Thai-Hindi 04 April 2023

 
prinwut
วันที่  8 เม.ย. 2566
หมายเลข  45777
อ่าน  489

Thai-Hindi 04 April 2023


- สันตีรณจิตคืออะไร (เป็นจิตชนิด ๑) จิตไหน ที่เราถามเพื่อเป็นการรอบรู้เข้าใจจิตที่มีลักษณะของธรรม ไม่ใช่เพียงให้จำชื่อ

- (คุณสุคินแจ้งว่า บางครั้งอาช่าตอบไม่ได้เพราะเป็นข้อจำกัดที่แปลผิดทำให้อาช่าเข้าใจผิดแต่ไม่เป็นไร) ถูกต้องเลย นี่เป็นกุศลอย่างยิ่งที่จะรู้ว่า ความจริงคืออย่างไร ตรงต่อความเป็นจริง

- เพราะฉะนั้นการที่เราได้ยินคำไหนซึ่งเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ไม่ใช่เพียงให้จำชื่อ

- (อาช่าบอกว่าการที่อาจารย์ถามแล้วถามอีกทำให้รู้ตัวว่า ที่ตัวเองคิดว่าเข้าใจก็ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก) เพราะเหตุว่า ทุกคนจะไม่รู้ว่า “ไม่เข้าใจแค่ไหน” ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นเพียงจำชื่อไม่ลึกซึ้งเลย

- ฟังธรรมต้องฟังด้วยความเคารพสูงสุดในความลึกซึ้ง ลึกซึ้งจนเข้าใจพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะตรัสรู้ถึงการที่จะแสดงความจริงให้คนอื่นได้รู้ด้วยจะไม่มีใครรู้ความจริงที่ลึกซึ้งเลย

เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดให้รู้ความจริงซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนเลยของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้

- เพราะฉะนั้นคำเดียวจะรู้ว่าเข้าใจลึกซึ่งแค่ไหนก็โดยการที่ไตร่ตรอง ฟังคำถาม ไตร่ตรองเพื่อเป็นความเข้าใจของตัวเอง

- ได้ยินคำว่า “สันตีรณะ” จำได้ ใช่ไหม แต่ยังไม่ “รู้จัก” ความหมายและ “ความจริง” ของสันตีรณะ

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทุกอย่างที่มีจริงๆ

- สันตีรณะมีจริง ไม่ใช่เพียงจำว่ามีจริงแต่ต้องรู้ว่า “ลักษณะที่เป็นจริง” ของสันตีรณะคืออะไรจึงกล่าวว่า “มีจริง”

- เพราะฉะนั้นจะมีคำถามให้เริ่มไตร่ตรองในความลึกซึ้งของ “สันตีรณะ” ฟังคำถามดีๆ แล้วจะรู้ว่า “ถามว่าอะไร” ถามว่า สันตีรณะคืออะไร (เป็นจิต)

- จิตคืออะไร (เป็นธรรมชนิดที่รู้) ทำไมมีชื่อหลายชื่อสำหรับจิต “จิตเห็น” สันตีรณะ” “จิตได้ยิน” จิตคิด” ทำไมมีหลายชื่อ (เพราะแต่ละจิตมีกิจที่ไม่เหมือนกัน)

- เป็นสภาพรู้จริงแต่หลากหลายมาก ไม่ใช่รู้ว่า เป็นเพียงธาตรู้อย่างเดียวแต่จะมีการรู้อะไรๆ อีกมาก

- จิตที่เกิดกับโลภะมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่จิตขณะที่มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย

- จิตที่เกิดกับสภาพธรรมที่ไม่สามารถรู้ความจริงได้กับจิตที่เกิดในขณะที่มีสภาพเข้าใจในสิ่งนั้นได้ ต่างกัน เพราะฉะนั้นขณะนี้มีจิตหลากหลายมากแต่ไม่รู้ทุกขณะ

- จิตมีมากมายจนกระทั่งต้องแบ่งเป็นประเภทๆ ให้รู้ความหลากหลายของจิต

- ทุกครั้งที่ธาตุรู้คือ จิตซึ่งรู้สิ่งที่ปรากฏคือ อารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งแต่หลากหลายเพราะมีสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยต่างๆ กัน

