พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. นันทาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40724
อ่าน  315

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 136

เถรีคาถา ปัญจกนิบาต

๔. นันทาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 136

๔. นันทาเถรีคาถา (๑)

[๔๔๒] แน่ะนันทา เธอจงดูร่างกายอันกระสับกระส่ายไม่สะอาด เปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอสุภสัญญา ร่างกายนี้ฉันใด ร่างกายของเธอนั่นก็ฉันนั้น ร่างกายของเธอนั่นฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ที่พวกชนพาลเพลิดเพลินกันยิ่งนัก เมื่อเธอพิจารณาร่ายกายนี้อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ต่อนั้นจักแทงตลอดแล้วเห็นได้ด้วยปัญญาของตน เมื่อข้าพเจ้านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ได้เห็นกายทั้งภายในและภายนอก ตามความเป็นจริง ที่นั้นข้าพเจ้าจึงเบื่อหน่ายในกาย และคลายกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไรๆ เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว.

จบ นันทาเถรีคาถา


๑. อรรถกถา เป็น สุนทรีนันทาเถรีคาถา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 137

๔. อรรถกถาสุนทรีนันทาเถรีคาถา

    คาถาว่า อาตุรํ อสุจึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อสุนทรีนันทา.

    เล่ากันว่า แม้พระเถรีชื่อสุนทรีนันทาองค์นี้ก็บังเกิดในเรือนตระกูลในพระนครหังสวดี เธอรู้ความแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ในตำแหน่งเป็นเลิศของภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้ฌาน จึงสร้างสมบุญญาธิการปรารถนาตำแหน่งนั้น สั่งสมกุศลท่องเที่ยวในเทวโลกและมนุษยโลกอยู่หนึ่งแสนกัป ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในศากยราชตระกูล พระญาติทั้งหลายตั้งนามให้เธอว่า นันทา.

    กาลต่อมา รู้กันทั่วไปว่า นันทาผู้สวยงามและสาวงามของชนบท ในห้อง ๑๒ ศอกที่มือมิดไม่ต้องใช้ประทีป ดุจพระเถรีภัททกาปิลานี สว่างด้วยแสงสว่างของสรีระ เป็นผู้ทรงยศงดงามด้วยคุณตั้งร้อยกว่าแสงสว่างเหล่านั้น.

    นางสุนทรีนันทานั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงให้นันทกุมารและราหุลกุมารบวชแล้วเสด็จไป เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชเสด็จปรินิพพานแล้ว เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีและพระพิมพาราหุลมารดาบวชแล้ว เธอคิดว่า พระเชษฐภาคา ของเราทรงละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บวชเป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลในโลก แม้ราหุลกุมารพระโอรสของพระองค์ก็บวช เจ้านันทราชภัสดาของเราก็ดี พระมหาปชาบดีโคตมีพระมารดาก็ดี ราหุลมารดาพระภคินีก็ดี ก็บวชกันหมดแล้ว บัดนี้เราจักทำอะไรในเรือน เราจักบวช เธอไปสำนักภิกษุณี บวชด้วยความรักพวกพระญาติ ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 138

ฉะนั้น ถึงบวชแล้วก็ยังเกิดความเมาอาศัยรูป ไม่ไปที่บำรุงพระพุทธเจ้า ด้วยคิดว่าพระศาสดาทรงตำหนิติเตียนรูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย เรื่องทั้งหมดเป็นต้นดังที่กล่าวนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องของพระอภิรูปนันทาเถรีที่กล่าวมาแล้ว ส่วนความแปลกกันดังนี้ เมื่อพระเถรีเห็นรูปหญิงที่พระศาสดาทรงเนรมิต ถูกชราครอบงำแล้วโดยลำดับ จึงมนสิการเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตได้มุ่งตรงกัมมัฏฐาน พระศาสดาทรงเห็นดังนั้นเมื่อทรงแสดงธรรมเป็นสัปปายะแก่เธอได้ตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านี้ว่า

    แน่ะนันทา เธอจงดูร่างกายอันกระสับกระส่ายไม่สะอาด เปื่อยเน่า จงอบรบจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอสุภสัญญา ร่างกายนี้ฉันใดร่างกายของเธอนั่นก็ฉันนั้น ร่างกายของเธอนั่นฉันใดร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ที่พวกชนพาลเพลิดเพลินกันยิ่งนัก เมื่อเธอพิจารณาร่างกายนี้อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ต่อนั้นจักแทงตลอด แล้วเห็นได้ด้วยปัญญาของตน.

