ลักขณรูป 4

 
ทรงศักดิ์
วันที่  2 ก.พ. 2566
หมายเลข  45521
อ่าน  411

กลุ่มรูปแต่ละกลาปมีลักขณรูปแบบที่1 หรือ2 ครับ?

1. กลุ่มรูป แต่ละกลาปมีลักขณรูปครบทั้ง4ภายในกลาปเดียวกันคือ อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา หรือ

2. แต่ละกลุ่มรูปมีลักขณรูป3 คือ ครั้งแรกที่เกิดเป็นอุปจยะ ชรตา อนิจจตา หลังจากนั้นกลุ่มรูปที่เกิดสืบต่อมาเป็น สันตติ ชรตา อนิจจตา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.พ. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ลักขณรูป คืออะไร? ลักขณรูป เป็นอาการ ความเป็นไปหรืออายุของรูปที่มีลักษณะมีสภาวะเป็นของตนเอง ลักขณรูป มี ๔ คือ

๑. อุปจยรูป (รูปที่ก่อขึ้น)

๒. สันตติรูป (รูปที่สืบต่อ)

๓. ชรตารูป (รูปที่เสื่อม)

๔. อนิจจตารูป (รูปที่ดับ)

ดังนั้น รูปแต่ละกลุ่ม (กลาป) ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ตามความเป็นจริงของธรรม ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อรูปเกิดขึ้น ยังไม่ดับไปในทันทีทันใด เมื่อรูปเกิดขึ้นขณะแรกนั้น เป็นอุปจยรูป ๑ ขณะที่รูปเจริญขึ้น เป็นสันตติรูป ๑ ขณะที่รูปเสื่อมลงเป็นชรตารูป ๑ และ ขณะที่รูปดับ เป็นอนิจจตารูป ๑ รวมเป็นลักขณรูป ๔ ทุกกลุ่มของรูปที่เกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ ครับ

...ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
่jurairat91
วันที่ 4 ก.พ. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 11 ก.พ. 2566

จากกระทู้ สันตติรูป ของคุณgboy 24 มี.ค. 2555 หมายเลข 20857 และอ.padermอธิบายดังนี้

paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สันตติรูป

สนฺตติ (สืบต่อ) + รูป (รูป)

รูปที่สืบต่อ หมายถึง อสภาวรูปที่เป็นอาการหรือเป็นอายุของสภาวรูป ซึ่งสภาวรูปทุกรูปจะมีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะ ลักษณะรูปทั้ง ๔ คือ

อุปจยรูป จะมีอายุเท่ากับ ๑ อนุขณะแรกสันตติรูปและชรตารูป มีอายุเท่ากับ ๔๙ อนุขณะ และอนิจจตารูปมีอายุเท่ากับ ๑ อนุขณะสุดท้าย

อุปจยรูปกับสันตติรูปมีความต่างกัน คือ อุปจยรูปเป็นอนุขณะแรกของกลุ่มรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปฏิสนธิ อนุขณะที่ ๒ - อนุขณะที่ ๕๐ เป็นสันตติรูปและชรตารูป และอนุขณะสุดท้ายเป็นอนิจจตารูป ส่วนสันตติรูปเป็นอนุขณะแรกของกลุ่มรูปซึ่งเคยเกิดแล้ว และเกิดขึ้นสืบต่อมาหลังปฏิสนธิแล้ว อนุขณะที่ ๒ ถึง อนุขณะที่ ๕๐ ก็เป็นสันตติรูปและชรตารูป อนุขณะสุดท้ายที่ ๕๑ ก็เป็นอนิจจตารูป เช่น ขณะปฏิสนธิของมนุษย์ที่เกิดในครรภ์ มีรูปที่เกิดจากกรรม ๓ กลุ่ม คือ ภาวทสกกลาป (กลุ่มรูปที่แสดงเพศหญิงหรือชาย) กายทสกกลาป (กลุ่มรูปที่มีกายปสาท) และหทยทสกกลาป (กลุ่มรูปที่มีหทยวัตถุ) อนุขณะแรกของรูปแต่ละรูปในกลุ่มของรูปเหล่านี้ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก คือ อุปจยรูป กลุ่มรูปนี้จะมีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะใหญ่ หรือ ๕๑ อนุขณะแล้วก็ดับไป ส่วนอนุขณะแรกของรูปในกลุ่มทั้ง ๓ ที่เกิดต่อๆ มา ไม่เรียกว่าอุปจยรูป แต่เป็นสันตติรูป เพราะไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นครั้งแรก แต่เป็นการสืบต่อของกลุ่มรูปที่เคยเกิดแล้ว

ส่วนกลุ่มที่เหลือ เช่น จักขุปสาท (จักขุทสกกลาป) โสตปสาท (โสตทสกกลาป) เป็นต้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๗ – ๑๑ ก็เช่นเดียวกัน คือ อนุขณะแรกเป็นอุปจยรูป อนุขณะต่อๆ มา เป็นสันตติรูป

ดังนั้น สันตติรูป มีอายุ ครับ แต่เกิดดับไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต เพราะ อุปจยรูปเกิดไปแล้ว ที่ อนุขณะแรก และ อนิจจตารูปเกิดในอนุขณะสุดท้าย ที่ อนุขณะ ที่ ๕๑ ดังนั้น สันตติรูปและชรตารูปรวมกัน มีอายุ ๔๙ อนุขณะจิตครับ คือ อนุขณะที่ ๒ - ๕๐

ขออนุโมทนาวิทยากรมูลนิธิทุกท่าน ที่อธิบายให้เข้าใจ ครับ

ขออนุโมทนาทที่ร่วมสนทนา


ดูเหมือนจะให้รายละเอียดแตกต่างไปอีก อาจารย์คำปั่น ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.พ. 2566

เรียนความคิดเห็นที่ ๕ ครับ

เป็นการอธิบายด้วยการยกตัวอย่าง รูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ซึ่งมี ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มของหทยวัตถุ กลุ่มของกายปสาทะ กลุ่มของภาวรูป รูปแต่ละกลุ่มไม่ปะปนกัน เป็นแต่ละกลุ่ม ขณะแรกที่รูปเกิด เป็น อุปจยรูป ขณะที่สืบต่อและคล้อยไปสู่ความดับ เป็น สันตติรูปและชรตารูป ส่วนขณะที่ดับ เป็น อนิจจตารูป ทีนี้ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า ปฏิสนธิจิต เกิดขณะเดียวแล้วดับไป แล้วมีจิตขณะต่อๆ มาเกิดสืบต่อ ดังนั้น รูปทั้ง ๓ กลุ่มนี้ เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ซึ่งรูปจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า รูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ก็ต้องดับหลังจากปฏิสนธิจิต แน่นอน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.พ. 2566

เรียน คุณทรงศักดิ์ ครับ

ในประเด็น ลักขณรูป จะขอนำไปกราบเรียนสนทนาเพื่อความเข้าใจที่ละเอียดยิ่งขึ้นกับท่านอาจารย์และคณะอาจารย์ มศพ. ในโอกาสต่อไป ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 15 ก.พ. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 11 มี.ค. 2566

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