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ทั้งหมดไม่ว่าจิตประเภทใด เกิดเมื่อไหร่ แสนโกฏิกัปป์หรือจะเกิดต่อไปข้างหน้าต่างกันมากแต่ประมวลได้เป็นจิต ๘๙ ประเภท เป็นจิตประเภทใหญ่ ๘๙ แต่ถ้าโดยความละเอียด มากกว่านั้นมาก

- เพราะฉะนั้นขณะนี้มีจิต ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้รู้ว่า จิตขณะนี้เป็นจิตประเภทไหนใน ๘๙ ประเภท

- จิตเกิดขึ้นไม่รู้อารมณ์ได้ไหม (ไม่ได้)

- จิตเกิดขึ้นไม่มีสภาพธรรมอื่นที่เกิดด้วยกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ปรุงแต่งอาศัยกันและกันจึงเกิดได้ใช่ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นค่อยๆ เข้าใจแต่ละคำทีละเล็กทีละน้อย สภาพธรรมที่เกิดกับจิตและรู้สิ่งเดียวกับจิตดับพร้อมกับจิต สภาพธรรมนั้นคือ “เจตสิก”

- จิตเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้ไหม (เป็นไปไม่ได้) แล้วจิตเป็นเจตสิกหรือเปล่า (จิตไม่เป็นเจตสิก) เจตสิกเป็นจิตหรือเปล่า (ไม่) เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) เดี๋ยวนี้มีเจตสิกไหม (มี)

- เดี๋ยวนี้จิตและเจตสิกปรากฏหรือเปล่า (ปรากฏ) ผิด คิดดีๆ จิตไม่ใช่เจตสิก เจตสิกไม่ใช่จิตเดี๋ยวนี้จิตปรากฏเจตสิกปรากฏหรือเปล่า (เข้าใจว่า ถ้าจิตปรากฏ เจตสิกไม่ปรากฏ) ไม่ใช่ถามอย่างนั้นเลย

- ฟังคำถามดีๆ ไม่ต้องตอบยาว ไม่ต้องบอก ให้ทุกคนคิดเอง ต้องเป็นความคิดของเขาที่จะรู้“ความลึกซึ้งอย่างยิ่ง” ของธรรมที่จะเริ่มต้นเห็นความลึกซึ้ง มิฉะนั้นจะเรียนด้วยความประมาทได้แต่จำชื่อ (ขอให้ท่านอาจารย์ถามใหม่)

- ฟังดีๆ ลืมหมายความว่า ไม่ได้ฟังดีๆ ถามว่า เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) มีเจตสิกไหม (มี) จิตปรากฏหรือเปล่า (ปรากฏ) ผิด ปรากฏหรือไม่ปรากฏ (รู้สึกเหมือนกับว่า เห็นปรากฏ)

- ฟังดีๆ ขณะนี้มีจิตไหม (มี) มีเจตสิกไหม (มี) จิตปรากฏหรือเปล่า (รู้สึกว่าปรากฏ)

- จิตเป็นอย่างไร ถ้า “ปรากฏ” ต้องรู้ว่าเป็นอย่างไร (ยังยืนยันว่า เห็นปรากฏ ได้ยินปรากฏ)

- ขณะนี้ที่กำลังเห็น อะไรปรากฏ (เข้าใจว่าสีปรากฏ) เพราะฉะนั้นจิตปรากฏหรือเปล่า (คุณราเจสเข้าใจว่า “เห็น” คือเห็นปรากฏ) เดี๋ยวนี้เห็นอะไร (เห็นสีเห็นสิ่งของต่างๆ ) เวลาสีปรากฏ เห็นปรากฏหรือเปล่า

- (คุณอาช่าจะขอพูดกับคุณราเจสอีกครั้งเพราะเขายังไม่เข้าใจคำถาม) ดีมากเพราะเหตุว่า การศึกษาธรรมที่จะดำรงคำสอนของพระศาสนาต้องเข้าใจความลึกซึ้ง มิฉะนั้นจะไม่ได้ประโยชน์เลย ทุกคนเปิดตำราจำชื่อหมดแต่ไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่ใช่การดำรงรักษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเขาไม่สามารถจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