    พระเถรีนั้น ส่งญาณไปตามแนวพระธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระศาสดาเมื่อตรัสบอกกัมมัฏฐานเพื่อประโยชน์แก่มรรคเบื้องบนแก่พระเถรีนั้น เพื่อทรงแสดงว่า แน่ะนันทา ในสรีระนี้ไม่มีสาระแม้มีประมาณน้อยเลย กายนี้มีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่อยู่ของชราเป็นต้น เป็นเพียงกองกระดูกเท่านั้น ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ในธรรมบทว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 139

    รูปนี้อันธรรมดาสร้างขึ้นให้เป็นนคร แห่งกระดูกมีเนื้อและเลือดฉาบทาไว้ เป็นที่ตั้งแห่งชรา มัจจุมานะ และมักขะ.

    เวลาจบเทศนา พระเถรีนั้นได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า (๑)

    ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนาวิธี ตรัสสอนเหล่าสัตว์ให้รู้แจ้ง ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามได้ ได้ทรงให้หมู่ชนข้ามพ้นไปเป็นอันมาก ทรงพระกรุณาอันเคราะห์แสวงทาประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงตั้งพวกเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดไว้ในเบญจศีล พระศาสนาของพระองค์ไม่อากูลว่างจากพวกเดียรถีย์ งดงามไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีความชำนาญ เป็นผู้คงที่ พระองค์ทรงเป็นพระมหามุนีมีพระวรกายสูง ๘ ศอก มีพระรัศมีงามดังทองคำที่มีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ประการ มีพระชนมายุแสนปี พระองค์ดำรงอยู่โดยกาลเท่านั้นได้ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นไปเป็นอันมากครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐีในพระนครหังสวดี มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ เพียบพร้อมไปด้วยความสุขเป็นอันมาก ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระมหา-


    ๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๕ นันทาเถรีอปทาน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 140

วีระเจ้าพระองค์นั้น ได้ฟังพระธรรมอย่างจับใจยิ่ง ซึ่งเป็นอมตะ ครั้งนั้นข้าพเจ้าเลื่อมใสได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์แล้ว ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน ข้าพเจ้าได้ซบเศียรลงใกล้พระวีระเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ปรารถนาตำแหน่งอันเป็นเลิศของเหล่าภิกษุณีที่ได้ฌาน ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้ฝึกนรชนที่ยังไม่ได้ฝึก ทรงเป็นสรณะของโลกสาม เป็นผู้ใหญ่ทรงนรชนไว้ให้ดี ทรงพยากรณ์ว่า เธอจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น แต่กัปนี้ไปหนึ่งแสนกัปพระศาสดาพระนามว่าโคตมะ มีพระสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้เป็นทายาทในธรรมของพระองค์จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่านันทา ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายกพิเศษ ด้วยปัจจัยทั้งหลายตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และด้วยเจตนาอันแน่วแน่ ข้าพเจ้าละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติจากชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วได้ไปชั้นยามา จากชั้นยามาไปชั้นดุสิต จากชั้นดุสิตไปชั้นนิมมานรดี จากชั้นนิมมานรดีไปชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 141

ข้าพเจ้าเกิดในภพใดๆ ก็ได้ครองตำแหน่งมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และของพระเจ้าเอกราช เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไปในกัปมิใช่น้อย ในภพหลังที่มาถึงบัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นราชธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ มีรูปสมบัติที่ประชาชนพากันสรรเสริญ ราชตระกูลนั้นเห็นข้าพเจ้ามีรูปงามดังดวงอาทิตย์จึงพากันชื่นชม เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงมีนามว่า นันทาเป็นผู้มีลักษณะงามบวร ในกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นนครที่รื่นรมย์นั้น นอกจากพระนางยโสธรา ปรากฏว่าข้าพเจ้างามกว่ายุวนารีทั้งปวง พระเชษฐภาดาเป็นพระพุทธเจ้าผู้เลิศในไตรโลก พระภาดาองค์รองก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์อยู่ผู้เดียว พระมารดาทรงตักเตือนว่า แน่ะลูกรักลูกเกิดในศากยตระกูล เป็นพระกนิษฐภคินีของพระพุทธเจ้า เมื่อเว้นจากนันทกุมารเสียแล้ว ลูกจักได้ประโยชน์อะไรในเรือนเล่า รูปถึงมีความเป็นหนุ่มสาวก็มีความแก่เป็นอวสาน รู้กันว่าไม่สะอาด เมื่อยังไม่มีโรค ก็มีโรคในที่สุด ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด รูปของลูกนี้ แม้จะงามจับใจน่าใคร่ดังดวงจันทร์ เมื่อตกแต่งด้วยเครื่องประดับก็ยิ่งมีสิริงามเปล่งปลั่ง เป็นที่กำหนดหมายเป็นที่ยินดีแห่งนัยน์ตาทั้งหลาย คล้ายทรัพย์ที่เป็นสาระ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 142

