พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. สีหาเถรีคาถา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 พ.ย. 2564
หมายเลข  40723
อ่าน  320

[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 132

เถรีคาถา ปัญจกนิบาต

๓. สีหาเถรีคาถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 132

๓. สีหาเถรีคาถา

[๔๔๑] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิตฟุ้งซ่าน ทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้เพราะไม่มนสิการโดยอุบายที่แยบคาย ข้าพเจ้าถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นไปตามความเข้าใจในกามคุณว่าเป็นสุข ตกอยู่ในอำนาจของจิตอันสัมปยุตด้วยราคะ จึงไม่ได้ความสงบจิต ข้าพเจ้าเป็นผู้ผอมเหลือง ปราศจากผิวพรรณอยู่ ๗ ปี มีแต่ทุกข์ ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถือเอาเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่าจะผูกคอตายเสียในที่นี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 133

ดีกว่าที่จะกลับไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ข้าพเจ้าทำบ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงที่คอ ทันใดนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้นจากกิเลส.

จบ สีหาเถรีคาถา

๓. อรรถกถาสีหาเถรีคาถา

คาถาว่า อโยนิโสมนสิการา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อสีหา.

แม้พระเถรีชื่อสีหาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้ เป็นธิดาของน้องสาวสีหเสนาบดี กรุงเวสาลี ญาติพี่น้องทั้งหลายตั้งชื่อให้ว่า สีหา เพราะตั้งตามชื่อลุงของเธอ นางสีหานั้นรู้ความแล้ว วันหนึ่งพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่สีหเสนาบดี เธอฟังธรรมนั้นได้ศรัทธา ขออนุญาตบิดามารดาบวช ครั้นบวชแล้วแม้เริ่มวิปัสสนาก็ไม่อาจทำจิตที่พล่านไปในอารมณ์อันกว้างใหญ่ภายนอกให้กลับได้ ถูกมิจฉาวิตกเบียดเบียนอยู่ ๗ ปี ไม่ได้ความชื่นจิตจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันลามกของเรานี้ เราจักผูกคอตายดังนี้ ถือบ่วงคล้องที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงนั้นที่คอของตน น้อมจิตไปในวิปัสสนาด้วยอำนาจบุญกุศลที่ตนสั่งสมไว้ในก่อน ด้วยความเป็นผู้มีภพมีในที่สุด บ่วงที่ผูกได้อยู่ตรงที่คอ. พระเถรีนั้นเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในขณะนั้นเอง. เพราะญาณแก่กล้าแล้ว. บ่วงที่ผูกคอไว้หลุดออกพร้อมกับเวลาที่บรรลุพระอรหัตนั่นแหละ.พระเถรีตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 134

    เมื่อก่อนข้าพเจ้าถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิตฟุ้งซ่าน ทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่มนสิการโดยอุบายที่แยบคาย ข้าพเจ้าถูกกิเลสกลุ้มรุมเป็นไปตามความเข้าใจในกามคุณว่าเป็นสุข ตกอยู่ในอำนาจของจิตอันสัมปยุตด้วยราคะ จึงไม่ได้ความสงบจิต ข้าพเจ้าเป็นผู้ผอมเหลืองปราศจากผิวพรรณอยู่ ๗ ปี มีแต่ทุกข์ ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันกลางคืนเพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถือเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่าจะผูกคอตายเสียในที่นี้ ดีกว่าที่จะกลับไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ข้าพเจ้าทำบ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้แล้วสวมบ่วงที่คอ ทันใดนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้นจากกิเลส.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิสมนสิการา ได้แก่ เพราะไม่มนสิการโดยอุบาย คือเพราะถือคลาดเคลื่อนในสิ่งที่ไม่งามว่างาม. บทว่ากามราเคน อทฺทิตา ความว่า ถูกฉันทราคะในกามคุณทั้งหลายบีบคั้น.บทว่า อโหสึ อุทฺธตา ปุพฺเพ จิตฺเต อวสวตฺตินี ความว่า เมื่อก่อนเมื่อจิตของข้าพเจ้าไม่เป็นไปในอำนาจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ คือมีจิตไม่ตั้งมั่น. บทว่า ปริยุฏฺิตา กิเลเสหิสุขสญฺญานิวตฺตินี ความว่า อันกิเลสทั้งหลายมีกามราคะเป็นต้นที่ถึงความกลุ้มรุมครอบงำแล้ว มีปกติเป็นไปตามกามสัญญาที่เป็นไปในรูปเป็นต้นว่างาม.บทว่า สมํ จิตฺตสฺส นาลภึ ราคจิตฺตวสานุคา ความว่า ไปตามอำนาจของจิตที่สัมปยุตด้วยกามราคะ จึงไม่ได้ความสงบแห่งจิต คือความสงบใจ คือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 135

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว แม้เล็กน้อย. บทว่า กิสาปณฺฑุวิวณฺณา จ ความว่า เป็นผู้ผอมคือมีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหลืองขึ้นๆ เพราะความเป็นผู้กระสันอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแหละจึงเป็นผู้ปราศจากผิวพรรณ คือผู้มีผิวพรรณไปปราศแล้ว. บทว่า สตฺต วสฺสานิ แปลว่า ตลอด ๗ ปี. บทว่าจาริหํ แปลว่า ข้าพเจ้าเที่ยวไปแล้ว. บทว่า นาหํ ทิวา วา รตฺตึ วาสุขํ วินฺทึ สุทุกฺขิตา ความว่า ข้าพเจ้าถึงทุกข์ ด้วยกิเลสทุกข์ใน ๗ ปีอย่างนี้ ไม่ได้ความสุขของสมณะทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. บทว่า ตโต ได้แก่ เพราะไม่ได้ความสุขของสมณะในเพราะความกลุ้มรุมของกิเลส. บทว่ารชฺชุํ คเหตฺวาน ปาวิสึ วนมนฺตรํ ความว่า ถือเชือกบ่วงเข้าไปยังราวป่า หากจะมีผู้ถามว่า เข้าไปทำไม (พึงตอบว่า) . บทว่า วรํ เม อิธอุพฺพนฺธํ ยญฺจ หีนํ ปุนาจเร ความว่า เพราะข้าพเจ้าไม่อาจบำเพ็ญสมณธรรม พึงกลับมาประพฤติ คือพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ คือพึงดำรงเพศที่ทรามคือความเป็นคฤหัสถ์อีก ฉะนั้น ข้าพเจ้าผูกคอตายเสียในราวป่านี้ ดีกว่าคือประเสริฐกว่าด้วยคุณตั้งร้อยตั้งพัน. บทว่า อถ จิตฺตํ วิมุจิจิ เม ความว่า ข้าพเจ้าสวมบ่วงที่ผูกกับกิ่งไม้เข้าที่คอในกาลใด ในกาลนั้นคือในลำดับนั่นเอง จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้น คือได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวงตามลำดับมรรค เพราะสืบต่อด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนาและมรรค.

    จบอรรถกถาสีหาเถรีคาถา