อธิมุตติกาลกิริยา คืออะไรครับ

 
วินัย ไกรสีห์
วันที่  29 ธ.ค. 2565
หมายเลข  45443
อ่าน  590

คำอธิบายข้างล่างมีมาในพระไตรปิฎกหรือไม่ครับ...

...การสิ้นชีพด้วยการน้อมจิตตกลงใจ; การเกิดอยู่ในภพสูงๆ อย่างบรรดาเทวโลก ซึ่งมีอายุยืนยาวมาก ทำให้ชักช้าเสียโอกาสในการบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ที่เกิดอยู่ในภพอย่างนั้น เมื่อไม่ประสงค์จะรอเวลาจนสิ้นอายุ ก็สามารถน้อมจิตปลงใจสิ้นชีพ หรือตั้งจิตจะไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป ซึ่งสำเร็จได้ในบัดนั้นชั่วเวลาหลับตากะพริบตา แล้วเกิดในมนุษยโลกเพื่อบำเพ็ญบารมีต่อไป อย่างนี้เรียกว่าอธิมุตติกาลกิริยา ซึ่งพระโพธิสัตว์เท่านั้นทำได้ บรรดาเทพ อื่นทั้งปวงไม่อาจทำได้ เพราะไม่เป็นวสี (ผู้มีอำนาจ) ในจิต และในกรรม อย่างพระโพธิสัตว์ (อธิมุตตกาลกิริยา ก็เรียก)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ธ.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อธิมุตติกาลกิริยา ตามที่ท่านผู้รู้ได้ให้ความหมายไว้ หมายถึง การกลั้นใจตาย ข้อความโดยตรง มีดังนี้

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๙

บทว่า ยาวตายุก ถามว่า ในอัตภาพที่เหลือ พระโพธิสัตว์ ไม่ดำรงอยู่จนตลอดอายุหรือ. ตอบว่า ใช่แล้วไม่ดำรงอยู่ตลอดอายุ. ก็ใน กาลอื่นๆ พระโพธิสัตว์บังเกิดในเทวโลก ที่เทวดามีอายุยืน ไม่อาจบำเพ็ญ บารมีในเทวโลกนั้นได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงลืมพระเนตรทั้งสอง กระทำ อธิมุตตกาลกิริยา (กลั้นใจตาย) แล้วบังเกิดในมนุษยโลก กาลกิริยาอย่างนี้ไม่มี แก่เทวดาเหล่าอื่น


[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๙

ก็ในกาลอื่น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ทรงอุบัติในเทวโลกที่สัตว์มีอายุยืน (พรหมโลก เป็นต้น) ย่อมไม่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุนั้น เพราะเหตุไร เพราะทำบารมีให้เต็มได้ ยากในที่นั้น พระโพธิสัตว์เหล่านั้น กระทำอธิมุตตกาลกิริยา จึงบังเกิดในถิ่นของ มนุษย์นั้น



ทั้งสองข้อความ แสดงถึงความเป็นจริงของพระโพธิสัตว์ จะไม่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ ในชาติที่เกิดเป็นเทวดา หรือ พรหมที่มีอายุยืน เพื่อที่จะได้มาเกิดในภพภูมิมนุษย์ สะสมอบรมเจริญบารมีต่อไป ครับ

...ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วินัย ไกรสีห์
วันที่ 30 ธ.ค. 2565

สาธุอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sudhipong.U
วันที่ 30 ธ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ธ.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lokiya
วันที่ 31 ธ.ค. 2565

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pornkamol
วันที่ 8 ม.ค. 2566

กราบอนุโมทนา ในกุศลจิตที่ดีงามของทุกๆ ท่าน ด้วยเจ้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Triratna
วันที่ 13 เม.ย. 2566

แจ่มแจ้ง และอธิบายได้ดีมาก สาธุครับกับธรรมะดีๆ ครับผม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