- (คุณมานิชเข้าใจว่า ขณะเห็น เห็นสิ่งที่ปรากฏแต่ตัวเห็นไม่ได้ปรากฏ) นี่เป็นความลึกซึ้งที่ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นว่า ต้องละเอียด ต้องไตร่ตรอง ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่แค่จำ

- ตั้งแต่เกิดจนตายมีขณะไหนบ้างไหมที่ไม่มีจิต (ไม่มี) แต่ไม่มีใครรู้ว่า มีจิตใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจว่า “เป็นเรา” ทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย

- เพราะฉะนั้น เพราะ “มีจิต” แต่ไม่รู้ว่ามีจิต “ลึกซึ้ง” ไหม (ลึกซึ้ง) เห็นความลึกซึ้งไหม มีจิตแต่ไม่รู้ตลอดชีวิตทุกชาติว่าเป็นจิตแต่ “เป็นเรา” ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีจิตเกิดขึ้นเลยจะไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

- ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเป็นเราหรือเป็นจิต (เป็นจิต) เพราะฉะนั้นคิดว่า “เรา” เกิดและ “เป็นเรา” ตลอดจนตาย ผิดหรือถูก (ผิด) ผิด อย่าลืม นั่นคือ ความเห็นผิด มีจริงๆ ไหม (มีจริง)

- ความเห็นผิดมีจริงๆ ใช่ไหม (มีจริงๆ ) ความเห็นผิดเป็นอะไร กำลังเห็นผิดแน่นอน (เป็นเจตสิก)

- นี่เป็นประโยชน์ที่เราจะเป็นคนที่ละเอียดจึงจะรู้จักธรรมที่ละเอียดว่า จิตไม่ใช่เจตสิกและเจตสิกก็ไม่ใช่จิตแต่เกิดพร้อมกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

- จิตเห็นผิดได้ไหม (ไม่ได้) ดีมาก เก่งมาก ต้องไม่ลืมว่า จิตต้องเป็นจิตจะเป็นเจตสิกไม่ได้เลย

- เพื่อจะให้เข้าใจถูกต้องจึงมีอีกคำหนึ่งสำหรับจิตคือ “ปัณฑระ” หมายความว่า จิตเท่านั้นเป็นสภาพที่สะอาดผ่องใสเพราะเหตุว่า ไม่ได้เห็นผิดหรือไม่ได้อะไรเลยแต่เป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้ ต้องรู้ทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏอย่างเดียวเท่านั้น

- “ปัณฑระ” เป็นชื่อของจิตไม่ใช่ชื่อของธรรมอื่นเลย

- กำลังเห็นเดี๋ยวนี้อะไรทำหน้าที่เห็น (จิต) เป็นเจตสิกได้ไหม (ไม่ได้) เจตสิกรู้อารมณ์นั้นไหม (รู้อารมณ์เดียวกัน)

- เจตสิกแต่ละเจตสิกต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์แต่ไม่ได้ “เป็นใหญ่” คือ ไม่ได้ “รู้แจ้งอารมณ์” ที่ปรากฏจึงไม่ได้ทำหน้าที่ เห็นไม่ได้ทำ “ทัสสนกิจ”

- ถ้ามีความเข้าใจชัดเจน ไม่ว่าจะได้ยินคำว่า เจตสิก หรือได้ยินคำว่า จิต หลายๆ ประเภท ต่างๆ กันไป ก็รู้ลักษณะที่ต่างกันของจิตและเจตสิกจึงจะค่อยๆ เข้าใจว่า “ไม่มีเรา”

- จิตเป็นของใคร ใครทำให้จิตเกิด เริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า “ธรรมเป็นธรรม” ไม่มีใครที่จะทำอะไรได้เลย

- จิตเกิดขึ้นทำหน้าที่ของจิต เจตสิกเกิดขึ้นทำหน้าที่ของเจตสิก ถ้าไม่มีจิตเจตสิกจะมีอะไรที่ปรากฏว่ามีไม่ได้เลย

- เพราะฉะนั้นได้ยินคำว่า “อเหตุกจิต” คือจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย

- ไม่มีใครรู้ว่า อะไรเป็นเหตุให้จิตเกิดแล้วก็ดับเกิดแล้วก็ดับไม่หยุดเลยแต่เหตุที่จะทำให้จิตเกิดดับไม่หยุดก็คืออะไร (เป็นเพราะอนันตรปัจจัย)

