- ทีละ ๑ อย่าลืม เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะ ชื่อ “สัมปฏิจฉันนะ” เรียกตามกิจหน้าที่ เพราะฉะนั้นเราเรียกจิตตามกิจ มิฉะนั้นก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร

- สัมปฏิจฉันนะทำกิจเห็นได้ไหม (ไม่ได้) เมื่อสัมปฏิจฉันนะดับทำกิจ “รับอารมณ์นั้นต่อ” เท่านั้นเอง เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดขึ้น “รู้สิ่งนั้นขึ้น” เพราะเหตุว่า สัมปฏิจฉันนะ “รับ” เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อ “ไม่เห็น” แต่สามารถ “รู้สิ่งนั้น” ต่อจากสัมปฏิจฉันนะได้ ทำ “สันตีรณกิจ”

- อกุศลกรรมทำให้เกิดอกุศลวิบากกี่ดวง ถามทวนอีกครั้งหนึ่ง ฟังดีๆ แล้วตอบให้ตรง ถามว่า อกุศลกรรมทำให้เกิดอกุศลวิบากกี่ดวง (ไม่ทราบ)

- เราพูดแล้วไม่ใช่หรือว่า อกุศลกรรมทำให้เกิดวิบากคือผลได้กี่ดวง (มี ๗ เพราะฉะนั้น ๑ ใน๗ คือ สันตีรณะเพราะฉะนั้นคำตอบคือ ๑ ดวง) บอกแล้วพูดกันแล้วแต่ว่า ขณะนั้นไม่ได้ฟังดีๆ มัวแต่คิดเรื่องอื่นเพราะฉะนั้นพอถามกลับมาจับได้เลยว่า เข้าใจหรือเปล่า

- มนุษย์มีสันตีรณอกุศลวิบากเท่าไหร่ กี่ดวง ถามว่ามนุษย์มีอกุศลวิบากสันตีรณะกี่ดวง (๑ดวง) นกมีอกุศลวิบากสันตีรณะกี่ดวง (๑ ดวง) งูมีอุเบกขาสันตีรณะกี่ดวง (๑ ดวง) เทวดามีอกุศลวิบากสันตีรณะกี่ดวง (๑ ดวง) ใครมีอกุศลสันตีรณวิบาก ๒ ดวง (ไม่มีใครที่มี ๒) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีสันตีรณอกุศลวิบากกี่ดวง (๑ ดวง)

- แน่นอน ต่อไปนี้ลืมไม่ได้เลย อกุศลวิบากทั้งหมดมีกี่ดวง (๗ ดวง)

- จักขุวิญญาณอกุศลวิบากทำกิจอะไร (เห็น) โสตวิญญาณอกุศลวิบากทำกิจอะไร (ได้ยิน) ทำกิจอื่นได้ไหม (ไม่ได้) ฆานวิญญาณอกุศลวิบากทำกิจอะไร (ลิ้มรส) ความรู้สึกอะไรเกิดกับฆานวิญญาณอกุศลวิบาก (เป็นอุเบกขาเวทนา) กายวิญญาณอกุศลวิบากทำกิจอะไร (รู้สัมผัสทางกาย) มีเวทนาความรู้สึกอะไรเกิดร่วมด้วย (ทุกขเวทนา) เพราะฉะนั้นสันตีรณอกุศลวิบากมีเวทนาอะไรเกิดร่วมด้วย (อุเบกขาเวทนา)

- ไม่ลืมนะคะ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ทราบว่า อกุศลวิบากที่เป็นสันตีรณะมีกิจ ๕ กิจไม่ใช่กิจเดียว

- เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่า อกุศลวิบากจิตต้องมี ๗ แต่ว่ามีจิต ๑ ใน ๗ คือ สันตีรณะทำ ๕ กิจนอกจากนั้นทำ ๑ กิจๆ เฉพาะกิจของตนเท่านั้น

- เวลาตายแล้วต้องเกิดใช่ไหม จิตอะไรทำปฏิสนธิกิจ (สันตีรณะ) ยังไม่ได้ถาม จิตประเภทไหนทำปฏิสนธิ ยังไม่ได้พูดถึงสันตีรณะ ถามว่า จิตประเภทไหนทำกิจปฏิสนธิ (วิบาก) เพราะฉะนั้นอกุศลวิบาก ๗ ดวง จิตไหนจะทำปฏิสนธิกิจ (สันตีรณะ)

- เพราะฉะนั้นสันตีรณะทั้งหมดมี ๕ กิจ หนึ่งกิจคือ สันตีรณกิจและมีปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ หมายความว่า เวลาที่เกิดสันตีรณจิตที่ไม่ได้ทำสันตีรณกิจแต่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ ๑ภวังคกิจ ๑ และจุติกิจ ๑ เพราะฉะนั้นทั้งหมดที่เรารู้สันตีรณะมี ๕ กิจแต่เรารู้ ๔ กิจแล้วคือ ๑สันตีรณกิจ ๒ ปฏิสนธิกิจ ๓ ภวังคกิจ ๔ จุติกิจ

- จิตทุกจิตเกิดขึ้นทำกิจเพราะฉะนั้นต้องรู้ว่า จิตไหนทำกิจอะไร เพราะฉะนั้นเราศึกษาด้วยความเข้าใจจิตมากขึ้นโดยประเภทของจิตเป็นกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกิริยา หรือเป็นอกุศลโดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเช่น ความรู้สึก เราค่อยๆ เรียนทีละจิตไปจะได้มีเหตุผลว่าเพราะอะไรจึงต้องเกิดกับเวทนานั้น และเราก็เรียนหน้าที่ของจิตด้วยเพราะว่า จิตทุกขณะต้องทำหน้าที่ เพราะฉะน้้นคราวต่อไปทบทวนแน่นอนเรื่องนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 1 เม.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ยินดีในกุศลผู้ร่วมสนทนาธรรมไทยฮินดีและผู้รับชมรับฟังทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 9 เม.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