พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปิยังกรสูตร ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกําเนิดปีศาจ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36440
อ่าน  379

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 403

๖. ปิยังกรสูตร

ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกําเนิดปีศาจ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 403

๖. ปิยังกรสูตร

ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ

[๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี.

สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบทแห่งพระธรรมอยู่.

[๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า

ปิยังกระ อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบทพระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.

[๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เราไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 404

อรรถกถาปิยังกรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปิยังกรสูตรที่ ๖ ต่อไปนี้ :-

บทว่า เชตวเน ความว่า พระอนุรุทธะ อยู่ในวิหารชื่อโกสัมพกุฏีท้ายพระเชตวัน. ธรรม ๒๖ วรรคท่านยกขึ้นรวบรวมไว้แผนกหนึ่ง ประสงค์ว่า ตํ ในบทนี้ว่า ธมฺมปทานิ. สมัยนั้น พระเถระ นั่งภายในวิหาร ณ ที่นั้น สวดอัปปมาทวรรคเป็นสรภัญญะ ด้วยเสียงไพเราะ. บทว่า เอวํ โตเสสิ ความว่า ได้ยินว่า นางยักษิณีนั้น อุ้มบุตรชื่อปิยังกระ แสวงหาอาหารอยู่ ตั้งแต่ข้างหลังพระเชตวัน มุ่งตรงต่อพระนคร โดยลำดับ แสวงหาอยู่ซึ่งของกินที่เสียคือ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก ถึงสถานที่อยู่ของพระเถระ ได้ฟังเสียงอันไพเราะ. เสียงนั้น ตัดผิวหนังเป็นไปจดเยื่อในกระดูก เข้าไปถึงหัวใจของนางหยุดอยู่. ครั้งนั้น นางยักษิณีนั้น ไม่คิดในการแสวงหาอาหาร นางยืนเงี่ยโสตลงฟังธรรม. ส่วนยักขทารก ไม่มีจิตในการฟังธรรมเพราะเป็นหนุ่ม. เขาถูกความหิวเบียดเบียนแล้ว จึงเดือนมารดาแล้วๆ เล่าๆ ว่า เพราะเหตุไรแม่จึงยืนไม่ไหวติงเหมือนตอ ในที่แม่มาแล้ว ไม่แสวงหาของเคี้ยว หรือของบริโภคสำหรับลูก. นางคิดว่า บุตรจะทำอันตรายแก่การฟังธรรมของเรา จึงปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าส่งเสียงดัง. ในบทนั้น บทว่า มา สทฺทมกริ ได้แก่ อย่าได้ส่งเสียงดัง. นางแสดงศีล ๕ ที่สมาทานแล้ว ตามธรรมดาของตนด้วยคาถาว่า ปาเณสุ จ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สญฺมามเส ได้แก่เราสำรวม คือเป็นผู้สำรวมแล้ว. นางงดเว้นจากปาณาติบาต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 405

ด้วยบทนี้. งดเว้นจากมุสาวาทด้วยบทที่สอง. การงดเว้นสามอย่างที่เหลือด้วย
บทที่สาม. บทว่า อปิ มุจฺเจม ปิสาจโยนิยา นางยักษิณีกล่าวว่า ลูก
เราละเวร ๕ เหล่านี้ ที่เกิดขึ้นในยักขโลกเสียแล้ว ปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย
แล้ว จึงจะพ้นจากกำเนิดยักษ์ปีศาจซึ่งมีภิกษาหายาก ทั้งจะพากันอดตาย.

จบอรรถกถาปิยังกรสูตรที่ ๖