- เราไม่ได้พูดถึงอะไรเลย อนันตรปัจจัย วิบาก ฯลฯ เราไม่พูด เรากำลังพูดถึงเหตุที่ทำให้จิตเกิดตลอดเวลาไม่หยุดเลย นั่นคืออะไรเป็นเหตุ (แต่ละจิตมีเหตุต่างกัน)

- เพราะฉะนั้น “เหตุ” คืออะไร (แค่รู้ว่ามีเหตุแต่ไม่รู้ว่าเหตุอะไร) แต่ “ธรรม” มีอะไรบ้าง (จิตเจตสิก รูป นิพพาน) เพราะฉะนั้น เหตุคืออะไร เป็นธรรมอะไร (เป็นจิตอื่นที่เป็นเหตุ)

- ขอโทษนะคะ “ธรรม” มีอะไรบ้าง (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) เพราะฉะนั้น “เหตุ” เป็นธรรมอะไร (ไม่เข้าใจ คือยังไม่ทราบคำตอบ)

- ต้องคิด ต้องไตร่ตรอง ไม่มีประโยชน์เลย เราอ่านตำรา เราเก่งมาก เราตอบได้ เราเข้าใจแต่ไม่รู้จักความจริงซึ่งมีจริงๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งว่า ลึกซึ้งเกินกว่าที่เราจำชื่อ

- ต้องเป็นคนตรงต่อความจริงและรู้ได้ว่า ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง ไม่มีใครรู้

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “เหตุ” ให้เกิดจิตซึ่งเป็นธาตุรู้คือ เจตสิก

- เจตสิกมีมากตามที่เราได้ทราบ ๕๒ ประเภท แต่เจตสิกอะไรเป็น “เหตุ” และเจตสิกอะไรไม่ใช่เหตุ

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า จิตที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุ เจตสิกที่เป็นเหตุ มี และจิตที่เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุก็มี นี่คือความต่างกันที่เราไม่รู้เลย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 8 เม.ย. 2566

- เราศึกษาธรรมเผินมาก เพียงฟังและจำแต่ไม่ไตร่ตรอง ทุกคนฟังจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ รู้ใช่ไหมแต่เวลาถามอีกอย่างหนึ่งตอบไม่ได้เพราะไม่ได้เข้าใจจริงๆ จำว่าจิตไม่ประกอบมีเท่าไหร่ แต่ไม่รู้ว่า “เหตุ” คืออะไร

- จึงต้องละเอียดมาก เจตสิกที่เป็น “เหตุ” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า มี ๖ เจตสิกเท่านั้น

- ทราบแล้วใช่ไหม เจตสิกที่เป็นเหตุ (จำได้คร่าวๆ ว่า ๓ คือ อกุศลเหตุ โลภะ โทสะ โมหะ) แล้วเหตุที่ดีมีไหม (ต้องมี)

- เขารู้แต่อกุศลเหตุเท่านั้นหรือ หรือรู้จักกุศลเหตุด้วย (เข้าใจว่าต้องมีแต่ตอนนี้นึกไม่ออกว่ามีอะไรบ้าง)

- เห็นไหม จำเท่าไหร่ อ่านเท่าไหร่ ถ้าพูดถึงความเข้าใจนึกไม่ออกแต่ถ้าเข้าใจแล้วนึกออกแน่ๆ เพราะ“เข้าใจ” ด้วยเหตุนี้อกุศลเหตุมีเท่าไหร่ (มี ๓)

- เวลาที่จิตเกิดกับเจตสิก ๓ ดวงนี้เป็นจิตที่ดีงามได้ไหม (เป็นกุศลไม่ได้) แล้วกุศลจิตเกิดบ้างไหม (เกิด) แล้วมีเหตุเกิดร่วมด้วยบ้างไหมขณะที่เป็นกุศล (ต้องมีเหตุด้วย) เพราะฉะนั้นอะไรเป็นเหตุให้เกิดกุศล (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) เป็นธรรมอะไร (เจตสิก) เห็นไหมเขาจำจำนวนได้ จำชื่ออาจจะจำได้หมดแต่ความเข้าใจสำคัญกว่า