ของโลกที่บูชากัน เป็นรูปที่ให้เกิดความสรรเสริญเพราะบุญทั้งหลายที่ได้บำเพ็ญไว้ เป็นที่ชื่นชมแห่งวงศ์โอกกากราช โดยกาลไม่นานนัก ชราก็จักมาย่ำยี ลูกจงละเรือนและรูปที่บัณฑิตตำหนิ ประพฤติพรหมจรรย์เถิด ข้าพเจ้ายังหลงใหลในความเป็นสาวแห่งรูป ได้ฟังพระดำรัสของพระมารดาแล้ว ก็บวชเป็นบรรพชิตด้วยร่างกาย แต่มิได้บวชด้วยใจ ข้าพเจ้าระลึกถึงตัวเอง จึงพากเพียรเล่าเรียนฌานเป็นอันมาก พระมารดาก็ตรัสเตือนให้ประพฤติธรรม แต่ข้าพเจ้ามิได้ขวนขวายในเรื่องนั้น ลำดับนั้นพระพิชิตมารผู้ทรงพระมหากรุณา ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าซึ่งมีผิวหน้าดังดอกบัว ทรงเนรมิตหญิงงามน่าทัศนางามรุ่งเรืองมีรูปงามกว่าข้าพเจ้าเสียอีกให้ข้าพเจ้าเห็น ด้วยอานุภาพของพระองค์เพื่อให้ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายในรูป ข้าพเจ้าเป็นคนสวย เห็นหญิงนั้นซึ่งมีร่างกายสวยยิ่งกว่าจึงคิดว่า เราเห็นหญิงมนุษย์ดังนี้ มีผลดี และเป็นลาภนัยน์ตาของเรา เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์แก่ฉัน แม่จงบอกตระกูลชื่อและโคตรของแม่ ซึ่งเป็นที่รักของแม่แก่ฉันเถิด เวลานี้ไม่ใช่เวลาแห่งปัญหานะคนสวย แม่จงให้ฉันอยู่บนตักอวัยวะทั้งหลายของฉันจะทับอยู่ จงให้ฉันหลับสักครู่เถิด ต่อแต่นั้นแม่คนสวย พึงนอนเอาศีรษะไว้บนตักของฉัน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 143

ของแข็งที่หยาบมากตกลงที่หน้าผากของเธอบวมปูดขึ้นทันทีแล้วแตก มีสิ่งโสโครกหนองและเลือดไหลออก หน้าแตกมีกลิ่นเหม็นเน่าอย่างซากศพ ทั่วตัวขึ้นพอง มีสีเขียว เธอมีอวัยวะทั้งปวงสั่นเท้า หายใจถี่เสวยทุกข์ของตน คร่ำครวญอยู่อย่างน่าสงสาร เพราะเธอประสบทุกข์ ข้าพเจ้าจึงมีทุกข์ ต้องทุกขเวทนาจมลงในมหาทุกข์ ขอเธอจงเป็นที่พึ่งเป็นเพื่อนของฉัน หน้าที่งามของเธอหายไปไหน จมูกที่โด่งงามของเธอหายไปไหน ริมฝีปากที่งามเหมือนสีลูกมะพลับสุกของเธอหายไปไหน วงหน้าที่งามดังดวงจันทร์และลำคอที่คล้ายแท่งทองคำของเธอหายไปไหน ใบหูของเธอที่เป็นดังพวงดอกไม้ ก็มีสีหมดสวยเสียแล้ว ถันทั้งคู่ของเธอที่เหมือน ดอกบัวตูม เพียงดังหม้อน้ำมนต์พราหมณ์แตกแล้วมีกลิ่นเหม็นเหมือนศพเน่า เธอมีสะเอวกลม มีตะโพกผึ่งผาย บัดนี้เต็มไปด้วยสิ่งชั่วทราม โอ รูปไม่เที่ยง อวัยวะที่เนื่องในสรีระทั้งหมดมีกลิ่นเหม็นเน่า น่ากลัว น่าเกลียด เหมือนซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นที่ยินดีของพวกพาลชน ครั้งนั้นพระภาดาของข้าพเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาทรงเป็นนายกของโลก ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้ามีจิตสลด ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า แน่ะนันทาเธอจงดูรูปที่กระสับกระส่าย เปื่อยเน่าดังซากศพ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 144

จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภสัญญา รูปนี้เป็นฉันใด รูปเธอก็เป็นฉันนั้น รูปเธอเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น รูปนี้มีกลิ่นเน่าฟุ้งไป พวกคนพาลยินดียิ่งนัก พวกบัณฑิตผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมพิจารณาเห็นรูปนั้นเป็นอย่างนั้น ทั้งกลางคืนกลางวันเหตุนั้นเธอจงเบื่อหน่าย พิจารณาดูรูปนั้นด้วยปัญญาของตน ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาเป็นสุภาษิตแล้วมีความสลดใจ ตั้งอยู่ในธรรมนั้น แลได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ในกาลนั้นข้าพเจ้านั่งอยู่ในที่ไหนๆ ก็มีฌานเป็นเบื้องหน้า พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น ได้ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ถอนภพทั้งหลายได้หมดแล้วตัดเครื่องผูกพันเหมือนช้างพังตัดเชือกเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้าเป็นการมาดีแล้วหนอ ข้าพเจ้าบรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ-เจ้าแล้ว.

    ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระเถรีพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ พร้อมด้วยคาถา ๓ คาถาที่พระศาสดาทรงแสดงว่าอาตุรํ อสุจึ ปูตึ เป็นต้น เป็นอุทานว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 145

    เมื่อข้าพเจ้านั้น เป็นผู้ไม่ประมาท ค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ได้เห็นกายนี้ทั้งภายในและภายนอกตามความเป็นจริง ทีนั้น ข้าพเจ้าจึงเบื่อหน่ายในกายและคลายกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไรๆ เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวเมตํ อเวกฺขนฺตี รตฺตินฺทิวมตนฺทิตา ตโต สกาย ปญฺญาย อภินิพฺพิชฺฌ ทกฺขิสํ ความว่า พวกบัณฑิตเป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน คือตลอดกาลทั้งปวง พิจารณาค้นคว้ากายนั้นคือมีสภาพกระสับกระส่ายเป็นต้น เป็นอย่างนั้น คือโดยประการที่กล่าวแล้วว่า รูปนี้เป็นฉันใด รูปเธอก็เป็นฉันนั้นเป็นต้น ด้วยญาณจักษุซึ่งเป็นส่วนเบื้องต้น มีความผูกใจเป็นปุเรจาริกว่า เราส่งสุตามยญาณซึ่งมีเสียงผู้อื่นเป็นเหตุ เบื่อหน่ายเพราะทำการแยกฆนะความเป็นก้อน ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น คือเพราะนิมิตนั้นเกิดในตน จักดู คือ จักเห็นด้วยภาวนามยปัญญาของตน ได้อย่างไรหนอ.

    เพราะเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตสฺสา เม อปฺปมตฺตาย ดังนี้ คำนั้นมีเนื้อความว่า เมื่อข้าพเจ้านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทเพราะไม่อยู่ปราศจากสติ ค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย คือด้วยปัญญาที่เห็นแจ้งถึงอนิจจลักษณะเป็นต้น เห็นกายนี้ กล่าวคือขันธปัญจก ทั้งภายในและภายนอก โดยแบ่งเป็นสันดานของตนและสันดานของผู้อื่น ตามความเป็นจริง.

    ทีนั้น คือหลังจากที่เห็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายในกาย คือเบื่อหน่ายแล้วในอัตภาพ เพราะประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา ข้าพเจ้าคลาย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 146

กำหนัด คือถึงความคลายกำหนัดในสันดานในภายในโดยพิเศษทีเดียว ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาท เพราะบรรลุที่สุดแห่งการปฏิบัติอัปปมาทธรรมตามที่เป็นจริง เป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไรๆ เพราะถอนสังโยชน์ขึ้นได้หมดแล้วเป็นผู้สงบระงับและดับสนิทแล้วแล.

จบ อรรถกถาสุนทรีนันทาเถรีคาถา