- เพราะฉะนั้นสภาพธรรมอะไรเป็นเหตุ (เจตสิก) เท่าไหร่ (๖) มากกว่านั้นได้ไหม (ไม่ได้) นี่คือเท่าที่เราฟังตอนต้นแต่ละเอียดกว่านี้ เจตสิก ๖ เป็น ๙ ก็ได้

- เคยได้ยินไหม (ไม่เคยได้ยิน) เพราะฉะนั้นจะพูดตอนนี้เท่านั้นแต่ให้เข้าใจความละเอียดว่า ธรรมละเอียดมากเผินไม่ได้ ต้องเข้าใจจนถึงที่สุด

- เพราะฉะนั้นอกุศลเหตุเกิดเมื่อไหร่ทำให้จิตขณะนั้นเป็นอกุศลด้วย คุณมานิชเขาไม่รู้เลยหรือเรื่องโทสะ (ในการสนทนาธรรมเขายังไม่เคยได้ยินคำว่า “โทสะ”)

- เขาได้ยินคำว่าอะไรบ้าง (คุณมานิชเคยได้ยินคำว่าโทสะในบริบทอื่น เขาเคยได้ยินมาว่า มีอกุศล ๔คือ โลภ โกรธ หลง และ “โดส”) แสดงให้เห็นว่าต้องละเอียดใช่ไหม (เขาเข้าใจว่าโกรธตรงกับโทสะ)

- เดิมเขาเข้าใจว่า “โดส” คืออะไร (คืออกุศลต่างๆ ) คืออะไร (คืออุปนิสัยต่างๆ ) ต่างๆ คืออะไร (เช่นความโลภเยอะๆ ความไม่รู้เยอะๆ ) ความไม่รู้คือโมหะหรือเปล่า

- อกุศลอื่นๆ ต้องไม่ใช่ “โมหะ” ใช่ไหม เขาตอบว่า “โดส” คืออกุศลอื่นๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นคำถามว่า “อกุศลอื่นๆ ” ที่พูดต้องไม่ใช่โมหะใช่ไหม ให้เขาคิด

เพราะฉะนั้น อกุศลอื่นๆ ต้องไม่ใช่โลภะใช่ไหม วันนี้เขามีอกุศลไหม (พูดได้ว่ามีตลอด) มีโมหะไหม (ยกตัวอย่างได้ด้วย)

- เดี๋ยวก่อน ให้เขาไตร่ตรองสิ่งที่เขาอ่าน สิ่งที่เขาได้ฟัง สิ่งที่เขาคิด เขารู้จักโมหะใช่ไหมเมื่อกี้นี้ (ไม่คือกลายเป็นว่าโมหะก็คนละความหมายกันแล้ว)

- ก็ใช่เพราะฉะนั้นฟังแล้วต้องเข้าใจว่าเขาพูดอะไร ต่อให้เราพูดเท่าไหร่เขาก็ยังคิดอย่างเดิม ที่เขาฟังมาก็ไม่สามารถเข้าใจได้ นี่คือความละเอียดของธรรม ต้องตรง บอกเขา ช้าไม่เป็นไร ลึกซึ้งต้องรู้เพราะเหตุว่า เข้าใจจริงๆ ไม่สงสัยในคำอื่นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเหตุเป็นธรรมอะไร (ตามความหมายที่เข้าใจคือ เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนั้น)

- เพราะมีจิตจึงต้องมีเจตสิกใช่ไหม (ใช่) แล้วเจตสิกมีเท่าไหร่ (มี ๕๒) เกิดพร้อมกันทีเดียวทั้ง ๕๒ หรือเปล่า (ไม่) เวลาที่อกุศลเจตสิกเกิด กุศลเจตสิกเกดิได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นเจตสิกที่เป็น “เหตุ” ไม่พูดถึงเจตสิก ๕๒ เฉพาะเจตสิกที่เป็นเหตุเท่านั้นมีเท่าไหร่ (๖) อะไรบ้าง (โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ)

จิตที่ไม่เกิดกับเหตุ ๖ เลย มีไหม (มี) เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ภาษบาลีใช้คำว่า “อเหตุกจิตฺต”

- จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเป็น “อเหตุกจิต” มีทั้งหมดเท่าไหร่ (จำไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น อเหตุกะ จำไม่ได้ไม่เป็นไร แต่มีจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้ง ๖ เลย ถ้าเพียงจำ ไม่มีประโยชน์แต่ถ้าเข้าใจจะค่อยๆ รู้ว่าอะไรบ้างแล้วไม่ลืม

- เพราะฉะนั้นต้องฟังและเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุขณะนี้คือ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

- ต้องไม่ลืมเลย ถามเมื่อไหร่ ขณะที่จิตเดียวเกิดขึ้นเป็นเห็นขณะนั้นยังไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย

- จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมดมี ๑๘ แต่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งกระทบสัมผัส“ที่ดี” เป็นผลของกุศล เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้ว่า ๑๘ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นชาติอะไร

- พูดเท่านี้เขาจะได้ไม่ลืม เขาต้องคิดเอง จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เป็นวิบากจิตมีเท่าไหร่ (มี ๑๐)

- วิบากจิตที่เห็น ๒ ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๒ ตกไม่ได้ จะต้องมีกรรมที่ทำให้วิบากจิตรู้อารมณ์นั้นต่อจากที่เห็นที่ดับไปแล้วมิฉะนั้นอะไรก็ไม่ปรากฏ

- เพราะฉะนั้นเวลาที่จิต ๑๐ ดวงนี้ดับแล้ว มี “สัมปฏิจฉันนจิต” ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ไม่ใช่โสตวิญญาณแต่ใช้คำว่า “สัมปฏิจฉันนจิต” เพราะทำ “สัมปฏิจฉันนกิจ”

- เพราะฉะนั้นตอนนี้จำได้ใช่ไหมว่า วิบากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเท่าที่เราพูดมีเท่าไหร่

- คำถามว่า เท่าที่เราพูดถึงเฉพาะที่เราพูดถึงเดี๋ยวนี้มีวิบากจิตที่เป็นผลของกรรมเท่าไหร่ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ (๑๑) อะไรบ้าง (กุศลวิบาก ๕ อกุศลวิบาก ๕ สัมปฏิจฉันนะ ๑)

- สัมปฏิจฉันนะเป็นผลของกรรมหรือเปล่า เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะมี ๑ เป็นผลของกรรมอะไร (เป็น่ผลของเห็น ได้ยิน)

- ฟังคำถาม ที่เขาบอกว่า สัมปฏิจฉันนะมี ๑ เป็นผลของกรรมอะไร (เป็นกุศลหรืออกุศล) ได้หรือ เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมที่กุศลหรืออกุศลได้หรือ ต้องเป็น ๑ มิใช่หรือ

- ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมต้องเป็นกุศลวิบาก ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมต้องเป็นอกุศลวิบาก ๒ จิตนี้ไม่ใช่จิตเดียวกันแต่เป็นประเภทเดียวกัน (คำตอบคือเป็น ๑ ใน​ ๒​ จะเป็นอันไหนก็ได้) แล้วมีเท่าไหร่สัมปฏิจฉันนะมีเท่าไหร่ (มี ๑)

- จักขุวิญญาณมีกี่ดวง มีเท่าไหร่ (เห็นมี ๒) ได้ยินมีเท่าไหร่ (๒) ได้กลิ่นมีเท่าไหร่ (๒) ​ ลิ้มรสมีเท่าไหร่ (๒) ​ กระทบสัมผัสมีเท่าไหร่ (๒) ​ สัมปฏิจฉันนะมีเท่าไหร่ (มี ๑) ได้หรือ จักขุวิญญาณมี ๒ แล้วสัมปฏิจฉันนะมี ๑ (เพราะว่ากิจของมันคือทำสัมปฏิจฉันนะกิจ)

- แล้วจักขุวิญญาณทำกี่กิจ (กิจเดียวแต่เห็นอารมณ์ที่ดีและไม่ดีต่างกัน) เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมีกี่กิจ (๑กิจ) สัมปฏิจฉันนะเป็นวิบากหรือเปล่า (เป็น) จักขุวิญญาณเป็นวิบากหรือเปล่า (เป็น) จักขุวิญญาณมีเท่าไหร่ (มี ๒) สัมปฏิจฉันนะมีเท่าไหร่ (มี ๑)

- ได้อย่างไร จิตที่เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมที่เป็นกุศลเป็นอย่าง ๑​ จิตที่เกิดขึ้นเพราะกรรมที่เป็นอกุศลเป็นอย่าง ๑ จะเป็นอย่างเดียวไม่ได้ จักขุวิญญาณมี ๒ จิตเห็นมี ๒ ได้ยินมี ๒ ฯลฯ แล้วสัมปฏิจฉันนะเกิดขึ้นรับรู้สิ่งที่ไม่ดีเป็น ๑ รับรู้สิ่งที่ดีเหมือนจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ

- (ที่อาช่ายืนยันเพราะเคยได้ยินและตามที่คิดว่าเหตุผลคือ มีหน้าที่แค่รับอารมณ์ต่อจากเห็นหรือได้ยินเพราะฉะนั้นจึงมีแค่ ๑) แล้วจักขุวิญญาณหน้าที่คืออะไร กุศลจะให้ผลอย่างอกุศลไม่ได้ (สรุปว่าไม่เข้าใจ)

- ทำไมจักขุวิญญาณมี ๒ ดวง (เพราะเป็นผลของกรรมต่างกัน) ทำไมได้ยินมี ๒ ดวง (เหตุผลเดียวกัน) ได้ยินทำกิจกี่กิจ (ทำกิจเดียวคือได้ยิน) แต่มี ๒ ใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะเป็นผลของกรรมหรือเปล่า (เป็น) จักขุวิญญาณ ๒ ดวงทำกิจกี่กิจ (ทำ ๑ กิจคือ กิจเห็น) จิตที่ทำกิจนี้มีกี่ดวง (มี ๒ดวง)

- อกุศลวิบากจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะที่เป็นผลของอกุศลกรรมจะรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นสัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง (ถ้าตามเหตุผลแล้วสัมปฏิจฉันนะก็ต้องมี ๒)

- เข้าใจแล้วใช่ไหม ถามเขาว่า ถ้ามีคนบอกว่า สัมปฏิจฉันนจิตมี ๑ ผิดหรือถูก (ตามเหตุผลแล้วไม่เชื่อ) ไม่เชื่อเพราะอะไร (ตามเหตุผลที่อาจารย์ให้) ถ้าอย่างนั้นใครพูดอย่างนั้นผิดหรือถูก (ผิด)

- ต้องมั่นคงในความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกคำไม่ผิด ถ้าพิมพ์ผิด ถ้าพูดผิด ก็จะต้องพิจารณาไตร่ตรองว่า ผิดหรือถูกเพราะอะไร มิฉะนั้นไม่สามารถจะรู้ความจริงของธรรมได้

- นี่เป็นความละเอียดอย่างยิ่งของธรรม ต้องตรงตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ตรงจะเข้าใจผิดและพูดผิดเสมอและไม่รู้ว่าผิดด้วย

- เห็นไหมถ้าเราพูดเรื่องสันตีรณะแต่เราไม่พูดเรื่องสัมปฏิจฉันนะจะเข้าใจได้ไหม จะเข้าใจถูกไหมละเอียดพอไหม

- เรื่องของ “อเหตุกจิต” เป็นเรื่องที่คนยากที่จะเห็นความละเอียด เพราะฉะนั้นเขาเข้าใจผิด ด้วยเหตุนี้ถ้ามีความเข้าใจเรื่องของชาติ เรื่องของกิจ เรื่องของกรรม เรื่องของอะไรทั้งหมดจะค่อยๆ รู้ความจริงซึ่งจะละเอียดขึ้น

- สำหรับวันนี้ก็ขอให้เขาฟังแล้วไม่ลืมและก็ไตร่ตรองให้มั่นคง สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 8 เม.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ กราบขอบพระคุณคุณสุคิน ขอบคุณคุณจิรัชพรรณ์ (ซี) ที่กรุณาช่วยพิสูจน์อักษรเสมอมา ยินดีในกุศลทุกท่านทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 เม.ย. 2566

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่งครับ
และยินดีในกุศลของคุณซี จิรัชพรรณ์ ผู้ช่วยตรวจทานด้วยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
siraya
วันที่ 9 เม.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